Author Topic: อีเอ็มซี เผยบริษัทไทย ส่วนใหญ่เจอ ปัญหาข้อมูลหาย  (Read 994 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เชน มัวร์

อีเอ็มซี เผยผลการศึกษาการกู้คืนระบบของบริษัทไทย ประสบปัญหาข้อมูลหายถึง 90% เป็นผลจากฮาร์ดแวร์ และปัญหาซอฟต์แวร์เป็นหลัก ส่งผลให้บริษัทในไทยเริ่มหันมาทบทวนโครงสร้างพื้นฐานของตนเองใหม่ มีแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่แทนถึง 75%
       
       นายเชน มัวร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์สำรองและกู้คินข้อมูล อีเอ็มซี คอร์ปอเรชัน เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางอีเอ็มซีได้ให้บริษัทวิจัยอิสระ แวนสัน บอร์น ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการกู้คืนระบบเมื่อเปิดภัยพิบัติของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เพื่อทำความเข้าใจถึงความพร้อมในการรับมือกับการสูญเสียข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่หยุดทำงาน
       
       โดยเฉพาะบริษัทในประเทศไทยที่มีการสำรวจประมาณ 250 บริษัท ที่ระบุว่า 90% เคยประสบปัญหาสูญหายของข้อมูลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาฮาร์ดแวร์ล่มถึง 66% ถัดมาเป็นเรื่องของข้อมูลสูญหาย 75% และเกิดจากปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ 46% ขณะที่ภัยธรรมชาติมีผลต่อข้อมูลสูญหายเพียง 21% ขณะที่บริษัทที่ระบุว่า มีปัญหาเรื่องข้อมูลสูญหาย ประมาณ 76% ไม่มั่นใจว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลหรือระบบกลับมาได้
       
       "จากปัญหาดังกล่าวทำให้บริษัทในไทยถึง 56% มีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงกระบวนการสำรอง และกู้คืนข้อมูลหลังจากที่เกิดปัญหา ซึ่งต่างจากบริษัทในต่างประเทศที่มีการวางแผนในเรื่องดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมา"
       
       นอกจากนี้ 75% ของบริษัทในไทยได้เพิ่มงบประมาณสำหรับการสำรองและกู้คืนข้อมูลหลังจากที่เกิดภัยพิบัติ ในทางตรงกันข้าม 15% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่า มีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการสำรองและกู้คืนข้อมูล และโดยเฉลี่ยแล้ว ผลการวิจัยชี้ว่าองค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ใช้จ่าย 12.06% ของงบประมาณด้านไอทีไปกับการสำรองและกู้คืนข้อมูล
       
       ผลการศึกษาระบุว่า ปัญหาระบบหยุดทำงานก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ โดยส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการใหม่ๆ 55% การสูญเสียรายได้ 50% และสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ 44% การหยุดของระบบดังกล่าวทำให้บริษัทต้องสูญเสียวันทำงานโดยเฉลี่ยถึง 3 วันครึ่ง หากคำนวณเป็นชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางด้านไอทีที่ทำงานโดยเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง เท่ากับว่า บริษัทที่มีพนักงานราว 2,000 คนจะต้องสูญเสียชั่วโมงทำงานสูงถึง 56,000 ชั่วโมง นอกจากนี้ แต่ละองค์กรยังสูญเสียข้อมูลโดยเฉลี่ย 361 กิกะไบต์ในช่วงเวลา 12 เดือน ถ้าเทียบขนาดข้อมูล 1 เมกะไบตมีขนาดเท่ากับอีเมล 25 ฉบับ ข้อมูลที่สูญหายไป 484 กิกะไบต์ก็จะเท่ากับการสูญเสียอีเมล 9.025 ล้านฉบับ
       
       แม้ว่าการสูญเสียรายได้จะถูกระบุว่า เป็นผลกระทบหลักของปัญหาระบบหยุดทำงาน แต่ผลการวิจัยยังบ่งบอกว่า บริษัทในไทยหลายแห่งไม่ได้ดำเนินมาตรการที่เพียงพอสำหรับการปกป้องข้อมูลสำคัญของลูกค้า โดย 56% ขององค์กรไม่มีแผนการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติสำหรับระบบซีอาร์เอ็ม และ 11% ขององค์กรที่มีแผนการกู้คืนระบบต้องการให้แอปพลิเคชัน CRM เริ่มต้นทำงานเป็นแอพพลิเคชันแรกสุดหลังจากที่ระบบหยุดทำงาน
       
       นอกจากนั้น บริษัทในไทยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนลดหย่อนพิเศษสำหรับเบี้ยประกันภัย สาเหตุเพราะไม่ได้จัดทำแผนกู้คืนระบบอย่างครบวงจร โดย 44% จำเป็นต้องจัดทำแผนกู้คืนระบบตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือกฎระเบียบ และที่สำคัญไปกว่านั้น 61% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามได้รับข้อเสนอส่วนลดหย่อนเบี้ยประกันโดยพิจารณาจากความแข็งแกร่งของกลยุทธ์การสำรองและกู้คืนระบบไอที
       
       อย่างไรก็ดี 12% ของบริษัทไม่ทราบว่า บริษัทประกันเสนอส่วนลดหย่อนพิเศษดังกล่าวหรือไม่ หรือไม่ได้สนใจส่วนลดที่ว่านี้ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า บริษัทหลายๆ แห่งต้องสูญเสียโอกาสในการปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไป เนื่องมาจากโซลูชันที่มีอยู่ล้าสมัยยังใช้วิธีแบ็กอัปคงพึ่งพาเทปบันทึกข้อมูล 33% และยังคงใช้ซีดีรอมสำหรับการแบ็กอัปและกู้คืนข้อมูล 45% แต่สถานการณ์นี้กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป โดย 83% ที่ใช้เทปแบ็กอัปข้อมูลมีแผนที่จะเลิกใช้เทปในอนาคต เพราะแบ็กอัปรวดเร็วขึ้น อายุการใช้งานยาวนานกว่า และความเร็วในการกู้คืนข้อมูลและระบบ 32%
       
       "66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยใช้โซลูชันการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลบนดิสก์ที่ทันสมัยอยู่แล้วถึง 66% ซึ่งแนวโน้มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น"
       
       นายนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี คอร์เปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดแบ็กอัปข้อมูลบนสตอเรจในไทยเชื่อว่าปีนี้จะเติบโตมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับการเติบโตของตลาดดังกล่าวในภูมิภาคนี้ที่เติบโตมากกว่า 100% ซึ่งถือว่า ค่อยๆ เติบโตขึ้น ซึ่งยอมรับว่า บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีแบ็กอัปข้อมูลผ่านเทปอยู่ จะมีเพียงแต่บริษัทใหญ่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจที่หันมาใช้การแบ็กอัปบนสตอเรจ
       
       "ในปีนี้ ธุรกิจทางด้านธนาคาร การเงิน ค้าปลีก น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจแรกๆ ที่จะหันมาลงทุนบนเทคโนโลยีใหม่นี้มากขึ้น"
       
       Company Relate Link :
       EMC

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)