Author Topic: อนุดิษฐ์ ดัน นครนายก เป็น สมาร์ทซิตี้ นำร่อง  (Read 1155 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ภาพถ่ายดาวเทียมจังหวัดนครนายก

“อนุดิษฐ์” รมว.ไอซีทีแย้มเตรียมลงนามเอ็มโอยูตั้ง “นครนายก” เป็นโครงการนำร่อง สานฝัน “สมาร์ทซืตี้” แห่งแรก หลังพบปัจจัยหนุนครบทุกภาคส่วน ดึงงกสทช.หนุนงบประมาณ พร้อมนำคอนเซ็ปต์เก่าอดีตนายกฯ มาใช้บรรเทาทุกข์
       
       นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธุ์ที่จะถึงนี้ ทางกระทรวงไอซีทีจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างกระทรวงไอซีทีกับทางจังหวัดนครนายก เพื่อใช้เป็นโครงการทดลองสมาร์ท ซิตี้ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนสมาร์ทไทยแลนด์
       
       “จังหวัดนครนายกจะเป็นต้นแบบของจังหวัดในประเทศไทยที่จะดำเนินการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี กัฟเวิร์นเมนท์เต็มรูปแบบก่อนที่จะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ในปีต่อไป”
       
       น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครนายกแทนที่จะสานต่อโครงการไอซีที ซิตี้ของเดิมที่ได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น หรือภูเก็ตนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากนครนายกเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่เกินไป มีความพร้อมในระดับเน็กเวิร์กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ขาดแต่ก็ในส่วนของเครือข่ายเข้าถึงบ้านเรือนเท่านั้น ที่สำคัญเป็นจังหวัดที่มีอำเภอเพียง 4 อำเภอแต่มีภูมิประเทศที่หลากหลายมิติ มีทั้งภูเขา แม่น้ำ ทำให้สามารถทดลองปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบได้
       
       อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือกนครนายกก็คือ การที่นายสุรชัย ศรีสารคาม รองผู้ว่างราชการจังหวัด รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกมีความเข้าในในเรื่องนี้เป็นอย่างดี มีประสบการณ์เรื่องทะเบียนราษฎร์ตอนสมัยอยู่ที่ทะเบียนราษฎร์ รวมทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอีกัฟเวิร์นเมนท์สูงมาก ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จหรือวันสต็อปเซอร์วิสที่จะเห็นอย่างชัดเจนภายใต้โครงการนำร่องครั้งนี้
       
       “บริการที่จะเกิดขึ้นหลักๆ ภายในสมาร์ท ซิตี้ อาทิ การเชื่อมข้อมูลต่างๆ ลงในบัตรประชาชนอเนกประสงค์ หรือสมาร์ทการ์ด รวมไปถึงโครงข่ายการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น จริงๆ แล้ว การนำบริการที่มีอยู่ของภาครัฐกว่า 800 บริการมาดำเนินการนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย คงจะต้องเริ่มทำทดลองไปเรื่อยๆ โดยคาดว่า โครงการนี้น่าจะเห็นผลลัพธ์ก่อนที่นายสุรชัยเกษียญอายุราชการสิ้นเดือนกันยายนที่จะถึงนี้”
       
       งบประมาณในการผลักดันโครงการนี้เชื่อว่า ใช้ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งจะมาจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นงบประมาณในส่วนการสนับสนุน และประโยชน์ในมิติต่างๆ ขณะเดียวกันแม้ จ.นครนายก จะมีงบประมาณสนับสนุนด้านไอซีทีแต่เป็นจำนวนไม่มากนัก
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ไอซีทีเตรียมรื้อฟื้นแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับแนวคิด GEOINT ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดมาบูรณาการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในลักษณะศูนย์บัญชาการ และควบคุมความเดือดร้อน ซึ่งเชื่อว่าการเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเดียวจะช่วยให้สามารถบูรณาการข้อมูลและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยจะอาจจะมีเปลี่ยนชื่อจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมาเป็นศูนย์เตรียมความพร้อมแห่งชาติ โดยจะเป็นลักษณะของซิงเกิลคอมมานด์

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)