Author Topic: ซอฟต์แวร์ไทยโกเจแปน จับมือเอ็มยูเอสสร้างเครือข่ายไทย-ญี่ปุ่น  (Read 887 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ซอฟต์แวร์ปาร์กจับมือ 2 สมาคมไอทีไทยเซ็นเอ็มโอยูกับ “เอ็มยูเอส” เวนเจอร์แคปปิตอลจากญี่ปุ่น ขยายโอกาสทางการตลาดบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ใน 2 ประเทศ ไทยเล็งไกลขายโซลูชันภายใน 2 ปีไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
       
       นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากการที่เศรษฐกิจโลกมีการปรับเปลี่ยนตามแนวโน้มเทคโนโลยี หลายประเทศมีความตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่จะเชื่อมตลาดการค้าการลงทุนเป็นซิงเกิลมาร์เกต การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะข้ามชาติ การเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามในการเติบโตของบริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นในประเทศไทยอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เนื่องจากการแข่งขันจากบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จากต่างประเทศจะมีมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความร่วมมือกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งการที่ทาง สวทช.ได้ลงนามความร่วมมือโครงการ “ความร่วมมือเปิดช่องทางโอกาสทางการตลาดแก่ซอฟต์แวร์ไทยไปประเทศญี่ปุ่นกับทาง Made in Japan Software Consortium (เอ็มยูเอส) พร้อมกับ 2 องค์กรทางด้านไอซีทีของไทย ประกอบไปด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) กับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ทีเซพ) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร ความเข้มแข็งของทีมงาน รวมถึงการขยายตลาดการให้บริการซอฟต์แวร์ระหว่าง 2 ประเทศร่วมกัน
       
       ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์ปาร์ก กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของซอฟต์แวร์ปาร์กก็คือ การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโตขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยค่อนข้างมาก จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีการลงทุนจากต่างประเทศถึง 12% โดยประเทศญี่ปุ่นมีโครงการลงทุนมาเป็นอันดับ 1 ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้กับเอ็มยูเอสที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุน หรือที่เรียกว่าเวนเจอร์แคปปิตอล ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีสมาชิกประมาณ 55 บริษัท ทำให้โอกาสที่บริษัทองค์กรภาคเอกชนทั้ง 2 องค์กรอย่าง เอทีซีไอ และทีเซพ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เกิดโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน เกิดโอกาสในการรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศญี่ปุ่น (Software outsourcing) อันจะส่งผลในการขยายโอกาสทางการตลาดในทั้งสองประเทศ เพิ่มมูลค่าการพัฒนาและการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย อีกทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพของซอฟต์แวร์ไทย
       
       กิจกรรมในปีแรกนี้ จะเห็นโครงการแลกเปลี่ยนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการคัดเลือกนักพัฒนาของไทยเดินทางไปฝึกงาน เรียนรู้ระบบการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ในญี่ปุ่น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 เดือน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ Inbound-outbound สร้างเครือข่ายพันธมิตร
       
       “ความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 2 ปี โดยในปีแรกน่าจะเป็นช่วงเวลาทำความรู้กันระหว่างสมาชิกทั้ง 3 องค์กร โดยในปีที่ 2 น่าจะเกิดกิจกรรมการตลาดร่วมกันเกิดขึ้น แต่เวลานี้ก็มีบางบริษัทในประเทศไทยที่มีความร่วมมือไปบ้างแล้วในระดับหนึ่ง โดยเชื่อว่าภายใน 2 ปีของความร่วมมือน่าจะมีมูลค่าความร่วมมือเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ทั้งในรูปแบบของงานเอาต์ซอร์ส (outsource) และงานที่เป็นแบบซับคอนเทกต์”
       
       นายมิโนะ คาซูโอะ Chief Director, Made in Japan Software Consortium (เอ็มไอเจเอส) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการร่วมมือในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้บริษัทในประเทศไทยได้มีโอกาสรู้จักและใช้ซอฟต์แวร์ญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และเซอร์วิสในประเทศญี่ปุ่นตกประมาณ 8,880 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ไปต่างประเทศเพียง 5% ซึ่งความตั้งใจที่จะผลักดันให้สัดส่วนการส่งออกซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นเป็น 20%
       
       ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวเสริมว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือกันระดับองค์กรภาคเอกชน ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาสมาชิกในสมาคมมีความร่วมมือกันในระดับบริษัท ซึ่งเชื่อว่าโซลูชันที่บริษัทซอฟต์แวร์คนไทยจะทำตลาดในญี่ปุ่นได้น่าจะเป็นโซลูชันทางด้านโรงแรมที่เป็นเอสเอ็มอีบนคลาวด์เทคโนโลยี รวมไปถึงโซลูชันอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเชื่อว่ามีมูลค่าได้ถึง 50 ล้านบาทภายใน 2 ปี
       
       “ความร่วมมือในครั้งนี้ ทางสมาคมฯ ยังมองไกลไปถึงการจับมือร่วมกันในการทำตลาดประเทศที่ 3 อีกด้วย”
       
       Company Related Link :
       Software Park

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)