Author Topic: Google สกัดมัลแวร์ใน Android Market  (Read 2364 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Google สกัดมัลแวร์ใน Android Market
« on: February 06, 2012, 09:55:51 AM »

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai




Google เริ่มมาตรการตรวจสอบที่เข้มยิ่งขึ้นสำหรับแอพฯ ที่ให้บริการใน Android Market โดย Bouncer จะมีการสแกนแอพทั้งหมด ไม่ว่าเก่า หรือใหม่ ตลอดจนบัญชีผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาด้วย ซึ่งกระบวนการสแกน เพื่อตรวจสอบทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ และนักพัฒนาไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรเพิ่มเติมแต่อย่างใด กล่าวคือ เมื่อแอพของนักพัฒนาถูกอัพโหลดขึ้นไปใน Android Market บริการจะเริ่มวิเคราะห์ตรวจสอบแอพฯ ดังกล่าวกับมัลแวร์สปายแวร์ และโทรจันที่พบอยู่ในปัจจุบันทันที นอกจากนี้ ยังมีการตรวจจับพฤติกรรมของแอพที่สามารถระบุได้ว่า มันอาจจะมีฟังก์ชันการทำงานใดๆ ทีไม่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์แอพตัวอื่นๆ ก่อนหน้านี้ เพื่อตรวจจับ พร้อมทั้งปักธงแดง (red flag) แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ

กูเกิ้ลยังกล่าวอีกด้วยว่า ทางบริษัทจะทดลองรันแอพพลิเคชันบนโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ เพื่อดูการทำงานของมันกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ในการตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัย นอกจากนี้ บัญชีผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาจะถูกแบน หากพบว่า แอพฯ ของเขามีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม การปรับปรุงกระบวนการทำงานของ Android Market ให้มีความปลอดภัยมากขึ้นนั้นเป็นผลมาจากรายงานในปีที่แล้วที่ระบุว่า พบการเติบโตของมัลแวร์ใน Android Market สูงเกือบ 5 เท่าตัวในช่วงปลายปีที่แล้ว ล่าสุดกูเกิ้ลออกมาเปิดเผยว่า จำนวนมัลแวร์ลดลงไปครึ่งหนึ่งในช่วงที่บริษัทแอนตี้ไวรัสต่างๆ ออกมาเปิดเผยสถิติที่น่าตกใจนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว คู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ใช้ประเด็นดังกล่าวมาสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของตนเอง โดยยื่นข้อเสนอให้วินโดวส์โฟนฟรีกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์บนมือถือแอนดรอยด์

ที่มา Arip


Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

       กูเกิล (Google) เพิ่มบริการตรวจจับโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (malware) ใหม่ล่าสุดนามว่า 'Bouncer' ในร้านแอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) การทำงานหลักคือเน้นสแกนหาแอปพลิเคชันน่าสงสัยที่แฝงตัวอยู่ในร้านแอปฯ ของกูเกิล หวังลดประชากรมัลแวร์และเพิ่มความปลอดภัยให้กับสุดยอดระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาระดับโลก
       
       ฮิโรชิ ล็อคไฮเมอร์ (Hiroshi Lockheimer) รองประธานฝ่ายวิศกรแอนดรอยด์ ประกาศนโยบายลดประชากรมัลแวร์ในโลกแอนดรอยด์ด้วยการติดตั้งระบบ Bouncer บนบล็อกของบริษัท โดยบอกว่าระบบ Bouncer จะสามารถตรวจจับแอปฯ ซึ่งเข้าข่ายล่อลวงที่แฝงตัวอยู่ในร้านแอนดรอยด์มาร์เก็ตได้แบบอัตโนมัติ พร้อมยืนยันว่าระบบ Bouncer จะไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุมัติแอปฯ สำหรับนักพัฒนา และจะไม่กระทบต่อผู้ใช้งานแอนดรอยด์ทั่วโลก
       
       "หลักการทำงานคือ เมื่อแอปฯถูกอัปโหลดขึ้นสู่แอนดรอยด์มาร์เก็ต Bouncer จะเริ่มวิเคราะห์ว่าแอปฯ ดังกล่าวมีส่วนประกอบคล้ายกับมัลแวร์, สปายแวร์ และโทรจันในฐานข้อมูลหรือไม่ ระบบจะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของแอปฯ ว่าน่าสงสัยหรือไม่ โดยสามารถเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์แอปฯอื่นๆเพื่อหาความเป็นไปได้ในการเป็นมัลแวร์แอบแฝง" ตามเนื้อความในบล็อกกูเกิล
       
       ในบล็อกระบุว่าระบบ Bouncer สามารถวิเคราะห์ทั้งแอปฯ ใหม่ และแอปฯแอนดรอยด์ที่มีอยู่เดิมในร้านแอนดรอยด์มาร์เก็ต ขณะเดียวกันก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลนักพัฒนาได้ด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อป้องกันนักพัฒนามัลแวร์ปลอมตัวกลับมาสร้างมัลแวร์อีกครั้ง
       
       ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของกูเกิลเกิดขึ้นหลังจากเสียงวิจารณ์หนาหู ว่ากูเกิลหย่อนยานไม่ยอมตรวจสอบความปลอดภัยของแอปฯในร้านแอนดรอยด์มาร์เก็ต จนทำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ดาวน์โหลดจากบริการของกูเกิลตกเป็นเหยื่อมัลแวร์ โดยเฉพาะการโดนสอดแนมประวัติการใช้งานเครื่อง ล่าสุดคือไซแมนเทค (Symantec) ที่ออกแถลงการณ์เตือนผู้ใช้แอนดรอยด์ ให้ระวังบางแอปฯ บนแอนดรอยด์มาร์เก็ตที่มีมัลแวร์ฝังอยู่และอาจดูดข้อมูลเฉพาะของเครื่องที่ติดตั้ง เบื้องต้นพบว่ากว่า 13 แอปฯ บนมาร์เก็ตนั้นเข้าข่ายมัลแวร์ ซึ่งอาจมียอดดาวน์โหลดรวมกันประมาณ 1-5 ล้านครั้ง
       
       ที่ผ่านมา ปัญหามัลแวร์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกพูดถึงมานาน ก่อนหน้านี้ หน่วยรักษาความปลอดภัยของบริษัทจูนิเปอร์เน็ตเวิร์กส์ (Juniper Networks) เคยออกมาให้ข้อมูลเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ว่าจำนวนมัลแวร์ที่เน้นโจมตีอุปกรณ์แอนดรอยด์นั้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนถึง 472% ในช่วงเดือนส.ค.-ต.ค.ปี 2011
       
       เบื้องต้น กูเกิลระบุว่า Bouncer ซึ่งมีความหมายถึงคนเฝ้าประตูนั้นเริ่มต้นทำงานบนระบบคลาวด์ของกูเกิลมาระยะหนึ่งแล้ว จนทำให้ปริมาณการดาวน์โหลดแอปฯ ประสงค์ร้ายบนแอนดรอยด์มาร์เก็ตลดลงถึง 40% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2011 (เทียบกับครึ่งปีแรก) ทั้งหมดนี้สวนทางกับตัวเลขที่บริษัทจำหน่ายโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแอนดรอยด์ให้ไว้
       
       อีกจุดที่น่าสนใจคือแม้กูเกิลจะระบุว่า Bouncer สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานบนอินเทอร์เน็ตชี้ว่ามีแอปฯ ไม่น่าเชื่อถือชื่อ Siri for Android ปรากฏให้ดาวน์โหลดบนแอนดรอยด์มาร์เก็ต โดยระบุชื่อผู้สร้างเป็น Official App เพื่อจงใจทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดว่าเป็นแอปฯ อย่างเป็นทางการที่เชื่อถือได้ แต่แอปฯ ดังกล่าวเป็นเพียงการเปิดการทำงานคุณสมบัติเสียง Voice Actions ของแอนดรอยด์เท่านั้น ซึ่งการตั้งชื่อล่อลวงให้แอปฯเช่นนี้ทำให้มีผู้ใช้หลงกลดาวน์โหลดไปมากกว่า 1,000 ครั้ง
       
       อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวระบบ Bouncer ครั้งนี้สามารถแสดงถึงนโยบายไม่ละเลยต่อความปลอดภัยบนร้านแอนดรอยด์มาร์เก็ตที่ชัดเจน เท่ากับกูเกิลพยายามสร้างความมั่นใจให้ตลาดแอนดรอยด์ที่กำลังขยายตัวอย่างหยุดไม่อยู่ในขณะนี้ โดยซุมซุง (Samsung) คือผู้ผลิตแอนดรอยด์รายหลักของโลก (สัดส่วน 54% ของสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั้งตลาด) ซึ่งสามารถครองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนโลกได้ถึง 26% ในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา
       
       แอนดรอยด์มาร์เก็ต นั้นเป็นแหล่งดาวน์โหลดแอปฯ อย่างเป็นทางการของผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 190 ประเทศทั่วโลก สถิติล่าสุดที่กูเกิลเปิดเผยช่วงธ.ค.ปี 2011 คือแอปฯ ในมาร์เก็ตถูกดาวน์โหลดไปแล้วเกิน 10,000 ล้านครั้ง โดยกลุ่มแอปฯ ยอดนิยมคือเกมซึ่งมีสัดส่วนการดาวน์โหลดรวม 25.6%
       
       Company Related Link :
       Android

ที่มา: manager.co.th

 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
3482 Views
Last post June 23, 2010, 05:53:09 PM
by Nick
0 Replies
2368 Views
Last post January 12, 2011, 06:49:05 PM
by Nick
0 Replies
2511 Views
Last post February 03, 2011, 01:21:57 PM
by Nick
0 Replies
2308 Views
Last post April 01, 2011, 01:19:33 PM
by Nick
0 Replies
2503 Views
Last post May 11, 2011, 03:33:07 PM
by Nick
0 Replies
2080 Views
Last post June 01, 2011, 03:53:06 PM
by Nick
0 Replies
1681 Views
Last post December 08, 2011, 03:41:25 PM
by Nick
0 Replies
2018 Views
Last post March 08, 2012, 01:28:01 PM
by Nick
0 Replies
3263 Views
Last post March 11, 2012, 12:18:58 PM
by Nick
0 Replies
2420 Views
Last post June 02, 2014, 07:42:18 PM
by Nick