Author Topic: “อนุดิษฐ์” เซ็งบอร์ด กสทช. หนีหน้า  (Read 816 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       “อนุดิษฐ์” แอบเคือง หลังบอร์ด กสทช.หลบหน้า เหตุไม่อยากเจรจากรณีขอใช้คลื่นความถี่ 2.3GHz ต่อหลังสัญญาสัมปทานหมด รวมถึงคลื่นอื่นๆ ด้วย ด้าน กสทช.อ้างติดภารกิจ
       
       เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และคณะ ได้เดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเข้าพบหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในประเด็นการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3GHz เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบกับรัฐบาลได้เดินหน้าแจกคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ไปยังโรงเรียนต่างๆ แล้ว ซึ่งจะต้องมีบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การใช้งานแท็บเล็ตได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ มิฉะนั้นการใช้งานแท็บเล็ตจะไม่คุ้มค่า และไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบการศึกษาของไทย
       
       อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคลื่นความถี่ย่าน 2.3GHz นั้น ทีโอทีได้รับอนุญาตให้ใช้งานเมื่อปี 2543 มีอายุการใช้งาน 5 ปี หรือสิ้นสุดการใช้งานปี 2548 แต่เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ทีโอที ซึ่งได้มีการระบุว่าทีโอทีมีสิทธิใช้คลื่นดังกล่าวไปจนถึงปี 2568 แต่โดยหลักการแล้ว กทช.อนุญาตให้ทีโอทีใช้งานคลื่นความถี่ปีต่อปีเท่านั้น ขณะที่ทีโอทีมีความเข้าใจว่าทีโอทีมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ไปจนถึงปี 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจระหว่าง กสทช.กับกระทรวงไอซีที เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน
       
       พร้อมทั้งยังได้เตรียมเรื่องการขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz, 800MHz และ 900MHz ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าผู้ใช้บริการในปัจจุบัน โดยสัญญาสัมปทานทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) คลื่น 1800MHz จะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2556 สัญญาสัมปทานบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561 และสัญญาสัมปทานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558
       
       แต่ท้ายที่สุดก็ต้องเลื่อนการหารือในครั้งนี้ เนื่องจาก พ.อ.เศรษฐพงค์, นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ติดภารกิจไปชี้แจงเกี่ยวกับการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ในเดือน ต.ค.นี้ ต่อคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา (ส.ว.) เช่นเดียวกับนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ที่ติดภารกิจ
       
       ส่งผลให้ น.อ.อนุดิษฐ์ต้องนั่งรอทีมงานของ กสทช.เป็นเวลานานกว่า 1.30 ชั่วโมง เนื่องจากเดินทางมาถึง กสทช.เวลา 17.00 น. และเดินทางกลับในเวลา 19.30 น. ซึ่งในระหว่างกำลังเดินทางกลับไปนั้นได้แสดงสีหน้าบึ้งตึงเพราะไม่มีการหารือใดกับ กสทช.ทั้งๆ ที่มีการนัดหมายล่วงหน้าแล้ว
       
       ทั้งๆ ที่การชี้แจงของ กสทช.ต่อ กมธ.วิทย์เสร็จสิ้นเมื่อเวลา 17.30 น. ทำให้เกิดข้อกังขาว่า กสทช.ไม่ต้องการหารือกับไอซีทีเพราะจะมาขอใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทาน แต่ กสทช.ได้ยืนยันไปหลายครั้งว่าไม่สามารถอนุญาตได้เพราะกฎหมายบังคับให้นำมาประมูลใหม่ทั้งหมด
       
       นอกจากนี้ ยังมาเพื่อติดตามผลความคืบหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการร่วมกันใน 10 ประเด็น ตามข้อตกลงเมื่อครั้งที่ น.อ.อนุดิษฐ์ได้เข้าพบหารือ กสทช.เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาแล้ว
       
       โดย 10 ประเด็นที่ กสทช.และไอซีที ตองทำงานร่วมกัน ได้แก่ 1. การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่างไอซีทีกับ กสทช. 2. การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคม ทีโอที กสท 3. การประสานงานด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 4. การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย 5. การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมหลักเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานของรัฐ 6. การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล 7. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน 8. การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วยการใช้ไอซีที 9. การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในการเผยแพร่สื่อที่ไม่เหมาะสมในระบบโทรคมนาคม 10. การเข้าร่วมกิจการในงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์
       
       ขณะเดียวกัน ไอซีทียังเตรียมเข้ามาพูดคุยถึงการสนับสนุนเดินหน้าจัดการประมูลใบอนุญาต 3G ด้วย เนื่องจากในช่วงนี้มีกระแสข่าวลือว่าการประมูล 3G จะไม่เกิดขึ้นหรืออาจมีการล่มประมูลได้ ซึ่งกระแสข่าวดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญมาก จึงได้มอบหมายให้ น.อ.อนุดิษฐ์มาหารือกับ กสทช.อย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการประมูล 3G ในเดือน ต.ค.นี้
       
       อย่างไรก็ดี น.อ.อนุดิษฐ์เปิดเผยภายหลังว่า ที่ตนเดินทางมาหารือกับ กสทช.นั้นยังไม่มีการหารือกับ กสทช.แต่อย่างใด เนื่องจากได้แต่นั่งรอกรรมการ กสทช.เพราะติดภารกิจ โดยรอประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าจึงตัดสินใจเดินทางกลับ พร้อมทั้งแจ้งว่าจะนัดหารือใหม่อีกครั้งภายหลัง
       
       ขณะที่ พล.อ.อ.ธเรศกล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเลื่อนการประชุมออกไปก่อนนั้นเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ โดย น.อ.อนุดิษฐ์ได้แจ้งว่าจะมาติดตามความคืบหน้าการทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช.กับไอซีที เพื่อทำให้อุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมของไทยพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
       
       Company Relate Link :
       ICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)