Author Topic: เปิดหลักฐาน ล่าไอ้โม่งฉีกสัญญาฮัทช์-กสท  (Read 1241 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


สำเนาเอกสารปะหน้า "สัญญาซื้อขายกิจการฮัทช์"


หลักฐานลายเซ็นในสัญญาชัดเจน

“อนุดิษฐ์”เผยได้หลักฐานใหม่ สำเนาสัญญาซื้อขาย “ฮัทช์” ฉบับที่ลงนามครบถ้วน ก่อนหน้าที่กสท.เปลี่ยนใจให้กลุ่มทรูเข้าซื้อฮัทช์แทน เตรียมส่งต่อดีเอสไอสอบต่อ ระบุมีโอกาสเข้าข่ายผิด ม. 46 พ.ร.บ. กสทช.
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ล่าสุดตนได้รับสำเนาเอกสารสัญญาซื้อขายกิจการระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ขาย และฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อที่มีการลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม.2553 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่นายจุติ ไกรฤกษิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีจะเข้ามารับตำแหน่ง
       
       แต่สัญญาดังกล่าวกลับถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยสั่งให้ฉีกสัญญาทิ้งเพื่อเปิดทางให้กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคา 6,000 ล้านบาท
       
       “ทางไอซีทีได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา แต่ขอสงวนนามผู้ที่ส่งมาให้ ซึ่งหลังจากนี้จะส่งเรื่องต่อไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวในการฉีกสัญญาว่าเข้าข่ายผิดกฏหมายข้อใดบ้าง” น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว
       
       เมื่อได้สัญญาดังกล่าวมาได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่าเป็นสัญญาที่มีการลงนามของทั้ง 2 บริษัทจริง ซึ่งมีความผิดเข้าข่ายมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ. กสทช.สัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นห่างจากระยะเวลาที่ทรูซื้อกิจการฮัทช์ประมาณ 6 เดือน แต่เป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้มีคำสั่งจากอดีตรัฐมนตรีไอซีทีสั่งให้ไปเจรจาราคาซื้อขายใหม่ในราคาราว 7,000 กว่าล้านบาทแต่อย่างใด
       
       “สัญญาฉบับนี้ได้รับการยืนยันจากอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่กสทฯ ว่า ได้เซ็นจริงแต่ไม่ได้ถูกดำเนินการต่อในเรื่องการซื้อขาย เพราะการเมืองสั่งให้ยกเลิก ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เย้ยกฎหมายทั้งภายในและภายนอกประเทศ” รมว.ไอซีทีกล่าว
       
       พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า หลังจากได้รับสัญญาจากทางกระทรวงไอซีทีแล้ว ดีเอสไอจะสืบหาพยานทั้งหมดว่า สัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นและมีอยู่จริง และสอบข้อเท็จจริงว่าเหตุใดเซ็นแล้วจึงถูกยกเลิก ซึ่งการยกเลิกครั้งนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดบ้าง
       
       “ต้องหาสัญญาฉบับจริงก่อน แต่ได้รับการยืนยันจาก ตัวบุคคลว่า มีการเซ็นจริงก็เชื่อถือได้ หลังจากนี้จะสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และจะได้ความคืบหน้าภายในเดือนนี้อย่างแน่นอน”
       
       พ.ต.อ.ประเวศน์ กล่าวว่า หากพบว่าสัญญาดังกล่าวผิดจริงจะเข้าข่ายผิดกฎหมายฟอกเงินระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่การกระทำผิดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาเกี่ยวข้องจะต้องส่งเรื่องให้ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ส่งฟ้อง
       
       อนึ่ง สำเนาสัญญาฉบับดังกล่าวที่ส่งถึงมือรัฐมนตรีไอซีทีได้รับนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 34 หน้า ซึ่งมีมีการเซ็นชื่ออย่างครบถ้วน โดยบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ลงนามโดยนายไวตัส ชุน ฮุน หว่อง ส่วนบริษัท บีเอฟเคที บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส และบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนลลงนามโดยนาย ติง ยูซาน ในฐานะผู้ขาย ขณะที่ กสทฯ ลงนามในฐานะผู้ซื้อโดยนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ในตอนนั้น
       
       ด้านนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายหลังสำนักงานตรวจสอบภายในของ กสท ได้สรุปรายงานเบื้องต้นในสัญญาฉบับดังกล่าวพบว่า มีความเป็นไปได้ที่สัญญาดังกล่าวจะเข้าข่าย ผิด มาตรา 46 พ.ร.บ. กสทช. เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนให้เป็นเหตุ 2 ส่วน คือ 1.การที่ กสท ไม่สามารถเข้าไปในส่วนของเน็ตเวิร์กโอเปอเรชันได้ ทำให้บริษัทไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลชี้วัดคุณภาพได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงปัจจุบัน และข้อมูลเซลล์ไซส์ที่เปิดดำเนินการแล้ว
       
       2. กสท ไม่สามารถนำข้อมูลคอลดีเทลเร็คคอร์ด (ข้อมูลโทร.เข้าโทร.ออกว่า ใครโทร.เข้าโทร.ออก) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดบิล แต่กสท.กลับต้องขอไปยังบริษัท BFKT เพียงอย่างเดียว และถ้าจะต้องการข้อมูลจะต้องขอเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ครั้งแรกที่เปิดโครงการแล้ว
       
       อย่างไรก็ดีกสท.จะส่งข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวไปให้กับ กสทช. ที่ดูแล พ.ร.บ. กสทช. ดำเนินการต่อ เพราะอาจเข้าข่ายว่า กสท เป็นเจ้าของคลื่นแต่ไม่ได้บริหารจัดการคลื่นด้วยตัวเองได้ หรือผิดมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.นั้นเอง
       
       ขณะที่ พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า กระบวนการสอบสวนของดีเอสไอต่อไปนี้จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของสัญญาก่อนว่ามีสัญญานี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ถ้ามีจริง เงื่อนไขเป็นอย่างไร แล้วมีการยกเลิกกันเพราะสาเหตุอะไร ต้องเป็นขั้นเป็นตอน
       
       "ในเบื้องต้นไม่ทราบว่าฉบับจริงอยู่ที่ไหนเพราะที่ได้รับมาเป็นเพียงฉบับสำเนาเท่านั้น ดังนั้นการที่จะยกเลิกแล้วทำให้ใครได้ประโยชน์หรือใครเสียประโยชน์ และใช้เวลานานแค่ไหนยังไม่สามารถบอกได้เพราะยังไม่เห็นข้อเท็จจริง แต่จะพยายามทำให้ความจริงปรากฏโดยเร็ว"
       
       รองดีเอสไอยืนยันว่า ดีเอสไอยังไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความผิดในหมวดใด แต่หากพบว่ามีการเซ็นจริงแล้วก่อให้เกิดการผิดกฎหมายจริง คงต้องหาพยายามหลักฐานเพิ่ม ส่วนการจะยกเลิกสัญญาหรือไม่ต้องดูที่ผู้รับผิดชอบ
       
       "เชื่อว่าหากทุกคนให้ความร่วมมือ มีการยอมรับว่าคนเซ็นๆ จริง ก็ง่ายขึ้น ไม่น่าจะใช้เวลาถึงเดือนว่าหลักฐานฉบับนี้มีจริงไหม ต้นฉบับจริงอยู่ที่ไหน กสท อาจไม่มี แต่คู่กรณีอย่างฮัทช์อาจจะเก็บไว้ ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ต้องส่งไป ปปช. ก่อน ดีเอสไอ สามารถยื่นฟ้องได้เอง ถ้าเป็นความผิดที่เกิดจากนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ เราต้องส่ง ปปช.ก่อน"

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)