Author Topic: กสทช. จ่อหั่น ค่าย้ายค่ายเบอร์เดิม เหลือ 70 บาท  (Read 1093 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       กสทช. นัดถกค่ายมือถือ 20 มี.ค.นี้ หวังหั่นค่าบริการคงสิทธิเลขหมายจากเดิม 99 บาทเหลือ 70-75 บาท หากแจงต้นทุนได้เหมาะสม พร้อมหารือเรื่องจดทะเบียนระบบพรีเพดและการกำหนดเวลา 60 วันในการตัดเงินระบบพรีเพด
       
       น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้ส่งหนังสือแจ้งมายังกสทช.ว่าสามารถลดค่าบริการคงสิทธิเลขหมาย เหลือเพียง 70-75 บาทจากอัตราเดิม 99 บาท แต่ไม่สามารถลดลงเหลือ 65 บาทตามที่กสทช.ต้องการ โดยกสทช.จะเรียกผู้ให้บริการทุกรายเข้าหารือในวันที่ 20 มี.ค.ที่จะถึงนี้ ว่าจะสรุปค่าบริการในอัตราใด
       
       'ในการหารือจะมีอีก 2 เรื่องที่ต้องหาข้อสรุป คือ การจดทะเบียนผู้ใช้บริการระบบเติมเงินหรือพรีเพด และการกำหนดระยะเวลาในการตัดเงินพรีเพด ที่เดิมสรุปไว้ที่ 60 วัน'
       
       สำหรับค่าบริการ 99 บาทนั้นเป็นการกำหนดโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเห็นชอบร่วมกัน ไม่ได้ถูกกำหนดโดยกสทช. แต่จากข้อมูลของเทเลคอร์เดีย ผู้ทำหน้าที่รวบรวมจำนวนผู้ขอย้ายค่าย หรือ เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ระบุว่า ต้นทุนที่แท้จริงไม่ควรเกิน 65 บาท แต่หากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยืนยันว่าไม่สามารถลดค่าบริการเหลือ 65 บาทได้ ก็จะต้องแจกแจงต้นทุนให้ชัดเจน
       
       น.พ.ประวิทย์กล่าวว่า กสทช.ยังต้องการให้ขยายการให้บริการคงสิทธิเลขหมายให้ได้วันละ 4 หมื่นรายจากปัจจุบันที่ย้ายค่ายได้ไม่ถึง 1 หมื่นรายต่อวัน รวมทั้งกำชับเรื่องระยะเวลาในการย้ายค่าย จากที่กสทช.กำหนดไว้ไม่เกิน 3 วันทำการ แต่ปรากฏว่าในทางปฎิบัติจริงใช้เวลานานถึง 15 วัน รวมทั้งต้องการให้ขยายบริการให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศจากตอนนี้ให้บริการได้ใน 20 จังหวัด
       
       ส่วนการกำหนดระยะเวลาการตัดเงินพรีเพดที่ 60 วัน คือ เวลาที่เป็นไปได้ที่กสทช.และผู้ให้บริการยอมรับได้ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับองค์กรผู้บริโภค ที่ต้องการให้ไม่มีวันหมดอายุ แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ โดยจะกำหนดด้วยว่า หากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือไม่ปฏิบัติตามจะต้องเสียค่าปรับวันละเท่าไร เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้บริการ เพราะปัจจุบันการที่ผู้ให้บริการไม่ยอมคืนเงินนั้น ส่งผลให้มีเงินค้างอยู่ในระบบมากกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี
       
       นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค กล่าวว่า ดีแทคยังไม่ได้สรุปค่าบริการคงสิทธิเลขหมายขั้นสุดท้ายว่าจะเหลือเท่าไร เพราะต้องรอหารือกับ กสทช.และผู้ให้บริการรายอื่นร่วมกันอีกครั้งก่อน

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)