Author Topic: สบท.เพิ่งตื่นสางปมโกงความเร็วเน็ต  (Read 1309 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline IT

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1175
  • Karma: +6/-0
  • Gender: Male
  • Assist. I.T. Manager
    • mv

สบท.จับมือ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยแก้ปัญหาประชาชนร้องเรียนเรื่องได้รับความเร็วอินเทอร์ เน็ตไม่ตรงกับที่โฆษณา ผุดโครงการ"สปีดเทสต์ (speedtest)"ตรวจความเร็วอินเทอร์เน็ตและเก็บข้อมูลจริงจังทั่วประเทศเพื่อ คุ้มครองผู้บริโภคชาวไทย ย้ำจุดประสงค์ไม่ได้ต้องการแฉ แต่ต้องการให้ผู้ให้บริการนำไปปรับปรุง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
       
       นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า สบท.ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าประสิทธิภาพและความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ ใช้งานไม่ตรงกับโฆษณาถึง 90% ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด โดยสบท.ตระหนักว่าการตรวจสอบเป็นเรื่องของเทคนิก จึงเจรจากับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย จัดทำเป็น"โครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเทอร์เน็ตปี 2552" ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคร่วมมือกันตรวจสอบผ่านโปรแกรมบนหน้าเว็บไซต์ speedtest.or.th ซึ่งยืนยันว่าจะเป็นการตรวจสอบที่เป็นกลางและคุ้มค่าที่สุด
       
       "การ ร้องเรียนเรื่องโทรคมนาคมมีจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ในหลายประเทศ แซงหน้าเรื่องบริการด้านการเงินหรืออสังหาไปเรียบร้อยแล้ว และเชื่อว่า 2-3 ปีข้างหน้าตัวเลขการร้องเรียนจะเพิ่มเป็นเท่าตัว เราจึงต้องหาเครือข่ายขึ้นมาดำเนินงาน สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยเป็นกลุ่มที่มีความรู้และไม่มีผลประโยชน์กับผู้ให้ บริการ (ไอเอสพี) ขณะเดียวกันโครงการนี้ผู้บริโภคทุกคนสามารถร่วมทดสอบได้ฟรี ในทุกพื้นที่ ไม่ต้องตั้งทีมทำงานจำนวนมากและไม่ต้องมีออฟฟิศ ตั้งใจจะทำเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง ซึ่งสุดท้ายแล้วเชื่อว่าไอเอสพีจะแข่งกันให้บริการที่ดี และกทช.จะรู้ทิศทางการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค"
       
       พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยกล่าวว่า ปัจจุบันประชากรออนไลน์ในประเทศไทยไม่พอใจความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ได้รับ จนมีการใช้โปรแกรมตรวจความเร็วอินเทอร์เน็ตทั่วไปอย่างแพร่หลายราว 80,000 ครั้งต่อเดือน แต่เป็นการตรวจวัดส่วนตัวที่ไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้ประเทศไทยขาดคลังข้อมูลมาตรฐานเพื่อการนำไปพัฒนาในเชิงลึก
       
       "เป็น การตรวจส่วนตัวระหว่างผู้ใช้บริการกับเจ้าของเว็บนั้นๆ ผู้ให้บริการไม่รู้เรื่อง โครงการนี้จะมี speedtest.or.th เป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบ จะเปิดให้เจ้าของเว็บไซต์ในไทยมีส่วนร่วมในโครงการ 2 ทาง คือติดแบนเนอร์เพื่อลิงก์กลับมาหน้าเว็บ หรือการฝังโค้ดโปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้ทดสอบความเร็วกับโครงการนี้ได้บนหน้า เว็บเลย ซึ่งเจ้าของเว็บจะไม่เสียฮิตเรท ขณะที่เราก็ได้ข้อมูล"
   
พ.ต.อ.ญาณพลให้ข้อมูลว่า หลักการของโครงการสปีดเทสต์คือระบบจะตรวจสอบความเร็วกับไอเอสพีโดยตรง และจะจัดเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเป็นค่าเฉลี่ย โดยใช้โปรแกรมของ OKLA ซึ่งได้มาตรฐานโลก มีการเช่าเซิร์ฟเวอร์ในโครงการมากกว่า 10 ตัวเพื่อตรวจสอบบริการอินเทอร์เน็ตของไอเอสพีไทย 9 ราย งบประมาณโครงการช่วงแรกคือ 4-5 แสนบาท
       
       "โดย หลักการไม่ได้จับผิด แต่อยากให้มีระบบมาช่วยให้ไอเอสพีสามารถนำไปปรับปรุงได้ เราอยากเป็นตัวกลางที่เชื่อถือได้ทั้งในมุมของผู้บริโภคและผู้ให้บริการ ขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่กังวลแต่ไม่รู้จะร้องเรียนที่ไหน"
       
       ขั้นตอนในการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต คือเมื่อผู้บริโภคเข้าสู่โปรแกรม OKLA ที่หน้าเว็บ speedtest.or.th หรือจากหน้าเว็บไซต์ทั่วไป จะต้องกรอกเลือกระดับความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่ ต่อมาจึงเลือกจังหวัดที่ใช้บริการ จากนั้นใส่อักษร Capcha เพื่อยืนยันการทำรายการ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกทดสอบกับไอเอสพีอื่นได้อีกหากต้องการ
       
       "ถ้าไม่กรอกระดับอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่ก็ไม่เป็นไร เพราะระบบจะรู้ข้อมูลอยู่แล้ว โดยระบบจะตรวจสอบกับไอเอสพีเป็นอันดับแรก เหตุที่ต้องเลือกจังหวัดเพราะสบท.ต้องการให้ความสำคัญกับประชาชนในทุก พื้นที่ นอกกทม.ด้วย ซึ่งสามารถจับโกหกได้เพราะมีการเก็บข้อมูลไอพีแอดเดรส นอกจากไอเอสพี 9 รายในไทย โครงการนี้สามารถตรวจสอบกับผู้ให้บริการในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และสิงคโปร์ได้ด้วย มีแผนจะเพิ่มพื้นที่อื่นอีกในอนาคต"
       
       ในเบื้องต้น โครงการนี้จะประเมินผลรอบ 3 เดือนคือ กันยายน-พฤศจิกายน การเก็บข้อมูลอื่นจะยังทำต่อไป จุดนี้พ.ต.อ.ญาณพลระบุว่าอาจจะมีการแถลงผลการศึกษาครั้งแรกในช่วงต้นเดือน ธันวาคม เพื่อนำข้อมูลส่งให้ทางกทช. ไม่ได้มีมาตรการลงโทษไอเอสพีที่ให้บริการไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้
       
       นายแพทย์ประวิทย์ย้ำว่า สบท.ไม่ได้ต้องการลงโทษหรือระงับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตของไอเอสพี แต่จุดประสงค์หลักคือการประกาศข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้เพื่อเป็นข้อมูลใน การตัดสินใจเลือกใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโครงการดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาข้อร้องเรียนเรื่องความเร็วอินเทอร์ เน็ตเท่านั้น ไม่ครอบคลุมปัญหาอินเทอร์เน็ตหลุดบ่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเป็นอันดับที่สองรองจากเรื่องความเร็ว
       
       "เรื่อง ความเร็วถูกร้องเรียนมากเพราะมีโฆษณา 8เมกะบิต, 12เมกะบิต ทำให้ผู้บริโภคคาดหวัง ซึ่งต่อไปผมคิดว่าอาจจะมี 16เมกะบิต หรือ 24เมกะบิต ตามมา สำหรับเรื่องหลุดบ่อย เรายังต้องหารือกับผู้มีความรู้อื่นๆว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรเพื่อแก้ปัญหา นี้ จุดนี้ยอมรับว่ากทช.ยังไม่รู้ ซึ่งคิดว่าจะต้องมีโครงการแก้ไขปัญหานี้ในอนาคต"
       
       ทั้งนายแพทย์ประวิทย์และพ.ต.อ.ญาณพลยืนยันว่าไม่กลัวเรื่องฟ้องร้องเพราะการบิดเบือนผลการศึกษาแน่นอน
       
       "ยืน ยันว่าการประกาศผลไม่ใช่การแฉ ยังต้องประชุมรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะว่าจะประกาศในรูปแบบไหนเพื่อให้เกิด การพัฒนามากที่สุด อาจจะประกาศแบบจัดกลุ่ม หรืออาจจะส่งคะแนนให้ไอเอสพีก่อนในช่วงเดือนแรก เพื่อให้ไอเอสพีรายนั้นปรับปรุงบริการให้ดีขึ้นในช่วงเดือนต่อๆมา ซึ่งหากระบบตรงนี้สมดุยล์ขึ้น ไอเอสพีก็จะแข่งกันให้บริการที่ดีขึ้นในที่สุด"
       
       เว็บไซต์ใหญ่ของเมืองไทยอย่างพันทิป กระปุก และเด็กดีนั้นเข้าร่วมโครงการนี้เรียบร้อยแล้ว โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 13.6 ล้านราย ช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน สบท.ได้รับข้อร้องเรียนเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 622 ครั้ง

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)