Author Topic: จับตา “มาริสสา เมเยอร์” ผ่าตัด Yahoo  (Read 1650 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       จับตาการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5 ด้านที่จะเกิดขึ้นกับยาฮูหลังจากแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ “มาริสสา เมเยอร์ (Marissa Mayer)” อดีตผู้บริหารยุคบุกเบิกของกูเกิลซึ่งกำลังตั้งครรภ์ลูกคนแรก 6 เดือนในขณะนี้ คาดวัฒนธรรมองค์กรยาฮูจะเปลี่ยนแปลงพร้อมกับการ “โละ” หรือจัดระเบียบบริการที่ไร้ประโยชน์ของยาฮูออกไป ขณะที่ชาวออนไลน์รวมตัวเรียกร้องให้ซีอีโอคนใหม่ช่วยกู้วิกฤต “ฟลิกเกอร์ (Flickr)” บริการเด่นของยาฮูที่เคยเป็นเบอร์ 1 ด้านการเก็บและแชร์ภาพในยุคหนึ่ง
       
       16 ก.ค. 2555 ตามเวลาในสหรัฐฯ ยาฮูประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้แต่งตั้งให้มาริสสา เมเยอร์ อดีตผู้บริหารกูเกิลเป็นซีอีโอคนใหม่ของบริษัท โดยเมเยอร์ถือเป็นซีอีโอคนที่ 3 ในรอบปีนับตั้งแต่คารอล บาร์ตซ์ (Carol Bartz) อดีตซีอีโอหญิงที่ถูกปลดฟ้าผ่า และสกอตต์ ทอมป์สัน (Scott Thompson) ซึ่งถูกร้องเรียนเรื่องวุฒิการศึกษาในเอกสารสมัครงานไม่เป็นไปตามจริง
       
       เพราะมีเมเยอร์เป็นตัวเก็งในตำแหน่งซีอีโอ ยาฮูจึงไม่ประกาศชื่อรักษาการซีอีโอ “รอสส์ เลวินซอห์น (Ross Levinsohn)” ผู้บริหารยาฮูขึ้นเป็นซีอีโออย่างเป็นทางการ สำหรับเมเยอร์นั้นเป็นพนักงานลำดับที่ 20 ของกูเกิล ซึ่งถือเป็นวิศวกรหญิงรุ่นบุกเบิกที่มีส่วนร่วมในหลายโครงการ โดยเมเยอร์เป็นแรงดันสำคัญที่ทำให้กูเกิลมีหน้าเพจสะอาดตาและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทั้งหมดเป็นคำถามว่าซีอีโอคนใหม่จะสามารถเปลี่ยนแปลงยาฮูให้เป็นแบบกูเกิลได้หรือไม่
       
       แน่นอนว่ากูเกิลและยาฮูเริ่มต้นมาจากจุดเดียวกัน ทั้งคู่ (เคย) เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจิน แต่ทิศทางการเติบโตของ 2 บริษัทนั้นต่างกันชัดเจน แนวทางของกูเกิลนั้นเป็นไปตามกลยุทธ์ของผู้นำที่แข็งแกร่ง จึงนำพาให้กูเกิลเป็นยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรายหนึ่งในโลกออนไลน์
       
       เรฟ นีดเดิลแมน ผู้สื่อข่าวซีเน็ตวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ซีอีโอคนใหม่อย่างเมเยอร์จะนำมาเปลี่ยนแปลงยาฮูคือวัฒนธรรมระบบวิศวกรรม (engineering culture) ที่ผ่านมา เมเยอร์เป็นหนึ่งในแรงดันที่ทำให้กูเกิลมีระบบการคิดงานที่เน้นเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง บริการของกูเกิลจะต้องทำงานได้เร็ว, มีประโยชน์, มีการทดสอบความปลอดภัยต่อเนื่อง และมีการพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
       
       ปรัชญานี้อาจจะถูกเมเยอร์นำมาปรับใช้กับยาฮู สิ่งนี้ทำให้หลายคนจับตามองว่าหน้าหลัก (โฮมเพจ) เว็บท่าของยาฮูจะต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอนนับจากนี้ ขณะเดียวกัน ประสบการณ์การนำผลิตภัณฑ์มาเพิ่มคุณค่าของเมเยอร์ก็อาจจะเกิดขึ้นกับบริการอย่างยาฮูเมล (Yahoo Mail) ด้วย ซึ่งยังคงเป็นหนึ่งในบริการฟรีอีเมลรายใหญ่ที่สุดในโลก
       
       สื่อต่างประเทศจึงมองว่า ความท้าทายที่รอเมเยอร์อยู่คือการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของยาฮู โดยเฉพาะการใช้เวลาในการตัดสินใจพัฒนานวัตกรรมใหม่นานเกินไป เรื่องนี้ ซาลิม อิสมาเอล (Salim Ismael) ผู้ดำเนินการโครงการ Brickhouse ของยาฮูยืนยันว่าโครงสร้างองค์กรของยาฮูอาจเป็นอุปสรรคในการอยู่รอดบนธุรกิจอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผู้เล่นต้องพัฒนานวัตกรรมได้เร็ว
       
       หนึ่งในสิ่งที่คาดว่าจะได้เห็นในยุคที่เมเยอร์เป็นซีอีโอยาฮู คือ การยกเลิกบริการที่ไม่ประสบความสำเร็จทิ้งไป เช่นเดียวกับกูเกิลที่ประกาศยกเลิกบริการออนไลน์หลายครั้งในชื่อ cleaning project จุดนี้ก็ยังเป็นความท้าทายในการตัดสินใจให้ถูกต้องว่าควรจะยกเลิกบริการใด
       
       ที่สำคัญคือการวางวิสัยทัศน์ในระยะยาว ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบบริการออนไลน์ในเครือยาฮูโดยตรง จุดนี้เมื่อมองไปที่กูเกิล จะพบว่าการตัดสินใจปิดบริการอย่าง Buzz และ Wave นั้นทำตามยุทธศาสตร์เสริมแกร่ง Google+ ทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งให้กูเกิลเติบโตในฐานะสื่อออนไลน์ที่สามารถทำเงินในตลาดโฆษณาออนไลน์ได้อีกทอด แถมยังมีความพยายามในตลาดฮาร์ดแวร์อย่าง Google TV และ Nexus Q ทั้งหมดล้วนทำให้โลกลุ้นว่าเมเยอร์จะนำประสบการณ์ของกูเกิลมาผ่าตัดยาฮูอย่างไร
       
       ท้ายที่สุด เมเยอร์จะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เป็นมิตรต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ไปพร้อมกัน จุดนี้นักวิเคราะห์มองว่ายาฮูยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอต่อการก่อร่างสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และงานเร่งด้วนของเมเยอร์คือการซ่อมแซมหรือกู้วิกฤติยาฮูทันที
       
       หนึ่งในบริการที่ถูกมองว่ายาฮูต้องกู้วิกฤตอย่างเร่งด่วนคือ ฟลิกเกอร์ ล่าสุดชาวออนไลน์พร้อมใจส่งข้อความใน Twitter ด้วยชื่อแฮชแทก #dearmarissamayer เพื่อขอให้ซีอีโอคนใหม่ช่วยปรับปรุงบริการแชร์ภาพที่เคยได้รับความนิยมถล่มทลาย โดยขณะนี้มีการก่อตั้งเว็บไซต์ DearMarissaMayer.com พร้อมกับเผยแพร่ข้อความที่ชาวออนไลน์ตั้งใจส่งถึงซีอีโอยาฮูคนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกร้องให้มีการปรับปรุงให้ฟลิกเกอร์กลับมา “แจ่ม” อีกครั้ง
       
       นอกจากฟลิกเกอร์ ชาวออนไลน์ยังเรียกร้องให้ซีอีโอยาฮูให้ความสำคัญกับธุรกิจทีวีออนไลน์หรือ Connected TV และบริการไปปส์ (Pipes) เครื่องมือเทคโนโลยี RSS ที่จะทำให้ชาวออนไลน์สามารถประสานเรื่องราวออนไลน์ที่สนใจไว้บนเพจเดียวอย่างง่ายดาย ทั้ง 3 บริการนี้ล้วนถูกยกย่องว่าเป็นบริการที่มีโอกาสเติบโตสูงมากของยาฮู แต่ในปัจจุบันยาฮูกลับไม่มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องจนทำให้คู่แข่งรายอื่นแซงหน้าไปอย่างน่าเสียดาย
       
       ทั้งหมดนี้ เมเยอร์ยังไม่ได้ออกมาประกาศแผนจัดการยาฮูอย่างเป็นทางการ โดยในงานประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของยาฮู ประธานฝ่ายการเงิน “ทิม มอร์ส (Tim Morse)” ระบุว่ายาฮูต้องการให้เมเยอร์ศึกษาองค์กรอย่างละเอียด ก่อนจะประกาศแผนบริหารต่อไป
       
       ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.ถึง มิ.ย.ที่ผ่านมา ยาฮูประกาศว่ามีรายได้รวม 1.218 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนลดลง 1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยกำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย 4% อยู่ที่ 228.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งหมดยังไม่มีการประเมินรายได้ไตรมาสปัจจุบัน
       
       สำหรับเมเยอร์ ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับเธอคือการออกมายืนยันกับนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ว่าตั้งครรภ์ลูกคนแรกในขณะนี้ หลังจากสมรสกับซักคารี บูกว์ (Zachary Bogue) อดีตทนายความที่ผันตัวมาทำงานในบริษัทลงทุนในบริษัทเกิดใหม่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยเมเยอร์ให้สัมภาษณ์ว่ากังวลเรื่องลูกเมื่อได้รับการทาบทามจากยาฮู แต่เมื่อหารือกับคณะกรรมการสรรหาซีอีโอยาฮู ทั้งหมดอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์ ทำให้เมเยอร์ระบุว่าจะลาคลอดเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์ และจะสั่งงานไปด้วยในระหว่างลางาน
       
       Company Related Link :
       Yahoo

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
1 Replies
1882 Views
Last post September 17, 2012, 11:31:15 PM
by Nick
0 Replies
1368 Views
Last post November 12, 2012, 01:16:26 PM
by Nick
0 Replies
1378 Views
Last post November 19, 2012, 08:09:29 PM
by Nick
0 Replies
1879 Views
Last post December 14, 2012, 11:22:48 PM
by Nick
0 Replies
1237 Views
Last post February 21, 2013, 12:02:34 PM
by Nick
0 Replies
1202 Views
Last post March 05, 2013, 12:30:41 PM
by Nick
0 Replies
1238 Views
Last post July 16, 2013, 12:31:59 PM
by Nick
0 Replies
1575 Views
Last post March 06, 2014, 01:28:18 PM
by Nick
0 Replies
1878 Views
Last post September 29, 2014, 01:44:49 PM
by Nick
0 Replies
1491 Views
Last post March 14, 2016, 04:40:36 PM
by Nick