Author Topic: คาดสัญญาเช่า FTTX กสท. ส่อ 'โมฆียะ'  (Read 1158 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      งามไส้ สัญญาเช่า FTTX และอุปกรณ์กว่า 10 สัญญามูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ส่อโมฆียะ หลังกรรมการตรวจสอบพบ 5 ประเด็นต้องสงสัย เช่น ไม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาดำเนินการ ไม่มีทีโออาร์ตอนแรก ไม่ระบุความต้องการที่ชัดเจนแค่บอกใช้เทคโนโลยี FTTX และไม่มีการประมูลคัดเลือก
       
       แหล่งข่าวจากบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าบอร์ดได้ตั้งกรรมการสอบสวนกรณีนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เซ็นสัญญาเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTX กว่า 10 สัญญา รวมมูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งผลการสอบสวนเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าสัญญาที่เซ็นไปให้ถือเป็นโมฆียะ เนื่องจากพบความไม่ถูกต้องอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ 1.ไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการโครงการ
       
       2.ไม่มีการเขียนข้อกำหนดหรือทีโออาร์แต่อย่างใด แต่เมื่อเรื่องกำลังจะแดงขึ้นก็มีการเขียนทีโออาร์ตามหลัง 3. ไม่มีการกำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจง เลือกแต่จะบอกว่าใช้เทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วหรือ FTTX เท่านั้น 4.ไม่มีตัวแทนจากผู้บริหารฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องรับรู้หรือร่วมเป็นตัวแทนพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกม. ฝ่ายการเงิน หรือ ฝ่ายวิศวกร และ 5.บางสัญญาเข้าข่ายต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมการงานปี 2535 แต่กลับไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด และที่สำคัญไม่ได้มีการประกวดราคาคัดเลือกผู้เข้ามาดำเนินการ
       
       'เรียกได้ว่าในส่วนของกสท มีคนรู้เห็นน้อยมาก แค่นายจิรายุทธ กจญ.ที่เป็นคนเซ็นสัญญา กับนายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกจญ.ที่เซ็นในฐานะพยานเท่านั้น ทำให้กรรมการตรวจสอบเห็นว่า สัญญาทั้งหมด ไม่มีการรับรู้ในกสทเลย เท่ากับต้องโมฆียะไปตามระเบียบ'
       
       หลังจากนั้นกรรมการตรวจสอบจะนำผลเข้าที่ประชุมบอร์ดกสท เพื่อพิจารณาแต่ละสัญญาว่าอันไหนถูกต้อง สามารถให้สัตยาบรรณเพื่อให้สัญญามีผลผูกพัน หรือ สัญญาไหนต้องเป็นโมฆะ เลิกแล้วต่อกันและอาจต้องตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องต่อไป
       
       โครงการเช่า FTTX พร้อมอุปกรณ์ ถูกแฉโดยสหภาพฯกสท ที่ร้องเรียนไปยังน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีถึงความไม่ชอบมาพากล เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวซ้ำซ้อนกับโครงการ FTTX ของกสทเอง และไม่รู้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียกับกสทแต่อนย่างใด รวมทั้งขาดรายละเอียดของโครงการ มีเพียงแค่บอร์ดกสท ได้อนุมัติหลักการให้กสทเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTX ในพื้นที่ 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2554 โดยให้นำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ และนครราชสีมา
       
       แต่ปรากฏว่าในความเป็นจริงกสท ได้มีการลงนามในสัญญาเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ FTTX จำนวน 9 สัญญาและข้อมูลเบื้องต้น 3 สัญญาในพื้นที่ให้บริการ 11 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าการเช่ารวม 4,690.40 ล้านบาท อาทิ ในพื้นที่ชลบุรี กสทลงนามในสัญญากับคอนซอเตียมเอ็มเอสที เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2553 ระยะเวลา 36 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 18.44 ล้านบาท ,ระยองลงนามกับเอ.แอล.ที.อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2554 เวลา 36 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 14.44 ล้านบาท
       
       นครราชสีมา ลงนามกับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 8.2 ล้านบาท เชียงใหม่กับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท ขอนแก่นกับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท
       
       สำหรับที่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา กสทลงนามกับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือนค่าเช่าที่ภูเก็ตเดือนละ 6.9 ล้านบาท ส่วนสุราษฎ์ธานี และสงขลา ค่าเช่าเดือนละ 4.6 ล้านบาท
       
       ที่น่าตั้งข้อสังเกตุคือการลงนามสัญญานั้นไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดกสท โดยอ้างว่าจากบอร์ดได้อนุมัติในหลักการแล้ว ฉะนั้นการดำเนินการจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร แต่การลงนามในสัญญาเป็นไปด้วยความเร่งรีบ เพราะระยะเวลาเพียง 1 เดือน ได้มีการลงนามในสัญญาถึง 6 ฉบับ อีกทั้งในสัญญา 6 ฉบับนั้น มีเอกชน 1 ราย ที่เป็นคู่สัญญากับกสท 4 สัญญา
       
       นอกจากนี้สตง.ยังทำส่งหนังสือสอบถามไปถึงกสท เป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2555 เรื่อง ขอให้ทบทวนตรวจสอบการดำเนินการเช่าใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ประกอบ ตามโครงการ Fiber To The Home (FTTH) โดยระบุว่าได้รับเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการทำสัญญาใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ มีการดำเนินการตามสัญญาแล้วกว่า 10 สัญญา ซึ่งมีวงเงินตามสัญญาทั้งหมดเป็นวงเงินมากกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นการจัดทำสัญญาที่ไม่มีการเปิดประมูลแต่ประการใด ( ใช้การตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น ) คาดว่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการและไม่ได้ผลตามเป้าหมายคุ้มค่า รวมทั้งมีการดำเนินการที่ขัดต่อ ระเบียบแบบแผนที่กสท กำหนด อันส่งผลทำให้รัฐต้องเสียหายจากการลงทุน ย่อมถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
       
       ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งสามารถอนุมัติการลงทุนได้ 20 ล้านบาทต่อสัญญาต่อเดือน หรือ 240ล้านบาทต่อสัญญาในหนึ่งปี และ สัญญาต่างๆนั้นมีการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และได้ผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้วทั้งๆที่ในทางปฏิบัติอยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารได้เลย
       
       Company Related Link :
       กสท

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics