Author Topic: เอไอเอส - ดีแทค คุยอนุฯคุ้มครองผู้บริโภคฯ หาข้อยุติปัญหาพรีเพด  (Read 1344 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      เอไอเอส - ดีแทค ส่งตัวแทนหารือ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม หวังหาข้อยุติปัญหากำหนดวันใช้บริการพรีเพด ประธานอนุกรรมการเผยที่ประชุม เสนอสองทางเลือกพร้อมจุดยืนชัดเจน เสนอไม่มีวันหมดอายุ หรือหากบริษัทจะกำหนดวัน ก็ต้องเป็นธรรมไม่เร่งให้ผู้บริโภคต้องเติมเงิน
       
       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้มีการหารือร่วมกับ ตัวแทน บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และตัวแทนบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เนื่องจากบริษัทฯ เอไอเอส ต้องการทราบแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือพรีเพด เพื่อแสวงหาความร่วมมือและข้อยุติร่วมกัน โดยมีอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมที่เข้าร่วมได้แก่ นายศรีสะเกษ สมาน นายศิริศักดิ์ ศุภมนตรี และนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา
       
       ผลของการหารือที่ประชุมได้เสนอทางออกเป็น 2 ทางเลือก ทางเลือกแรกคือ การไม่กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน คือ ให้เป็นไปตาม ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 วิธีการนี้คือ หากผู้บริโภคยังมีเงินเหลืออยู่ในระบบ ก็มีสิทธิที่จะใช้บริการได้ตลอดโดยไม่ถูกกำหนดวัน ซึ่งไม่กระทบกับผู้บริโภคที่ใช้บริการระบบเติมเงิน แต่จะกระทบกับผู้ที่เก็บเลขหมายไว้กับตัวเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการใช้งาน ซึ่งอาจมีการกำหนดระยะเวลาที่ต้องมีความเคลื่อนไหวของการใช้บริการ เช่น หากไม่มีความเคลื่อนไหวของการใช้บริการภายในกี่เดือน ผู้ให้บริการจะสามารถหักค่าบริการในการรักษาเลขหมายได้ในอัตราที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการถือครองเบอร์ และปัญหาเลขหมายไม่เพียงพอ
       
       “การเคลื่อนไหวหมายถึงไม่ว่าจะโทรออกหรือรับสาย ก็ถือว่าเป็นความเคลื่อนไหว เพราะมีการได้สตางค์เกิดขึ้นในวงจรธุรกิจ ก็มาหาข้อตกลงกันอย่างเดียวว่า สมมติว่าเป็นระยะเวลา 1 ปี ต้นทุนที่จะตัดกับผู้บริโภคหากเบอร์ไม่เคลื่อนไหวเลยเป็นเท่าไหร่ ก็ต้องยินดีให้ตัดโดยมูลค่าการตัดต้องพิจารณาจากต้นทุนที่แชร์ความรับผิดชอบกันระหว่างผู้บริโภคและบริษัทฯด้วย”
       
       ทางเลือกที่สอง คือ หากจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ เนื่องจากบริษัทฯมีต้นทุนเช่นค่าบริหารเลขหมาย การดูแลลูกค้า การพัฒนาโครงข่าย ก็ต้องยืนอยู่บนหลักการ 3 ข้อ คือ 1.จำนวนวันขั้นต่ำที่กำหนดควรเป็นระยะเวลาที่เป็นเหตุเป็นผลไม่เร่งรัดการใช้บริการเช่น 3 วัน 5 วัน ดังเช่นปัจจุบัน 2.มีการกำหนดวันเป็นขั้นบันไดคือ จำนวนวันผันแปรตามจำนวนเงินที่เติม และ3. หากมีเงินเหลือในระบบต้องคืนให้กับผู้บริโภค แต่ทั้งหมดก็ต้องมาขออนุญาตกสทช. หากไม่ขออนุญาตก็มีวันหมดอายุไม่ได้
       
       “เอไอเอส ชี้แจงปัญหาเรื่องต้นทุน ขณะที่ ดีแทค กลัวปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของเลขหมายที่ไม่พอใช้ ดังนั้นหากกำหนดวัน จำนวนวันที่กำหนดต้องเป็นอัตราที่ไม่เร่งรัดให้ผู้บริโภคต้องเร่งเติมเงิน เช่น หาก 100 บาท ได้ 30 วัน 50 บาทก็จะได้ 15 วัน ลดหลั่นลงไป เพราะปัจจุบันการกำหนด 10 บาท ต้องใช้ภายใน 1 วัน ถือว่าเร่งรัดเกินไป วันที่กำหนดจึงควรมีลักษณะที่เป็นธรรม ซึ่งการหารือในวันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ เอไอเอส เป็นฝ่ายขอหารือกับอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯและเสนอที่จะร่วมกันคิดเพื่อแก้ปัญหานี้ ตั้งแต่การผลักดันปัญหานี้ในยุค สบท. ซึ่งถือเป็นเรื่องดีในการทำงานร่วมกันเพราะทางบริษัท ทรูมูฟ จำกัดได้เคยมาร่วมหารือไปแล้ว แต่จะแจ้งผลของการประชุมกับสองบริษัทในวันนี้ไปให้รับทราบด้วย”
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)