Author Topic: เชื่อบรรยากาศการเมืองเหตุแบน “เชคสเปียร์ต้องตาย”  (Read 1448 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



<a href="https://www.youtube.com/watch?v=vd6JEk6Imco" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=vd6JEk6Imco</a>

เชื่อบรรยากาศการเมืองเหตุแบน “เชคสเปียร์ต้องตาย” เชื่อบรรยากาศการเมืองเหตุแบน “เชคสเปียร์ต้องตาย” เชื่อบรรยากาศการเมืองเหตุแบน “เชคสเปียร์ต้องตาย”


     โปรดิวเซอร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย” เชื่อบรรยากาศการเมืองส่งผลทำหนังถูกแบน ย้ำ ประเด็นสำคัญต้องการชี้ให้เห็นธาตุแท้มนุษย์ผู้โลภมาก บ้าอำนาจ และมีความมักใหญ่ใฝ่สูงที่ไร้ขอบเขต
       
          ถูกดาบจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ หรือ “กองเซ็นเซอร์” ฟันฉับสั่งห้ามฉายไปอีกหนึ่งเรื่องสำหรับภาพยนตร์ไทย “เชคสเปียร์ต้องตาย” (Shakespeare Must Die) ผลงานการกำกับของ “สมานรัชฎ์ 'อิ๋ง' กาญจนะวณิชย์ หรือ อิ๋ง เค (Ing K) เจ้าของรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัล “คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 7 ประจำปี 2552 จากสารคดีเรื่องยาว “พลเมืองจูหลิง”
       
          ทั้งนี้ ตามเอกสารบันทึกการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ได้ระบุถึงเหตุผลของการแบนภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ว่า...“คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 7(3) จึงมีมติไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 26 (7) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551”
       
          โดยหลังจากที่ทีมผู้สร้างได้นำผลการพิจารณาที่ว่ามาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ www.shakespearemustdie.com ในโลกออนไลน์ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ขึ้นมาทันทีโดยส่วนใหญ่ต่างมองว่าการแบนภาพยนตร์ได้รับทุนสร้างจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งเมื่อปี พ.ศ.2553 เรื่องนี้นั้นบรรยากาศทางด้านการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบันน่าจะมีส่วนสำคัญอยู่ไม่น้อย
       
          “ของเราเป็นหนังเรื่องสุดท้ายที่ถูกพิจารณาครับ ก็ตั้งแต่แรกก็มีการนำเสนอตัวบทอะไรต่างๆ ก็ผ่าน ตามขั้นตอน แต่จากตัวบทพอมันมาเป็นตัวหนังประกอบกับสถานการณ์การเมืองมันเปลี่ยนมันก็มีความกังวลเกิดขึ้นกับกรรมการที่ตรวจสอบซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ตอนส่งเข้าไปตรวจสอบก็มีการดูหนังถึง 3 รอบ หนังยาว 3 ชั่วโมงครับ ดูอย่างละเอียดจริงๆ แล้วก็มีการเรียกเข้าไปคุยทั้งสามรอบ ก็เห็นว่าเขาหนักใจ เห็นได้ชัดว่ามีความกลัวอยู่ ไม่รู้ว่ากลัวอะไร” มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้าง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เล่าถึงบรรยากาศในวันพิจารณาของกองเซ็นเซอร์
       
          “เชคสเปียร์ต้องตาย” สร้างขึ้นจากบทละคร “โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ” (The Tragedy of Macbeth) ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) กวีเอกของโลก ว่าด้วยเรื่องราวของขุนพลที่มักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไร้ขอบเขต และคลั่งไคล้ในไสยศาสตร์ ที่ถูกแม่มดทักว่าจะได้เป็นกษัตริย์ในภายหน้า และโดยการยุยงของภรรยา เขาจึงสังหารพระราชาเพื่อสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แล้วขึ้นปกครองแผ่นดินด้วยความบ้าอำนาจจนทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในยุคมืดมนแห่งความหวาดกลัว ขณะที่ตัวของเขาเองก็หาได้มีความสุขแต่อย่างใดเพราะต้องใช้ความรุนแรงเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้นั่นเอง”
       
          “ส่วนหนึ่งก็คงจะเป็นเพราะบรรยากาศทางการเมืองมันมีผลกับคณะกรรมการที่เป็นกระทรวงเดียวกันที่สนับบสนุนหนังเรื่องนี้แล้วก็แบนเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามที่กำหนดมา อย่างบางส่วนบางตอนที่มีการติงว่าฉากปลงพระชนม์ตามบทละครเขากลัวจะเป็นปัญหา...ตอนนั้นเราก็ยินดีเราก็ไม่มีรายละเอียดมีฉากที่เป็นการลงมืออะไรต่างๆ มีแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตัวละครก็วิ่งออกมาเล่าให้ฟัง ซึ่งตรงนี้ก็ผ่านไปแล้ว มีการดูเรียร้อยแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร”

       มีฉากไหนหรือว่าประเด็นอะไรที่คณะกรรมการบอกว่ามันเป็นปัญหาจนต้องแบน? หรือว่ามันเป็นเนื้อเรื่องรวมๆ ทั้งหมด?...“มีบางส่วนที่เขาสงสัยเราก็อธิบายไป แต่สุดท้ายบอกว่าให้เราเอาไปปรับปรุง เราก็ถามว่าปรับปรุงอะไรทางนั้นบอกไม่ทราบ ต้องกลับไปปรับปรุง”
       
          “อย่างในหนังมันมีฉากซึ่งมีการนำเอาภาพเหตุการณ์สมัย 6 ตุลามาใช้ เป็นฉากที่ผู้สร้างละครล้อเลียนผู้นำ ภาพที่มีคนถูกตีด้วยเก้าอี้ซึ่งเป็นภาพข่าวของสำนักข่าวเอพี เขาก็ห้ามใช้ ทั้งๆ ที่มันไม่มีกฏหมายที่ห้ามใช้ภาพถ่ายนี้ แล้วภาพยนตร์ทำผิดกฎหมายตรงไหน ก็เอามาจากคลิปข่าว”
       
          “แล้วการถ่ายทำก็ไม่ได้เน้นความรุนแรงของการฟาดการตีอะไร แต่เรามุ่งไปที่อารมณ์ความรู้สึกของไทยมุงที่ยืนดูการฆ่าครั้งนี้ได้อย่างเหมือนกับเป็นมหกรรมความสนุกสนาน ความขัดแย้งเคยนำมาสู่ความรุนแรงมาแล้ว ไม่ว่าจะฟากฝั่งการเมืองฝั่งไหน ประชาชนนั่นแหละที่ตกเป็นเหยื่อที่ถูกเสี้ยมให้มาฆ่ากันเอง เราอยากจะสะท้อนให้คนกลับมานั่งคิดตรงนี้”
       
          มานิต ย้ำว่า โดยเนื้อหาหลักของหนังนั้นเป็นเรื่องอารมณ์ของมนุษย์ มุ่งให้มนุษย์ได้หันมาตรวจสอบพิจารณาอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง บอกเล่าให้เห็นถึงความ รัก โลภ โกรธ หลง ที่มีอยู่ในตัวของคนส่วนใหญ่ ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าในประเทศไทยเราไม่สามารถพูดถึงเรื่องศีลธรรม ความโลภ ความบ้าอำนาจ ความมักใหญ่ใฝ่สูงอันไร้ขอบเขตกันได้อีกแล้วหรือ
       
          “เขากลัวว่าหนังเรื่องนี้เป็นปัญหา กระทบกระเทือนการปรองดอง หนังมันมีพลังขนาดนั้นเลยหรือ ถ้าเพื่อที่จะวิจารณ์ทำแบบอาจารย์ธีรยุทธพูดทีเดียวสะเทือนกันไปแบบนั้นไม่ดีกว่าหรือ ที่สำคัญหนังเรื่องนี้เน้นการตรวจสอบวิเคราะห์ตัวเอง ถ้าใครติดตามงานเช็คสเปียร์งานเขาจะเน้นที่ตัวตนของมนุษย์ที่มันมี รัก โลภ โกรธ หลง ไม่ว่าคนนั้นจะมีความเชื่อทางการเมืองไปทางไหนท้ายที่สุดก็ลงท้ายด้วยเรื่องนี้ เพราะมันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ ถ้าเราไม่ควบคุมมันก็อาจจะลุกลามไปสู่โศกนาฏกรรมเหมือนแม็คเบ็ธ ที่มีแต่ความมักใหญ่ใฝ่สูง”
       
          “แต่ถ้าโยงประเด็นนี้ไปถึงเรื่องของการเมืองจริงๆ แล้วเราพูดไม่ได้หรือครับ กับสิ่งที่เกิดขึ้นมันพูดไม่ได้หรือครับ ในสื่ออื่นๆ ได้ แต่หนังไม่ได้ ต้องเปลี่ยน ไม่วิจารณ์ ทั้งที่หนังไม่ได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนชนชั้นหรือว่าล้มศักดินาอะไรขนาดนั้น แต่เป็นการชำแหละความรู้สึกภายใน พูดถึงคนที่ลุแก่อำนาจซึ่งเป็นพื้นฐานในตัวทุกคนถ้าแต่ละคนไม่ระมัดระวัง แล้วถ้ามองว่าแบบนี้ไม่ได้ ต้องตัด ก็หมายความว่าเราไม่ต้องมาสำรวจตนเอง ง่ายมากแบบนี้เลย แค่รู้สึกว่าเรื่องนี้หมิ่นทักษิณ ห้าม เราคิดแค่นั้นก็จบ แบบนี้ใครกันที่ไม่ก้าวพ้นเสียที”
       
          ปีที่แล้วละครเรื่องแม็คเบ็ธเคยจัดแสดงโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายครั้ง ทั้งนักทำหนังอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร...“ผมอาจจะเข้าใจว่าคนที่มีหน้าที่เขาคงไม่เคยดู ก็เลยไม่มีปัญหา ถ้าดูก็อาจจะห้ามก็ได้”
       
          ท้ายสุดผู้อำนวยการสร้าง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เผยว่า ตนจะยื่นเรื่องอุทรณ์เรื่องนี้ในวันที่ 17 เมษายนเพื่อจะขอเสียงคัดค้านในประเด็นข้อที่มีการอนุญาตให้คณะกรรมการแบนหนังได้ทั้งๆ ที่กฏหมายจัดเรตติงนั้นก็ออกมาแล้ว
       
          “ผมว่า หนังเป็นอาชีพเดียวที่ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยที่สุดแล้ว อย่าลืมทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมากกว่าเยอะ อย่างวิทยุชุมชนอัดกันเต็มที่ สีไหนค่ายไหนก็ซัดกันเต็มที่ แต่หนังเผยธาตุแท้ของมนุษย์ทั่วๆ กลับโดนแบน...ประเด็นคือผมกำลังพูดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มที่อ้างมาตลอดเกี่ยวกับประชาธิปไตย แล้วแบบนี้มันประชาธิปไตยตรงไหน”

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)