Author Topic: ศาลให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รับ 3.5 ล้านบ. ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์  (Read 1823 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline IT

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1175
  • Karma: +6/-0
  • Gender: Male
  • Assist. I.T. Manager
    • mv



     บีเอสเอโชว์ผลงานกรณีที่ศาลไทยตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยารับค่าเสียหาย 3.5 ล้านบาท จากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับแพ่ง
       
       นายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวถึงกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายมูลค่า 3.5 ล้านบาท จากบริษัทผู้ผลิตแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ว่า จำเลยใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจจริง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย
       
       คดีนี้เริ่มดำเนินการสืบสวนในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2549 และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปี 2551
       
       “การละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แท้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานและเติบโตทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อีกด้วย ผลการตัดสินของศาลในครั้งนี้จะเป็นต้นแบบในการดำเนินคดีกับธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป”
       
       นายซอว์นีย์กล่าวว่า การดำเนินคดีทางแพ่งกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งถือเป็นทางเลือกนอกเหนือไปจากการดำเนินคดีทางอาญา จากคดีดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญสำหรับผู้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมและผู้ประกอบการในประเทศไทย
       
       “บ่อยครั้งที่การดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีเบาะแสจากสายด่วนของบีเอสเอ ผู้ที่รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านสายด่วนโทร. 02-714-1010 มีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 2.5 แสนบาท และข้อมูลของผู้รายงานจะถูกเก็บไว้เป็นความลับพิเศษ”
       
       ทั้งนี้ จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) คาดว่าปี 2552 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง โดยจะอยู่ที่ 5% เมื่อเทียบกับ 18-19% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
       
       นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมเอทีเอสไอกล่าวว่า ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้นกว้างขวาง การศึกษาของไอดีซีเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ระบุว่า หากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีลงได้ 10% จะเกิดการจ้างงานเพิ่ม 2,100 ตำแหน่ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท และภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 55 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,275 ล้านบาท


ที่มา: http://www.manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)