Author Topic: หนังเกาหลี ตีตื้น ยึดส่วนแบ่ง เกิน 50% ในประเทศ  (Read 1315 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      หลังจากมีสภาพทรง ๆ ตัวมาหลายปี แต่ล่าสุดมีข้อมูลที่ระบุว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ได้กลับมาสู่ขาขึ้นอีกครั้ง กับการกลับมาครองส่วนแบ่งการตลาดในประเทศได้เกิน 50% เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
       
       จากข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรม,กีฬา และการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยว่าเมื่อปี 2011 หนังเกาหลีใต้สามารถทำรายได้ในประเทศรวมกันแล้ว คิดเป็นส่งแบ่ง 51.9% ถือว่าน่าพึงพอใจมาก เป็นการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 46.5% เท่านั้น
       
       ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ถือว่าเป็นผลจากหนังทำเงินหลาย ๆ เรื่องในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสองหนังเด่น Sunny และ Arrow, The Ultimate Weapon ที่ทำเงินร่วมกันไปร่วม 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหากจะคิดเป็นค่าเงินเกาหลีเองก็ถือว่าแต่ละเรื่องทำรายได้ทะลุไปถึงหลัก 5 หมื่นล้านวอนกันเลยทีเดียว แม้ในเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมาจะมีหนังฟอร์มใหญ่จำนวนหนึ่งที่ทำเงินไม่เข้าเป้าก็ตาม
       
       ย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ที่วงการภาพยนตร์เกาหลีใต้เริ่มต้นเป็นที่รู้จักในวงการหนังระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นอุตสาหกรรมถือว่าเติบโตสู่ความรุ่งโรจน์อยู่หลายปี มีทั้งหนังรักโรแมนติกที่โด่งดังในตลาดต่างประเทศแถบเอเชีย, หนังตลกที่ทำเงินมหาศาลในประเทศ และยังมีผู้กำกับหลายรายที่สร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลในเทศกาลหนังระดับโลก
       
       อย่างไรก็ตามขาขึ้นของวงการหนังเกาหลีใต้กลับต้องมาสะดุดลงเมื่อปี 2006 หลังรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฎ "โควต้า" ที่บังคับให้โรงภาพยนตร์ต้องฉายหนังท้องถิ่นตามจำนวนรอบที่กำหนด จนหนังฮอลลีวูดเข้ามาตีตลาดและครองส่วนแบ่งมากกว่าในที่สุด ซึ่งมีผลต่อวงการหนังในประเทศโดยทันที ตั้งแต่จำนวนหนังที่เคยผลิตกันออกมาปีละร้อยกว่าเรื่อง ก็ลดลงเหลือเพียง 70 กว่าเรื่องเท่านั้น ยอดรายได้รวมระหว่างปี 2007 - 2010 ก็ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
       
       ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่านอกจากนโยบายการยกเลิกกฎเรื่องโควต้าแล้ว ความตกต่ำลงยังเป็นผลโดยตรงของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ, ความเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะเรื่องหนังระบบภาพ 3-D และประเด็นเรื่องแหล่งเงินทุน ซึ่งทั้งหมดมีผลที่ทำให้วงการหนังเกาหลีใต้เริ่มเดินเข้าสู่ช่วงขาลง แม้แต่ตัวเลขรายได้จากการส่งออกเองก็ลดลงมาตลอดตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา
       
       อย่างไรก็ตามแม้ในช่วง 2 - 3 ปีหลัง หนังแดนกิมจิจะเติบโตแบบไม่หวือหวา แต่ก็เรียกว่าเป็นการเติบโตอย่างมั่นคง คนทำหนังตัวจริงอย่าง คิมจีอุน (I Saw the Devil ) หรือ นาฮองจิน (The Chaser, The Yellow Sea) ยังคงฉายแววโดดเด่นได้ทั้งในเกาหลีใต้และต่างประเทศ ซึ่งยังเป็นผลให้ตัวเลขรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไปจัดจำหน่ายในต่างประเทศของเกาหลีใต้ในปี 2011 ก็เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 14% ด้วย

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)