Author Topic: แค่ลดหวาน สุขภาพก็ดีได้  (Read 2538 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

ของหวานๆ ใครบ้างไม่อยากทาน แต่ถ้าทานกันแบบไม่ยั้งปาก สิ่งสุดท้ายที่คุณจะได้มาก็คือ สารพัดโรคร้าย!!


ของหวานๆ ใครบ้างไม่อยากทาน แต่ถ้าทานกันแบบไม่ยั้งปาก สิ่งสุดท้ายที่คุณจะได้มาก็คือ สารพัดโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดันสูง หัวใจขาดเลือด หรือเส้นโลหิตสมองแตก ซึ่งล้วนแล้วแต่มาแบบเงียบๆ แต่เป็นอันตรายอย่างมาก ดังนั้น เราจึงมีวิธีบริโภคความหวานแบบไม่เสี่ยงโรค แถมยังเป็นการลดน้ำหนักที่ดีมาบอกต่อกัน


ลดน้ำหนักด้วยการทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย
การบริโภคสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งขอผู้ที่รับประทานรสหวาน แต่ไม่อยากมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยในคนปกติทั่วไป ควรได้น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม ใน 1 วัน ซึ่งหมายถึง ยิ่งทานให้น้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อสุขภาพ เนื่องจากคนเราได้รับน้ำตาลทางอ้อมจากอาหารประเภทแป้ง ผักผลไม้อยู่แล้ว และการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดัน เป็นต้น ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลแล้วทานอาหารที่ใส่สารให้ความหวานแทน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่คุณควรศึกษาส่วนประกอบแต่ละชนิดของสารให้ความหวานที่นิยมใช้กันเสียก่อน



ชนิดของสารให้ความหวาน
- แซคคาริน   ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพคือ 0-5 มก.ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน
- ซูคราโลส ค่าปริมาณที่ได้รับกำหนดไว้ที่ 0-15 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน
- แอสพาร์เทม สำหรับสารให้ความหวานชนิดนี้ มีข้อควรระวังของการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารคือ ผู้ที่เป็นโรค ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมแทบอลิซึมของร่างกาย โรคนี้จะถ่ายทอดทางโครโมโซมทั่วไปที่ไม่ใช่โครโมโซมเพศ ควบคุมด้วยยีนลักษณะด้อย โดยโครโมโซมดังกล่าวมีความบกพร่องของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Phenylalanine hydroxylase ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่สามารถสร้างเอนไซม์ดังกล่าวได้ มีผลให้ไม่สามารถย่อยสลาย กรดอะมิโน phenylalanine ไปเป็น tyrosine เหมือนคนปกติ จึงเกิดภาวะ phenylalaine สะสมในเลือดมากผิดปกติ และมี phenylpyruvic acid และกรดอินทรีย์อื่นปนในปัสสาวะ รวมทั้งอาการโลหิตเป็นพิษด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวมักมีภาวะปัญญาอ่อน ผู้ป่วยโรคนี้จึงไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนคนทั่วไป โดยจะไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีสารแอสพาร์เทมประกอบได้ จึงต้องระบุคำเตือนบนฉลาก ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-40 มก.ต่อ กก.น้ำหนักตัว ต่อวัน



8 ทริคยั้งกินหวาน
1. ทานอาหาร 3 มื้อให้ตรงเวลา และอีก 2 มื้อของว่างที่เป็นผลไม้ เพื่อปรับให้ร่างกายคุ้นเคยกับการรับสารอาหารอย่างเต็มที่ เป็นการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
2. เลือกทานผักและผลไม้สดเป็นหลัก หากต้องการของหวานมากๆ ก็ให้เน้นทานผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ส้ม มะละกอ แอปเปิ้ล เพราะน้ำตาลจากผลไม้สดจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3. เปลี่ยนการรับประทานแป้งและคาร์โบไฮเดรตทุกชนิดมาเป็นการทานโปรตีนจากพืชหรือเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น
4. กินหรือเพิ่มเครื่องเทศต่างๆ ลงในอาหาร ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและลดความอยากน้ำตาลได้
5. เก็บของหวานให้ไกลตัวที่สุด หรือถ้าเป็นไปได้ก็อย่าให้มีอยู่ในบ้าน บนโต๊ะทำงาน หรือในกระเป๋าเลย
6. ใช้น้ำตาลธรรมชาติแท้ๆ แทน เช่น น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมจากข้าวโพด
7. ดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยลดความอยากทานน้ำตาล
8. อ่านฉลากก่อนทุกครั้งที่จะต้องซื้ออาหารที่มีรสหวาน ถ้าเป็นอาหารชนิดเดียวกันให้ลองเลือกดูจากหลายๆ ยี่ห้อและเทียบปริมาณน้ำตาลดูว่ายี่ห้อไหนมีน้ำตาลน้อยที่สุดก็ให้เลือกยี่ห้อนั้น

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค (บริโภคนิสัย) ที่ถูกต้องถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก ก็คือ การค่อยๆ ลดน้ำตาล โดยไม่ใช้ความหวานทนแทนในอาหาร จึงเป็นวิธีการบริโภคที่ถูกต้อง

Articleby E-magazine.info
ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info

ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)