Author Topic: ก.ไอซีที ผนึก จุฬาฯ ผุดแผนที่อุทกภัยออนไลน์ผ่านเว็บไซต์  (Read 965 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กระทรวงไอซีทีจับมือจุฬาฯ บูรณการข้อมูลรับมือภัยพิบัติทั้งภาครัฐและเอกชน นำข้อมูลภูมิสารสนเทศ Thai Crisis Planner & Reporter นำเสนอผ่านเว็ปไซต์ http://thaicrisis.chula.ac.th เสมือนเป็นแผนที่ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เพื่อผู้ประสบอุทกภัย
       
       นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยในปีนี้ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คปภ.) ขึ้น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา และได้มอบหมายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานในการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศของภาครัฐเพื่อใช้ในการตกลงตัดสินใจภายใต้ระบบภูมิสารสนเทศ
       
       ทางกระทรวงไอซีทีจึงได้จัดทำเว็บไซต์ www.floodthailand.net ขึ้นมาเพื่อเป็นเว็บหลักของกระทรวงในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านภูมิสารสนเทศ (Geographic Information : GI) ผ่านโครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (เอสเอ็มเอ็มเอส) และโครงการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ภาพถ่ายมาตราส่วน 1 : 4,000 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการประยุกต์ใช้งานระบบบริการแผนที่กลาง (Web Map Portal / GI Portal) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการสนับสนุนระบบให้บริการ
       
       “เว็บไซต์ดังกล่าวยังได้นำข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศที่เป็นของภาคเอกชนที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อมูลบางส่วนที่ประชาชนอยากทราบแต่ยังไม่ได้มีปรากฏเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศทั้งของภาครัฐ และเอกชนที่นำเสนอผ่านทางเว็บดังกล่าว”
       
       ล่าสุดทางกระทรวงไอซีทีจึงได้จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบ Thai Crisis Planner & Reporter ซึ่งเป็นระบบภูมิสารสนเทศในลักษณะของแผนที่ออนไลน์สำหรับประชาชน และหน่วยงานเพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ใช้งานได้ทราบ และรับรู้ถึงสภาพกายภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน ตลอดจนความสัมพันธ์กับเส้นทางน้ำ และระบบระบายน้ำ เพื่อใช้ในการวางแผน และรวมร่วมข้อมูลสถานการณ์น้ำ โดยสามารถเข้าไปได้ที่ http://thaicrisis.chula.ac.th ซึ่งระบบดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ในวันที่ 10 พ.ย. 54 เป็นต้นไป
       
       สำหรับระบบดังกล่าวเป็นระบบที่เหล่าคณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำและหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ รองศาสตราจารย์ชัยยุทธ สุขศรี และอาจารย์ ดร. อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ ร่วมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จากคณะนิเทศศาสตร์ ได้ร่วมกันพัฒนาต่อเนื่องมาจาก ระบบ Flood_REST เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง”
       
       “ความร่วมมือ และบูรณาการในครั้งนี้จะทำให้มีระบบ Crisis Planner ที่สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการวิกฤตสำหรับประชาชนได้กว้างขวางขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจะมีเครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมที่ออกแบบสำหรับผู้วางแผนเตรียมรับมือน้ำท่วมไปจนถึงการฟื้นฟูกู้วิกฤต ประชาชน ผู้ประกอบการและส่วนราชการสามารถใช้ในการประเมินกายภาพ วิเคราะห์ปัญหาน้ำท่วม และวางแผนการกู้ และฟื้นฟูบ้านเรือน สถานประกอบการ พื้นที่อุตสาหกรรมในภาพกว้างมากขึ้นกว่าเดิม”
       
       รัฐมนตรีไอซีทีกล่าวว่า ระบบ Crisis Reporter จะเป็นเครื่องมือในการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ด้วยการตรวจจับภาวการณ์ขึ้น-ลงของน้ำท่วมโดยอาศัยการรายงานจากเครือข่ายสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังการแพร่ขยายวงของน้ำท่วมที่กำลังแทรกซึมสู่กรุงเทพมหานครในขณะนี้ อีกทั้งใช้ติดตามการลดลงของระดับน้ำเพื่อกลับเข้าไปฟื้นฟูหรือเข้าอยู่อาศัยต่อไป
       
       นอกจากยังเปิดช่องทางให้เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมต่างๆ สามารถเข้าเป็นพันธมิตรกับ “Thai Crisis” ได้ โดยการส่งเสริมให้สมาชิกเข้ามารายงานสถานการณ์น้ำ เรียกดูข้อมูลสรุป และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนรับมือวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการวางแผนฟื้นฟูอีกด้วย
       
       ขณะนี้ได้มีพันธมิตรที่ให้ความสนใจในระบบ Thai Crisis แล้ว คือ Longdo Map, Thai Flood และ Flood Helps โดยจะนำข้อมูลไปผนวกรวมกับการบริการข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนและสังคมได้เข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
       
       Company Related Link :
       ICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)