Author Topic: กสทช. เตรียมร่อนจดหมาย ระงับโฆษณาเกินจริง  (Read 891 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“สุภิญญา” เผยมติที่ประชุม กสท เตรียมส่งจดหมายสั่งระงับออกอากาศโฆษณาเกินจริงให้กระทรวงไอซีทีเพื่อส่งต่อไปให้ไทยคมระงับ 3 ผลิตภัณฑ์ เอนไซม์เจนิฟู๊ด-ซันคลาร่า-เกร็กคู พร้อมเปิดข้อสรุปหลังหารือปลัดไอซีที ก่อนเดินหน้าเจรจากับไทยคม 30 เมษายนนี้ตามกำหนดเดิม
       
       น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง เปิดเผยว่า วานนี้ (23 เม.ย.) คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ได้พิจารณาแนวทางการให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการตรวจสอบ และยุติการเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ดาวเทียม
       
       ซึ่งการประชุมล่าสุดบอร์ด กสท ได้พิจารณาแล้วมีข้อสรุปว่า การโฆษณาออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์เอนไซม์เจนิฟู๊ด ซันคลาร่า และเกร็กคู เข้าข่ายโอ้อวดเกินจริง และได้ส่งเรื่องดำเนินคดีพร้อมแจ้งระงับโฆษณาดังกล่าวให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อส่งต่อไปยังบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวตามมติในที่ประชุม กสท อีกทั้งยังจะแจ้งต่อที่ประชุมบอร์ด กสทช.และบอร์ด กทค.ในวันพรุ่งนี้ (25 เม.ย.) อีกครั้งหนึ่ง
       
       “ในขั้นตอนต่อไปหลังจากบอร์ดมีมติให้ไทยคมระงับการโฆษณาดังกล่าว ทาง กสท จะส่งหนังสือไปยังกระทรวงไอซีที และให้ทางไอซีทีส่งหนังสือไปยังบริษัทไทยคม เพื่อระงับการเผยแพร่โฆษณาต่อไป”
       
       อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาทาง อย.ได้เฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริง และฝ่าฝืนกฎหมายแพร่ภาพผ่านสัญญาดาวเทียม โดยมีการดำเนินคดีพร้อมแจ้งระงับการโฆษณาแล้วแต่ยังมีการแพร่ภาพรายการดังกล่าวอยู่ แม้ทาง อย.ได้ขอความร่วมมือกับตัวแทนบริษัทไทยคมไปแล้วก็ตาม ซึ่งไทยคมยินดีประสานความร่วมมือในการติดตาม และเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่ออกอากาศ
       
       ขณะที่ความคืบหน้าในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อกำกับดูแลการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งบอร์ด กสท จะนำเข้าพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไป (30 เม.ย.) และหลังจากการประชุมในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน กสทช.นำโดยสุภิญญา และคณะจะเข้าไปหารือถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานกับผู้บริหารบริษัทไทยคมต่อไป
       
       อนึ่ง ภายหลังที่ กสทช.เข้าหารือกับปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาโฆษณาอาหาร และยาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งการหารือได้ข้อสรุปในการทำงานร่วมกัน ดังนี้ 1. จัดทำข้อมูล ฐานข้อมูล ที่เกี่ยวข้องต่อการใช้งานช่องสัญญาณของดาวเทียมไทยคม โดยมีการขอความร่วมมือไปยังบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในการรวบรวมข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้จดทะเบียนเช่าช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียม เพื่อแจ้งให้ อย.รับทราบ และเป็นความร่วมมือในการควบคุมดูแลผู้เผยแพร่รายการหรือโฆษณาไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมาย และขยายผลเชื่อมโยงไปยังเจ้าของผลิตภัณฑ์ เจ้าของโฆษณา บริษัทห้างร้านหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
       
       2. กระทรวงฯ เมื่อได้รับทราบปัญหาในการโฆษณาฯ ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมที่ผิดกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงฯ จะได้มีหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปยังบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) โดยมอบหมายสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติเป็นผู้ประสานงานต่อไป 3. มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายในโทรทัศน์ดาวเทียม 4. เห็นควรให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เข้าร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันในภาพรวมต่อไป เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง เป็นต้น
       
       5. การใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อมีการจับกุมผู้กระทำความผิดในกรณีจำหน่าย หรือโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดมาตรการทางสังคมลงโทษผู้กระทำความผิด เพื่อให้สังคมเกิดความรู้เท่าทัน ให้ผู้กำลังกระทำหรือคิดจะกระทำความผิดเกรงกลัวและลดจำนวนการกระทำความผิดลง 6. การผลิตสื่อสร้างสรรค์ประชาสัมพันธ์ การสร้างความตระหนัก การให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้วิจารณญาณในการอุปโภค บริโภค อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ลดโอกาสการหลงเชื่อโฆษณาที่หลอกลวง ผิดกฎหมาย
       
       7. การลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้มีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายในโทรทัศน์ดาวเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำหรับกระทรวงไอซีที และ กสทช.มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกันอยู่แล้ว
       
       Company Relate Link :
       กสทช.
       ไอซีที
       ไทยคม

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)