Author Topic: 'วงใน' วาดฝัน สู่ตลาดอีคอมเมิร์ช  (Read 954 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


'วงใน ดอท คอม' เว็บไซต์รวมข้อมูลร้านอาหารทั่วประเทศ หวังผลักดันเว็บไซต์ไทยเข้าสู่ยุคอีคอมเมิร์ช แต่วอนภาครัฐ-คนไทยต้องสนับสนุน ส่วนในมุมนักพัฒนาเมินทำแอปฯบน บีบี เหตุความนิยมเริ่มตก ล่าสุดเปิดตัวแอปฯ วงใน บน ไอแพด เพิ่มฐานลูกค้ายุคใหม่
       
       ยอด ชินสุภัคกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ wongnai.com ได้เรียนรู้ค่อนข้างมากเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ในประเทศไทย ซึ่งในมุมของคนจบวิศวะ อาจมองว่ารากฐานต้องแข็งแรง เดียวผู้บริโภคก็ใช้ แต่ในความจริงไม่เป็นเช่นนั้น
       
       "ปัญหาหลักที่พบหลักจากเปิดให้บริการ แอปฯ วงใน ทั้งในไอโฟน และแอนดรอยด์คือ ผู้ใช้จะไม่ค่อยคุ้นกับยูสเซอร์อินเตอร์เฟส ทำให้ต้องมีการปรับปรุงให้ใช้ง่าย และสะดวกในการใช้งาน อย่างล่าสุดที่เปิดทดลองให้ใช้บนไอแพดก็ได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดี"
       
       ปัจจุบันเว็บไซต์ วงใน มีผู้เข้าใช้งานประมาณ 150,000 คน โดยแบ่งเป็นผ่านแอปพลิเคชันประมาณ 40% และหน้าเว็บประมาณ 60% มีฐานข้อมูลร้านอาหาร 10,000 ร้านทั่วประเทศ ซึ่งสัดส่วนร้านอาหารกว่า 70% จะอยู่ในกรุงเทพฯ และวางแผนที่จะขยายไปใน 5 จังหวัดเพิ่มเติมในปีหน้าได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และ สงขลา ที่อำเภอ หาดใหญ่
       
       ขณะที่ แผนการในอนาคตจะเน้นไปที่การพัฒนาฐานของเว็บไซต์ให้หลากหลายขึ้น เปรยว่าอาจมีการนำอีคอมเมิร์ชเข้ามาใช้งาน แต่ยังอยู่ในช่วงการหารูปแบบก่อน แต่ในช่วงแรกจะเน้นการเพิ่มส่วนลดพิเศษให้แก่ลูกค้า เพื่อสู่กับเว็บไซต์โซเชียลคอมเมิร์ช ในกลุ่มขายดีลร้านอาหาร
       
       "ข้อกำหนดของเว็บไซต์ขายดีล คือต้องกำหนดช่วงเวลา จ่ายเงินก่อน แต่รูปแบบของ วงใน ที่วางไว้คือ เมื่ออยู่หน้าร้าน เปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา เลือกดูร้านอาหาร ถ้าร้านใดมีโปรโมชัน ก็สามารถเดินเข้าไปโชว์ข้อมูล เพื่อรับส่วนลดได้ทันที"
       
       อีกช่องทางหนึ่งที่ ยอด มองไว้คือ การที่วงใน มีคอนเทนต์ ดังนั้น ในอนาคตอาจจะทำเป็นนิตยสารแจกฟรี โดยการนำคอนเทนต์ รีวิว ร้านอาหารจากภายในเว็บไปใช้งาน นอกจากนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตกลงกับโอเปอเรเตอร์เพื่อให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนบนเครือข่ายนั้น
       
       ***อีคอมเมิร์ชไทยไม่เกิด ถ้าขาดการสนับสนุน
       
       ยอด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การที่ธุรกิจผ่านเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ของประเทศไทย ไม่ค่อยได้รับความนิยม เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลักๆคือ ภาครัฐ ไม่ค่อยให้การสนับสนุน การมอบทุนที่ให้ก็เหมือนจะล็อกรูปแบบการทำไว้ หรือ การลงทุนจากภาครัฐ ก็จะเป็นในรูปแบบโปรเจกต์ๆไป เมื่อครบกำหนดก็เลิกทำ ส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ไม่มีการอัปเดต
       
       ขณะที่คนไทยเองก็มองว่า เว็บไทย หรือ แอปฯไทย นั้นไม่น่าใช้งานเพราะเป็นของคนไทย ดีสู่จากต่างประเทศไม่ได้ ติดกับแบรนด์ ที่ต้องเป็นต่างประเทศ และไม่ค่อยมีความเป็นชาตินิยม โดยยกตัวอย่าง เช่นในประเทศจีน ที่รัฐบาลมีการบล็อกเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก แต่ก็สนับสนุนให้มีการพัฒนา เหริน เหริน และประชาชนจีนก็ใช้งานกัน
       
       ***เมินพัฒนาแอปฯบน บีบี
       
       ส่วนเหตุผลที่ ไม่สนใจการพัฒนาแอปพลิเคชันบน แบล็กเบอรี่นั้น ยอด มองว่า กลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นเทรนด์เซตเตอร์ ในช่วงอายุ 25 − 35 ปี นั้นเริ่มที่จะเปลี่ยนจากรูปแบบการใช้งานแบล็กเบอรี เป็นไอโฟน หรือ แอนดรอยด์โฟน กันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อกลุ่มเทรนด์เซตเตอร์เริ่มเปลี่ยน ในอนาคตผู้ตามก็จะเริ่มเปลี่ยนตาม
       
       "ช่วงปีที่ผ่าน จะเห็นได้ว่าแบล็กเบอรีได้รับความนิยมอยู่รอบๆตัว แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ไม่ไอโฟน ก็แอนดรอยด์กันหมดแล้ว แต่ในต่างจังหวัด บีบี กลับได้รับความนิยม ดังนั้นก็เชื่อว่าในอนาคตไอโฟน และแอนดรอยด์ก็จะได้รับความนิยมในต่างจังหวัดเช่นกัน"
       
       อีกจุดหนึ่งคือ ด้วยการที่แบล็กเบอรี มีเครื่องที่ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ ทั้งทัชสกรีน แทร็กแพด หรือปุ่มคีย์บอร์ด ส่งผลให้การพัฒนาแอปฯ ต้องเขียนใหม่อยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถทำออกมาเป็น แอปฯเดียว และใช้ได้ครบกับทุกขนาดหน้าจอ
       
       ทั้งนี้ รายได้ของ วงใน มีเดีย ในปัจจุบัน มีรายได้ทั้งจากการโฆษณาบนเว็บไซต์ และรับงานพัฒนาแอปพลิเคชัน เฉพาะใน ระบบปฏิบัติการไอโอเอส และ แอนดรอยด์ เท่านั้น ที่ผ่านมามีผลงานในการพัฒนาอย่าง แอปฯจองโต๊ะอาหาร แอปฯดีลดีดี
       
       Company Relate Link :
       Wongnai

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)