Author Topic: “เมฆสึนามิ” โผล่หนองบัวลำภู ช่างภาพสมัครเล่นบันทึกไว้ได้ 2 ครั้ง  (Read 4088 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ปรากฏการณ์หาดูยาก "เมฆสึนามิ"ที่ช่างภาพมือสมัครเล่นชาวหนองบัวลำภูสามารถบันทึกไว้ได้


หนองบัวลำภู - ช่างภาพมือสมัครเล่นเมืองหนองบัวลำภู สามารถบันทึกภาพปรากฏการณ์ “เมฆสึนามิ” ที่โผล่ขึ้นในจังหวัดหนองบวัลำภู ไว้ได้ถึง 2 ครั้ง เผยเป็นภาพที่หาดูยากมาก
       
       จากกรณีที่เกิดปรากฏการณ์ “เมฆสึนามิ” ได้แผ่เข้าปกคลุมเมืองปานามาซิตี้ ชายฝั่งทะเลรัฐฟลอริด้า ตามที่สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น สหรัฐอเมริกา ได้รายงานข่าวปรากฏการณ์ดังกล่าวไปแล้วนั้น
       
       ล่าสุด ที่ประเทศไทยก็ได้มีผู้บันทึกภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เช่นกัน ซึ่งนับว่าหาดูได้ยากมาก โดยผู้ที่บันทึกปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ คือ นายวิโรจน์ คงพุฒิคุณ อายุ 48 ปี ช่างภาพสมัครเล่น บ้านอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู และได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองสามารถบันทึกภาพดังกล่าวไว้ได้ถึง 2 ครั้งด้วยกัน ด้วยกล้องถ่ายรูปขนาดพกพา ที่มักจะพกติดตัวไว้ตลอดเวลาเดินทางไปไหนมาไหน
       
       นายวิโรจน์ ได้เล่าว่า ครั้งแรกบันทึกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 เวลาประมาณ 07.45 น.ขณะเดินทางจะไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน จ.อุดรธานี และระหว่างขับรถมาถึงบริเวณบ้านภูพานทอง ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ก็มองเห็นกลุ่มเมฆหมอกหนาทึบกำลังเคลื่อนตัวผ่านภูโหล่น ที่ตั้งสถานีทวนสัญญาณช่อง 3 บนเทือกเขาภูพาน
       
       จึงจอดรถลงบันทึกภาพ เนื่องจากไม่เคยเห็นกลุ่มเมฆในลักษณะนี้มาก่อนและไม่ได้ว่าเป็นปรากฏการณ์พิเศษอะไร
       
       ส่วนครั้งที่ 2 ก็มีโอกาสได้บันทึกภาพปรากฏการณ์นี้อีกครั้ง เมื่อเวลาประมาณ 08.00 น.ของวันที่ 25 มกราคม 2555 หลังจากกลับจากไปส่งลูกที่โรงเรียนและได้ขับรถผ่านถนนภายในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ระหว่างทางกลับบ้านก็มองผ่านหนองน้ำด้านหลังโรงเรียน ไปทางภูเขาและตัวตึกโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ที่ด้านหลังจะเป็นเทือกเขาภูพานก็เห็นเมฆหนาทึบลอยข้ามภูเขาและมีลักษณะเหมือนคราวที่แล้ว แต่ชัดเจนกว่าจึงใช้กล้องตัวเดิมบันทึกภาพไว้อีก
       
       นายวิโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากบันทึกภาพเสร็จได้นำไปโพสต์ให้สมาชิกชมรมถ่ายภาพดูและตั้งชื่อภาพแรกว่า “เมฆข้ามเขา” และภาพที่สองว่า “หมอกข้ามเขา” เพราะมีลักษณะการเกิดเหมือนก้อนเมฆขนาดใหญ่และเป็นเหมือนม่านหมอกขนาดใหญ่แผ่เข้ามาปกคลุมภูเขา แต่ว่าเหนือภูเขาก็ยังมีแสงแดดสาดส่องลงมาได้ ทำให้มองแล้วเป็นเหมือนสิ่งแปลกประหลาด
       
       ซึ่งเพื่อนในชมรมถ่ายภาพก็ไม่เคยเห็นและไม่ได้คิดอะไรมาก จนได้ไปเห็นข่าวในเว็บไซต์ต่างประเทศของอเมริกา ซึ่งก็มีปรากฏการณ์เช่นเดียวกัน จึงรู้ว่ามีลักษณะคล้ายกับคลื่นสึนามิดังกล่าว ซึ่งตนคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์ที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง ก็เลยบันทึกภาพเอาไว้

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)