ขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความเดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน
**การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น** จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้
*การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน** คือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้
**การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ** ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด
**การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ** ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน
**ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า** ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลักเข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที
สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว
หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด
ที่มา: manager.co.th