Author Topic: ผลชันสูตรชี้ “เอมี ไวน์เฮาส์” เสียชีวิตเพราะเหล้า  (Read 789 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       ผลการชันสูตรศพนักร้องสาวคนดัง “เอมี ไวน์เฮาส์” ได้ถูกเผยแพร่ออกมาแล้ว ซึ่งสุดท้ายก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สร้างปัญหาให้กับเธออย่างมากมายมาตลอดนั่นเอง ที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรครั้งนี้
       
       ซูซาน กรีนนาเวย์ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพในคดีการเสียชีวิตของ เอมี ไวน์เฮาส์ ได้ให้ความเห็นว่าศิลปินวัย 27 ปี “เสียชีวิตจากเหตุที่ไม่คาดคิด” ในอุบัติเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการแอลกอฮอล์เป็นพิษ เมื่อเธอกลับไปดื่มสุราอีกครั้ง หลังจากพยายามหักดิบเลิกดื่มมาหลายสัปดาห์
       
       เป็นที่รับรู้ของสังคมมาตลอด ว่านักร้องสาวเจ้าของรางวัลแกรมมี่พยายามต่อสู้กับอาการติดสุรามาตลอด นับแต่เธอมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา ซึ่งมันทำให้ ไวน์เฮาส์ ต้องพบกับทั้งปัญหาชีวิตมากมาย และยังทำลายสุขภาพร่างกายของเธอให้ทรุดโทรมไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา
       
       สำหรับผลการชันสูตรเบื้องต้นในขณะนั้น ระบุว่ายังไม่สามารถหาสาเหตุการตายได้ แต่ที่แน่ ๆ คือไม่มีสารเสพติดผิดกฎหมายอยู่ในร่างกายของ ไวน์เฮาส์ ก่อนจะเสียชีวิต
       
       ซึ่งในการชันสูตรอย่างละเอียดครั้งล่าสุดนี้ ผลทางพยาธิวิทยาที่ตรวจตัวอย่างเลือดและปัสสาวะชี้ว่า ไวน์เฮาส์ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่ “มากพอสมควร” ก่อนจะเสียชีวิต โดยปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดอยู่ที่ 0.4% ขณะที่ตามกฎหมายของอังกฤษ และสหรัฐฯ นั้นกำหนดเอาไว้ว่าผู้ที่มีสติสามารถขับรถยนต์ได้ต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกินกว่า 0.08% และแอลกอฮอล์ปริมาณดังกล่าวได้ไปมีผลต่อระบบหายใจ ทำให้เธออยู่ในอาการโคม่า จนสิ้นลมลงในที่สุด
       
       แพทย์ผู้ทำการพิสูจน์ศพยังบอกอีกว่า อาการแอลกอฮอล์เป็นพิษอย่างเฉียบพลันนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการต่าง ๆ อาทิ ร่างกายขาดน้ำ, ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ, การชัก, ปัญหาทางระบบหายใจ, หัวใจล้มเหลว เป็นต้น ซึ่งไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องบริโภคปริมาณเท่าใด จึงจะเกิดอาการแอลกอฮอล์เป็นพิษขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับ อายุ, เพศ, น้ำหนัก, สุขภาพ และการใช้ยาเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย ของผู้ป่วยแต่ละราย

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)