Author Topic: ทีโอที เล็ง VNO เพิ่มช่องทางขายบริการ  (Read 937 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ทีโอทีเล็งหาพันธมิตรในรูปแบบ VNO ขายบริการทีโอทีครบวงจรทั้งโทร.พื้นฐาน โทร.ต่างประเทศ บรอดแบนด์ รวมทั้งโทร.มือถือ ‘พันธ์เทพ’ เปรยมีโอเปอเรเตอร์ต่างชาติสนใจมาก
       
       นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่าทีโอทีกำลังวางแผนหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าและบริการของทีโอทีทั้งหมดในรูปแบบที่เรียกว่า VNO หรือ Virtual Network Operator ซึ่งเป็นการพัฒนาจากรูปแบบ MVNO หรือ Mobile Virtual Network Operator ที่ทำธุรกิจเฉพาะบริการโทรศัพท์มือถือ 3G เท่านั้น
       
       ‘ทำไมถึงต้องเป็นแค่ MVNO ขายเฉพาะ 3G ในเมื่อทีโอทียังมีบริการอีกหลายอย่าง คอนเซ็ปต์ VNO นี้จะให้เอกชนมาช่วยขายบริการทั้งหมดของทีโอที ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือ แต่รวมถึงโทรศัพท์พื้นฐานที่นับวันรายได้จะลดลง บริการบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ทุกรูปแบบบริการที่จะสามารถบันเดิลจัดเป็นแพคเกจ เพื่อสร้างรายได้ให้ทีโอทีให้มากที่สุด’
       
       ทั้งนี้แนวทาง VNO นั้นทีโอทีสามารถดำเนินการได้ทันทีไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากกสทช. เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องคลื่นความถี่ เหมือนการเป็น MVNO ของบริการโทรศัพท์มือถือ 3G ที่เอกชนจำเป็นต้องขอไลเซ่นส์จากกสทช.ก่อน ถึงจะสามารถมาเจรจาขอเป็น MVNO กับบริการ 3G ทีโอทีได้ โดยแนวทางการคัดเลือกเอกชนเพื่อมาเป็น VNO นั้นอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอบอร์ดทีโอที พิจารณาในเร็ววันนี้
       
       ‘ผมเห็นว่าพันธมิตรแบบ VNO นี้มีความจำเป็นสำหรับทีโอที และต้องรีบทำภายใต้กรอบและเงื่อนไขที่ถูกต้องโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทีโอที ซึ่งตอนนี้มีโอเปอเรเตอร์ในภูมิภาคและในยุโรปหลายรายที่สนใจร่วมธุรกิจกับเรา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถวางเงื่อนไขที่ชัดเจนได้เมื่อใด’
       
       แนวทาง VNO เกิดขึ้นภายใต้แรงบีบคั้นจากมาตรา 84 (3) ของพ.ร.บ.กสทช.ที่กำหนดให้ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม ต้องส่งคืนรายได้จากสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริการที่เกี่ยวข้องกับความถี่ หลังจากที่พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้แล้ว 3 ปีหรือวันที่ 20 ธ.ค.2556 ซึ่งผลกระทบที่หนักที่สุดสำหรับทีโอที คือการสูญเสียรายได้จากคู่สัญญาสัมปทานมือถืออย่างเอไอเอส ที่เคยส่งรายได้ให้ทีโอทีถึง 1.9 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา
       
       เป้าหมายของประธานบอร์ดพันธ์เทพ ไม่ใช่แค่เพียงหาพันธมิตร VNO ทั้งต่างชาติหรือบริษัทไทย มาช่วยขายบริการทีโอที แต่เขายังวางแนวทางจัดตั้งบริษัทในเครือทีโอทีเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับทาวเวอร์โค หรือการใช้เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมร่วมกันระหว่างโอเปอเรเตอร์ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเพื่อสร้างประโยชน์จากทรัพย์สินโครงข่ายโทรคมนาคมจำนวนมหาศาล ที่ทีโอที รับโอนมาจากคู่สัญญาสัมปทาน
       
       ‘บริษัท ทาวเวอร์โคต้องเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนภายในไตรมาส 3 ปีนี้ เพื่อให้ทันกับการประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถัดไปจะเป็นบริษัททรานสมิชชั่นโค หรือบริษัทที่ทำระบบสื่อสัญญาณ’
       
       ประธานบอร์ดทีโอที หวังใช้บริษัททาวเวอร์โค หรือบริษัทหลานทีโอที ในการจัดประมูล 3G เฟสถัดไป เพื่อหลีกหนีจากปัญหาเดิมๆในการประมูล คือ การฟ้องร้อง การดำเนินการที่ส่อแววไม่โปร่งใส การล็อกสเปก และการปฎิบัติตามขั้นตอนรัฐวิสาหกิจที่อาจไม่คล่องตัวไม่ทันกับการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่แข่งกันดุเดือดและรุนแรง
       
       นอกจากนี้ทีโอทียังต้องการใช้ความถี่ 2.3GHz เพื่อพัฒนาต่อยอดให้บริการ 4G หรือ LTE ในแผนลงทุน 3G ที่คาดว่าจะต้องติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเติมอีก 15,000 - 18,000 สถานีฐาน โดยแผนขยายโครงข่าย 3G เฟส 2 นั้นกำลังถูกศึกษาโดยแผนกวิศวกรรมและคณะกรรมการของทีโอที ซึ่งควรต้องสรุปแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยเฉพาะจำนวนสถานีฐานและการลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีเพื่อเลือกลงทุนอย่างคุ้มค่าสูงสุดซึ่งทีโอทีเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยให้บริการ3G ครอบคลุมทั่วประเทศและลดต้นทุนของการลงทุนในระยะยาวได้
       
       “ทีโอทีมีทรัพย์สินมากมาย เราต้องทำประโยชน์ ทำให้เกิดรายได้ให้มากและเร็วที่สุด เพื่อทดแทนรายได้จากสัญญาสัมปทาน”
       
       Company Relate Link :
       TOT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)