Author Topic: “ทอม” บ.เคิร์ซ ชี้ บรอดคาสต์คืออนาคต  (Read 1032 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“ทอม” วางแผนจับมือบริษัทยักษ์ใหญ่ไอทีในตลาดหลักทรัพย์ฯ เสริมแกร่งธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ เผยช่วงที่ผ่านมาไม่ได้หายไปไหน ยังวนเวียนในธุรกิจไอซีทีเพื่อรอโอกาสใหม่ๆ ชี้อนาคตอันใกล้จะเป็นยุคทองด้านบรอดคาสติ้ง
       
       นายทอม เครือโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคิร์ซ ดาต้าเซ็นเตอร์ กล่าวว่า เคิร์ซฯ กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้งบลงทุนกว่า 200 ล้านบาทสร้างพรีเมียม ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
       
       “ผมยังบอกชื่อไม่ได้ แต่ทุกคนในวงการรู้จักแน่นอน ซึ่งทุกอย่างจะสรุปในกลางเดือน ส.ค.นี้ ความร่วมมือนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น”
       
       พรีเมียมดาต้าเซ็นเตอร์ของทอมเลือกใช้โซลูชันจากผู้ผลิตระดับโลก เช่นใช้อุปกรณ์โครงข่ายจากซิสโก้ ระบบควบคุมอุณหภูมิและจัดการพลังงานของ ชไนเดอร์ อิเล็กทรอนิกส์ จากฝรั่งเศส และตู้ดาต้าเซ็นเตอร์จากริตทอล (Rittal) สัญชาติเยอรมัน มีระบบพลังงาน 3 ชุด ระบบสำรองไฟ 3 ชุด และระบบเครื่องปรับอากาศ 3 ชุด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรในการหาศูนย์สำรองข้อมูล สถานที่ทำงาน ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กรณีเกิดภัยธรรมชาติอย่างวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปีที่ผ่านมา
       
       ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาทอมไม่ได้เงียบหายไปไหน แต่โลว์โปรไฟล์ไม่ค่อยใหัสัมภาษณ์สื่อมากนัก แต่ยังวนเวียนอยู่ในธุรกิจไอซีทีที่ถนัด โดยฐานที่มั่นยังคงเป็นประธานบริษัท แพนด้า ซิเคียวริตี้ (PANDA SECURITY) ที่ได้ซื้อกิจการของแพนด้าเอเชีย โดยถือหุ้นในสัดส่วน 49% เพราะทอมเห็นว่าสินค้าแอนติไวรัสของแพนด้านั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการ และพลิกโฉมแอนติไวรัสรูปแบบเดิมๆ โดยเฉพาะแอนติไวรัสที่ทำงานบนคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งสามารถดูแลเฝ้าระวังไวรัสแบบเรียลไทม์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเซิร์ฟเวอร์ และวิ่งไปซื้อซอฟต์แวร์มาเป็นกล่องลงโปรแกรมเอง และต้องคอยอัปเดตโปรแกรม และสแกนไวรัสด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
       
       ช่วงปลายปี 2553 ทอมจับมือร่วมทุนกับนักธุรกิจใหญ่อย่างโทนี เฟอร์นันเดส (Tony Fernandes) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย เซ็นสัญญาร่วมทุนในสัดส่วน 49/51 จัดตั้งบริษัท Tune Talk Thailand ในประเทศไทยเพื่อเป็น MVNO (Mobile Virtual Network Operator) บริการ 3G ของบริษัททีโอที โดยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท
       
       โทนี เฟอร์นันเดส กล่าวถึงทอมว่า “ผมมั่นใจพาร์ตเนอร์อย่างทอมเพราะพูดภาษาเดียวกัน และเป็นพาร์ตเนอร์ที่มีความเข้มแข็งด้านการตลาด นอกจากนี้วิชันของทีโอทียังชัดเจนว่าจะต้องให้บริการผ่าน MVNO ซึ่งน่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่ไม่ทำธุรกิจเพื่อมาแข่งกับ MVNO ของตนเอง”
       
       โทนีเลือกมาลงทุน MVNO ในไทยเพราะรู้จักประเทศไทยดี และสามารถใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของแอร์เอเชียในการทำธุรกิจ เขาเห็นว่าบริการโทรศัพท์มือถือต้องเป็นลักษณะให้บริการเชื่อมโยงคนในภูมิภาคในลักษณะ Regional Marketing ไม่ใช่เป็นแค่บริการเฉพาะในแต่ละประเทศ โทนีต้องการให้ลูกค้าใช้ซิมการ์ดเดียว อัตราโรมมิ่งเดียวทั่วภูมิภาค (Seamless Roaming) นอกจากนี้ยังต้องการโปรโมตบริการ DATA ที่เป็นจุดแข็งของ 3G ในแบบโลว์คอสต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโลว์ไพรส์ หรือโลว์ควอลิตี โดยมองว่าในเรื่อง DATA แล้วอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตจะเติบโตอย่างมาก
       
       โทนีเชื่อว่าทอมจะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการด้านการตลาดได้ดีที่สุด
       
       แต่ด้วยปัจจัยที่ยากจะควบคุม โดยเฉพาะการลงทุนขยายโครงข่าย และมุมมองธุรกิจของทีโอที ทำให้ Tune Talk Thailand มาเร็วเกินไปสำหรับธุรกิจ MVNO 3G TOT
       
       หากไล่เรียงประสบการณ์ของทอมเรียกได้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ทำดีลขนาดใหญ่มาก็เยอะ ไม่ว่าจะเป็นการขายหุ้นกลุ่มสามารถให้เทเลคอมมาเลเซีย หรือการขายดีพีซีให้กลุ่มชิน มีความรู้และประสบการณ์รอบตัว ไม่เฉพาะไอซีทีแต่ยังลามไปถึงคอนซูเมอร์โปรดักต์และเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส คล่องจนถึงขนาดหลายคนหาว่าทอม “ซ่าและซน” เกินไป
       
       “ที่มีคนว่าผมซ่าหรือซนเกินไป อาจเป็นเพราะว่าผมเป็นคนคิดนอกกรอบ เป็นคนตรงไปตรงมา ทำให้เมื่อพูดบางอย่างออกไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดก็เป็นไปได้' ทอมกล่าวและย้ำว่า โดยส่วนตัวปัจจุบันยังมองหาโอกาสและธุรกิจที่มีศักยภาพในการลงทุนและเติบโต ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ธุรกิจบรอดคาสติ้งน่าสนใจที่สุด เพราะขนาดกลุ่มชินยังสนใจดิจิตอลทีวี รวมทั้งกลุ่มแกรมมี่ด้วย
       
       ในมุมมองของทอมเห็นว่าธุรกิจบรอดคาสติ้งน่าสนใจในประเด็นหลักๆ คือ ใช้งบการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องใช้เงินลงทุนในการสร้างสถานีโทรทัศน์จำนวนมากกว่าหมื่นล้านบาท และต้องมีความถี่พิเศษที่ต้องขออนุมัติ หรือการได้รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐบาล แต่ในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถมีสถานีเป็นของตัวเองได้
       
       ยกตัวอย่างเช่น YouTube, SocialCam, Vimeo ที่ใครๆ ก็สามารถ บรอดคาสต์สิ่งที่ตนเองต้องการให้ประชาชนดูได้
       
       เทคโนโลยีบรอดคาสต์ปัจจุบันนี้พูดได้เต็มปากว่าไปได้ไกลจริงๆ การดูคอนเทนต์หรือทีวีสมัยหนึ่งคนต้องกลับบ้าน และรอทางสถานีส่งรายการมาให้ชม แต่ในวันนี้ผู้คนสามารถดูทีวีได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นดูจากทางคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ โดยที่ไม่ต้องรอทางสถานี และยังสามารถเลือกชมรายการต่างๆ ได้ตามความต้องการ นี่คือเหตุผลหลักที่บริษัทในกลุ่มชิน หรือ แกรมมี่ หรืออาร์เอส ก็หันมาสนใจธุรกิจประเภทนี้ โดยเล็งเห็นว่ามีฐานลูกค้าที่ชัดเจน มีคอนเทนต์ และเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด
       
       “ผมเชื่อว่าเมื่อ กสทช.เปิดให้ขอไลเซนส์เกี่ยวกับด้านบรอดคาสติ้ง จะมีผู้ประกอบการจำนวนมากกระโดดเข้าใส่ธุรกิจนี้”
       
       Company Related Link :
       Kirz

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)