Author Topic: กสทช. เตรียมรื้อ เกณฑ์บริการ คงสิทธิเลขหมาย  (Read 1561 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เรียกด่วนผู้ให้บริการมือทุกรายเข้าหารือวันที่ 8 ก.พ.นี้ ประเด็นการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หลังพบปัญหาเพียบ ทั้งจำกัดจำนวนเลขหมาย ระยะเวลานานเกินควร และค่าบริการที่สูงเกินไป ส่วนเรื่องระบบเติมเงิน ถกเรื่องจดทะเบียนซิมการ์ดกับวันหมดอายุ
       
       น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 8 ก.พ.นี้ กสทช.จะเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 รายเข้ามาหารือใน 2 เรื่องคือ บริการคงสิทธิเลขหมาย (MNP : Mobile Number Portability) และเรื่องระบบเติมเงินในประเด็นวันหมดอายุ กับการจดทะเบียนซิมการ์ด
       
       ทั้งนี้บอร์ดกสทช.คาดว่าในวันที่ 8 ก.พ.จะเน้นเรื่องการให้บริการคงสิทธิเลขหมายเนื่องจากมีผู้ร้องเรียนมาก และเป็นปัญหาที่น่าจะแก้ไขด้วยการเจรจากับผู้ประกอบการได้ไม่ยาก
       
       ในเบื้องต้นผู้บริโภคร้องเรียนว่าต้องใช้เวลาในการทำ MNP นานถึง 15 วัน ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วกสทช. กำหนดให้ใช้เวลาไม่เกิน3วันทำการเท่านั้น แต่ผู้ให้บริการอ้างว่าต้องจำกัดจำนวนเลขหมายที่จะโอนย้ายในแต่ละวัน โดยถ้าเป็นรายใหญ่จะจำกัดวันละประมาณ 2,000 เลขหมาย และรายเล็กประมาณ 500 เลขหมายเท่านั้น ส่งผลให้การทำ MNP คิวยาวผิดปกติ ทั้งที่เมื่อขอข้อมูลจากบริษัทเคลียร์ริงเฮ้าส์ พบว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งสามารถรองรับการโอนย้ายเลขหมายได้ถึง 40,000 เลขหมายต่อวัน
       
       ดังนั้นการจำกัดโควต้าจึงไม่ได้เกิดจากข้อจำกัดทางด้านอุปกรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นเงื่อนไขของค่ายมือถือแต่ละรายมากกว่า กสทช. จึงต้องเร่งเจรจาให้แต่ละรายขยายโควต้าในแต่ละวันมากขึ้น
       
       นอกจากนี้ยังมีกรณีค่าบริการ MNP โดยปัจจุบันอยู่ที่ 99 บาท ซึ่งจริงๆแล้วต้นทุนการให้บริการที่แท้จริงภายหลังผ่านมา 1 ปีอยู่เพียงประมาณ 60-65 บาทเท่านั้น ดังนั้นทาง กสทช. จึงจะเจรจาให้มีการลดค่าบริการลง อีกทั้้งผู้ให้บริการจะต้องขยายจุดให้บริการ MNP ให้ครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิของตัวเองได้ เนื่องจากมีผู้ให้บริการบางรายเปิดให้ทำ MNP เพียง 20 จังหวัดเท่านั้น
       
       'กสทช.ต้องเร่งดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการคงสิทธิเลขหมายให้ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อรองรับการย้ายระบบของผู้บริโภคจาก 2G ไป 3G เนื่องจากจะมีการประมูลใบอนุญาต3G กับผู้ให้บริการบางรายจะหมดอายุสัมปทานลง'
       
       สำหรับการเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมาย 1 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 5 ธ.ค. 53 - 6 ธ.ค. 54 มีจำนวนผู้ขอใช้สิทธิในการโอนย้ายถึง 3.1 แสนเลขหมาย แต่ดำเนินการสำเร็จเพียง 2.3 แสนเลขหมายเท่านั้น
       
       'หากคิดเป็นอัตราการโอนย้ายในประเทศไทยพบว่ามีการโอนย้ายไม่ถึง 1% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในโลก โดยมีปัจจัยในเรื่องปัญหาในการดำเนินการนั่นเอง'
       
       นอกจากนี้ยังมีเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช. ในเรื่องระยะเวลาในการโอนย้ายที่ผู้บริโภคต้องรอให้ใช้บริการครบ 90 วันก่อน ถึงจะโอนไปค่ายอื่นได้นั้น กสทช.มองว่าผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เอง จึงไม่จำเป็นต้องรอนานถึงขนาดนั้น โดยเบื้องต้นบอร์ด กทค. มีมติเป็นบรรทัดฐานว่า การที่ผู้ให้บริการปฏิเสธลูกค้าด้วยเหตุผลดังกล่าวถือเป็นการปฎิเสธที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นหากลูกค้าไม่พึงพอใจการให้บริการจะต้องสามารถแจ้งย้ายได้ทันที
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)