บอร์ดกสท. คลอดร่างใบอนุญาตฝั่งกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ 4 ประเภท หลังบอร์ดกสทช.อนุมัติร่างทั้งหมด เตรียมเดินหน้าเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อไป พ.อ.นที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.วานนี้ (25 เม.ย.) ว่าที่ใประชุมมีมติข้อสรุปเกี่ยบกับการกำหนดหลักเกณฑ์ และประเภทการออกใบอนุญาตกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดยขั้นตอนต่อไปจากนี้จะนำร่างที่บอร์ดกสทช.อนุมัติแล้วเข้าสู่กระบวนการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป ก่อนจะนำกลับมาให้บอร์ดใหญ่พิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขอีกครั้งหนึ่งต่อไป
ขณะที่ร่างกำหนดลักษณะ หลักเกณฑ์ และประเภทการออกใบอนุญาตกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้มีการกำหนดออกมาเป็น 4 ประเภทคือ 1.การให้บริการโครงข่าย ที่จะเป็นการรับส่งสัญญาณผ่านการเชื่อมต่อทั้งดาวเทียมหรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ไปยังประชาชน 2.การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก 3.การให้บริการแบบประยุกต์ซึ่งถือว่าเป็นการให้บริการเสริม และ 4.การให้บริการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กิจการ คือ กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ และกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ ที่จะแบ่งออกเป็น 3 การบริการหลักๆ คือ การบริการสาธารณะ แบ่งออกเป็นประเภท การให้ความรู้ การให้ความมั่นคง และการให้เป็นระบบประชาธิปไตย การบริการชุมชน และการบริการธุรกิจ ที่แบ่งออกเป็นระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้หลังจากนี้จะนำไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และเตรียมประกาศขึ้นเว็บกสทช.ภายใน 30 วัน พร้อมทั้งคาดไว้ว่าในปีนี้จะสามารถออกใบอนุญาตได้ภายในปีนี้
อย่างไรก็ตามยังจะต้องมีประเมินค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตตามกฎหมายที่ระบุไวว่าไม่เกิน 2 % โดยคิดมาจากเปอร์เซ็นต์รายได้จากผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น กสท. จึงจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการชั่วคราวดูแลการควบคุมกี่ใช้คลื่นความถี่ โดยจะช่วยรองรับผู้ประกอบการวิทยุทุกประเภทประมาณ 7,000 รายที่มีการจดทะเบียนมาก่อนหน้านี้แล้ว และได้กำหนดให้ผู้ประกอบการวิทยุจัดไปอยู่ตามหมวดต่างๆไม่ว่าจะเป็น ชุมชน สาธารณะและธุรกิจ ก่อนที่จะมีการออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นๆเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กสทช. 2553
นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถขอใบอนุญาตตามความเหมาะสมได้ตามประเภทความต้องการ ซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดกรอบระยะเวลาของใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไม่เกิน 7 ปี และโทรทัศน์ไม่เกิน 10 ปีไว้แล้ว
Company Relate Link :
กสทช.
ที่มา: manager.co.th