Author Topic: 'เศรษฐพงค์' ชี้ราคาตั้งต้น 2.1GHz 7 พัน-1 หมื่นล้าน  (Read 1333 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม

เปิดแนวคิด กสทช. 'เศรษฐพงค์' ราคาตั้งต้นประมูลไลเซ่นส์ 3G ความถี่ 2.1 GHz อยู่ระหว่าง 7 พัน-1 หมื่นล้านบาท และอาจไม่จำเป็นต้องใช้ N-1 ยันการประมูลครั้งนี้เป็นธรรม และไม่สร้างกฎเกณฑ์ที่เอื้อประโยชน์กับใครเด็ดขาด หากสำเร็จ เตรียมประมูลความถี่ 1800 MHz และ 2.3 GHz แต่หากล้มเหลวเพราะถูกมือมืดขวาง ทุกอย่างคงต้องกลับสภาพเดิม
       
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงการประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz ว่าในความเห็นส่วนตัวราคาตั้งต้นการประมูล (reserved price) น่าจะอยู่ระหว่าง 7 พันถึง 1 หมื่นล้านบาท ส่วนเรื่องหลักการ N-1 หรือ N (ผู้เข้าประมูลจะได้ไลเซ่นส์ครบทุกคน) ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่าจำเป็นต้องเป็น N-1 เสมอไปหรือไม่
       
       'เข้าใจว่ามีโอเปอเรเตอร์บางรายเป็นกังวลเรื่องราคาตั้งต้นแพงเกินไป และเงื่อนไข N-1 ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าในเมื่อเรามีผู้เล่นในอุตสาหกรรมเท่าที่เห็น เรื่อง N-1 อาจไม่มีความจำเป็นก็ได้'
       
       ในส่วนของราคาตั้งต้นประมูล ก็ต้องเป็นราคาที่เหมาะสม และสมเหตุสมผล รัฐไม่ถูกเอาเปรียบ แต่ก็ไม่ควรเป็นราคาที่แพงเกินไป เพราะควรที่จะเอาความถี่ออกมาให้บริการสาธารณะให้มากและเร็วที่สุด เนื่องจากบริการโทรคมนาคมถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่จะไปสร้างแต้มต่อและความเจริญให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศ
       
       'ถ้าตั้งราคาแพงได้สัก 2 หรือ 3 หมื่นล้าน อาจจะได้เฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แต่ถ้าเราตั้งราคาที่เหมาะสม และทำให้เกิดการประมูลจนได้ใบอนุญาตและนำความถี่ออกมาให้บริการสาธารณะมากๆ ประโยชน์ที่จะตกกับอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศอาจเป็นแสนล้านบาทด้วยซ้ำ'
       
       นอกจากนี้เหตุผลที่ราคาตั้งต้นประมูลไม่ควรแพงหรือสูงเท่าครั้งที่แล้วที่ 12,800 ล้านบาท เพราะเทคโนโลยีถูกลง และสามารถบริหารจัดการความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายที่โอเปอเรเตอร์ต้องไขว่คว้า เพราะพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ความถี่ 2.1 GHz ในปัจจุบันสุดทางที่ HSPA+ แต่ในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีจะวิ่งไปที่ LTE Advanced นอกจากนี้กสทช.ยังมีแผนที่จะเปิดประมูลความถี่ 1800 MHz และความถี่ 2.3 GHz ในอนาคตอีกด้วย
       
       ดังนั้นความถี่จะไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป แต่สิ่งสำคัญกว่าคือจำนวนช่วงกว้างความถี่หรือแบนด์วิธ ที่ใครมีจำนวนแบนด์วิธมากกว่ากัน ก็จะสร้างประโยชน์ได้มากกว่า เพราะในช่วง 5 ปีข้างหน้า ปริมาณทราฟิกดาต้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่า หากไม่มีโครงข่ายและปริมาณความถี่เพียงพอให้บริการ ก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย
       
       พ.อ.เศรษฐพงค์ย้ำว่าอยากให้โอเปอเรเตอร์ทั้งหลายมั่นใจได้ว่า หน้าที่ของกสทช. คือจะต้องทำให้เกิดการประมูลใบอนุญาต 3G ให้ได้ และต้องเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกราย ไม่มีการเอื้อประโยชน์ หรือ สร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เข้าข้างรายใดรายหนึ่ง อย่างกรณีเรื่องต่างด้าว ก็กำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะประเด็นที่ขัดต่อพันธะระหว่างประเทศ ก็ต้องเอาออกให้หมด
       
       หากการประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz ที่กำหนดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555 ประสบความสำเร็จ ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ก็จะสามารถประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการไว้ก่อนสัญญาร่วมการงานระหว่างทรูมูฟ และดีพีซี กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จะหมดอายุลง เพื่อให้เอกชนสามารถมองภาพรวมของการบริหารจัดการความถี่ และวางแผนการทำธุรกิจได้ล่วงหน้า
       
       'ถ้าการประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz ไม่ประสบความสำเร็จหรือถูกคนไม่หวังดี ไม่อยากเห็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหรือความเจริญของประเทศมาขวางไว้ ทุกอย่างก็คงหยุดหมด กลับไปที่เดิม เอกชนก็คงต้องไปเกาะทีโอที หรือ กสท และกสทช.คงไม่สามารถประมูลความถี่ 1800 MHz หรือ 2.3 GHz ต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นการทำร้ายประเทศมาก'
       
       ส่วนเรื่องการตรวจสอบสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มทรูกับกสทนั้นได้ตั้งคณะอนุกรรมการที่มีนายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ เป็นประธาน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับกสท ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนความถี่ 850 MHz ตามพรบ.กสทช.2553 และกฎหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาทำงาน 45 วัน
       
       'ในความเห็นผม ถ้าผิดก็ไปทำให้ถูก หรือ เสียค่าปรับให้รัฐตามที่สมควร ความผิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ใช่ความผิดทางอาญาเหมือนฆ่าคนตาย ไม่ต้องถึงขนาดไปจมเรือใคร เชื่อผมเถอะกระโดดเข้ามาประมูล 2.1 GHz ดีที่สุด'
       
       Company Related Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics