Author Topic: ไอซีทีเผย 1 ต.ค. ทีโอที กสท ตั้งบียูทาวเวอร์โค  (Read 1124 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     'น.อ.อนุดิษฐ์' เผยวันที่ 12 ก.ย. จะส่งแผนธุรกิจเพื่อความอยู่รอดของทีโอทีและกสท หลังหมดรายได้สัญญาสัมปทาน ให้กนร.โดยต้องการให้ 2 องค์กรเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์) หลังจากนั้น 1 ต.ค.ให้ 2 องค์กรตั้งบียูด้านทาวเวอร์โครองรับแผน ส่วนกรณีไอซีทีส่งดีเอสไอสอบการเมืองฉีกสัญญากสทกับฮัทช์ จนทำให้กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการได้ ยังไม่มีอะไรในกอไผ่
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีกล่าวว่าคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมที่ไอซีทีได้มอบให้บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมไปดำเนินการศึกษาแนวทางการอยู่รอดขององค์กรภายหลังจากรายได้ที่ได้รับจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง โดยได้เสนอแผนการดำเนินธุรกิจมาให้พิจารณาแล้ว ซึ่งได้ข้อสรุปคือการให้ ทีโอที และกสทเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์) ซึ่งขั้นตอนต่อไปในวันที่ 12 ก.ย.นี้ กระทรวงไอซีทีจะนำแผนดังกล่าวเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)และคาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสิ้นเดือนก.ย.นี้
       
       และภายหลังจากนั้นในวันที่ 1 ต.ค.ทีโอที และกสทจะเริ่มดำเนินการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ (บิสซิเนสยูนิต หรือ บียู) ขึ้นมาใหม่บริษัทละ 1 บียู โดยจะเป็นการตั้งบียูด้านทาวเวอร์โค โดยรวมเอาเสาโทรคมนาคม และสถานีฐานที่ได้รับจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอกชนตามสัญญาร่วมการงาน มาให้เช่าใช้บริการเพื่อสร้างรายได้ ก่อนที่จะแยกเป็นบริษัทในอนาคต
       
       สำหรับปัจจัยที่ทีโอที และกสท ต้องตั้งบียู ทาวเวอร์โคให้เสร็จในต้นเดือนต.ค.เนื่องจากในกลางเดือนต.ค.ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดการประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz ดังนั้น การที่ทีโอที และกสทมีเสาโทรคมนาคม 2G อยู่แล้วนั้นจะช่วยให้ผู้ที่ลงทุนขยายโครงข่าย 3G หลังจากได้ไลเซ่นจากกสทช.มาเช่าใช้เสาจากทีโอที และกสทมากขึ้น
       
       นอกจากนี้ไอซีทียังให้ทีโอที และกสท ศึกษารายละเอียดเชิงลึกด้วย ว่าการให้ตั้งบียู ทาวเวอร์ โคนั้นจะดำเนินการได้ในรูปแบบใดบ้าง เพราะการนำทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานสร้าง-โอน-บริการ (BTO) มารวมอยู่ในบียูดังกล่าวนั้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายเดิมก็ยังมีสิทธิใช้เสาโทรคมนาคม และสถานีฐานต่อไปจนกว่าสัมปทานจะสิ้นสุด
       
       ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ในอนาคต จะนำทรัพย์สินดังกล่าวมาคำนวณเป็นมูลค่า และให้ทีโอที และกสท เข้าไปถือหุ้นในบริษัทเอกชน ซึ่งก็ต้องดำเนินไปให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมและดำเนินงานในกิจการของรัฐพ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ)
       
       ทั้งนี้กระทรวงไอซีทีพยายามหาทางออกให้แก่หน่วยงานในกำกับดูแล และความตั้งใจของรมว.ไอซีที คือทีโอที และกสทจะต้องอยู่รอดให้ได้ เพราะแม้ว่าพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ2553 ที่ให้รัฐวิสาหกิจส่งรายได้สัมปทานเข้ารัฐโดยตรง รวมทั้งกรณีที่สัญญาสัมปทานของเอกชนก็ทยอยสิ้นสุดลง ดังนั้น การผันตัวเองเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายหลัก (คอร์เน็ตเวิร์ก) ของประเทศ และนำทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ที่คิดเป็นมูลค่ามหาศาล และเอาไปเทียบกับสัดส่วนหุ้น ทั้งทีโอทีกับกสทก็อาจะเข้าไปถือหุ้นในเอไอเอส ดีแทค หรือกลุ่มทรูได้ในอนาคต
       
       ขณะที่ข้อมูลล่าสุดเอไอเอส คู่สัญญาสัมปทานทีโอที มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ แต่โอนให้ทีโอที 13,000 แห่ง บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) มีเสาโทรคมนาคม 2,000 แห่ง แต่โอนให้กสท 180 แห่ง ส่วนดีแทค มีเสาโทรคมนาคม 12,000 แห่ง แต่โอนให้กสท 1,100 แห่งเท่านั้น ส่วนกลุ่มทรูมีเสาโทรคมนาคม 11,000 แห่งแต่ยังไม่ได้โอนให้กสทเลย
       
       'หากยังไม่มีการโอนเสาส่งสัญญาณให้ทีโอที และกสท การวางเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศ คงเป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีทรัพย์สินที่จะนำมาให้บริการ และสร้างรายได้ให้ทีโอทีและกสท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของทั้ง2องค์กรอย่างแน่นอน หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งรมว.ไอซีทีได้ให้นโยบายแก่กรรมการผู้จัดการใหญ่ของทั้ง 2 องค์กร ไปเจรจากับคู่สัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด'
       
       ส่วนความคืบหน้ากรณีที่เอกสารสัญญาซื้อขายกิจการระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ขาย และฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อที่มีการลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2553 แต่สัญญาดังกล่าวกลับถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยสั่งให้ฉีกสัญญาทิ้งเพื่อเปิดทางให้กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคากว่า 6 พันล้านบาทซึ่งกระทรวงไอซีทีได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอไปสอบสวนในเรื่องดังกล่าวนั้น
       
       น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่าในตอนแรกที่ระบุว่าจะสามารถสอบสวนคดีดังกล่าวเสร็จภายใน 30 วันนั้นเป็นเพียงการคาดการณ์ในตอนแรกเท่านั้น ซึ่งในตอนนี้ดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบอยู่กระทรวงไอซีทีคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด แต่หากดีเอสไอต้องการรายละเอียด และข้อมูลเพิ่มเติมทางไอซีทีก็ยินดีช่วยเหลือดังนั้นคงต้องรอผลสอบจากทางดีเอสไอเพียงอย่างเดียว
       
       'เราเชื่อว่าการสอบสวนดังกล่าวจะอยู่ภายในเงื่อนเวลาที่กระทรวงไอซีทียอมรับได้ ซึ่งคงจะไม่ช้าเกินไปแน่นอนเรามั่นใจ'
       
       Company Relate Link :
       ICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)