Author Topic: ผลของยาอื่น ๆ ต่อยาเม็ดคุมกำเนิด  (Read 1918 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


         ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral Contraceptives) คงเป็นที่รู้จักกันดี และคงมีหลายๆคนเคยได้ใช้มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับคุมกำเนิด, ใช้ลดความมันบนใบหน้าเพื่อลดสิว หรือการใช้เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล

        แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การทานยาอื่นๆ ในขณะที่ทานยาคุมกำเนิดอยู่ทุกวัน อาจส่งผลให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลงจนอาจถึงขั้นไม่สามารถป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นในครั้งนี้เราจะมาว่ากันถึงยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด โดยที่หวังผลคุมกำเนิด แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด เพื่อหวังผลลดสิว, ปรับฮอร์โมนในร่างกาย หรือผลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการคุมกำเนิด

         โดยปกติยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน สามารถแบ่งได้หลายประเภทแล้วแต่วิธีการแบ่ง แต่หากแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้คุมกำเนิด จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

      1. ยาคุมกำเนิดที่รับประทานเป็นช่วงเวลาแน่นอน จะเป็นรูปแบบแผง ทานทุกวัน หรือทานหมดแผงแล้วหยุด 7 วัน จะใช้คุมกำเนิดแบบที่มีการวางแผนคุมกำเนิดไว้แล้ว
      2. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital Contraceptives) ซึ่งจะใช้คุมกำเนิดเฉพาะกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการวางแผนมาก่อน, หรือใช้ป้องกันการตั้งครรภ์กรณีเกิดความผิดพลาดจากวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว, ลืมทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งยาคุมประเภทนี้จะให้ผลในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้น้อยกว่าประเภทที่ทานเป็นช่วงเวลาแน่นอน และถึงแม้จะใช้ยาอย่างถูกวิธีทุกประการ ก็ยังอาจเกิดการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดประเภทนี้ตลอด จะใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น และในที่นี้จะไม่ได้กล่าวถึงผลของยาอื่นๆที่มีผลกระทบต่อฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

        ยาเม็ดคุมกำเนิดทั้งหมดจะประกอบด้วยฮอร์โมน ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนหนึ่ง หรือสองชนิด (แล้วแต่ชนิด และยี่ห้อของยาเม็ดคุมกำเนิด) โดยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้มีระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากมีปัจจัยใดก็ตามที่ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกาย (จากยาเม็ดคุมกำเนิด) ไม่สูงขึ้นอย่างเพียงพอหลังจากทานยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละเม็ด ก็จะทำให้ฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ของยาลดลงไปด้วย

         มียาหลายชนิดที่เมื่อได้รับในระหว่างที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ จะทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายจากยาเม็ดคุมกำเนิดเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบได้ตั้งแต่มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ไปจนถึงเกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังตาราง



รายการยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น



     แนวทางในการปฏิบัติเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง

        - ให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย

        - กรณีที่จะต้องใช้ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดลดลง ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่สามารถเปลี่ยนยาได้ แนะนำให้เปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดเป็นวิธีที่ไม่ได้รับผลกระทบจากยา เช่น ห่วงคุมกำเนิด แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อน

        - ในกรณีที่ยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลง เป็นกลไกเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำเอนไซม์ให้ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายเพิ่มขึ้น (ยากันชักเข่น Carbamazepine, Oxcarbazepine, Phenytion, Phenobarbital, Primidone, Topiramate, ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease เช่น Ritonavir, Nelfinavir, Lopinavir, Saquinavir, ยาต้านเชื้อไวรัส Nevirapine, ยาต้านเชื้อรา Griseofulvin, ยาต้านเชื้อ Rifampicin) ผลของการเหนี่ยวนำเอนไซม์อาจยังคงอยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์หลังจากหยุดยาที่มีผลเหนี่ยวนำไปแล้ว ดังนั้นควรต้องคำนึงถึงผลนี้ และใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมไปก่อนจนกว่าจะหยุดยานานมากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว

        - ในกรณีที่ยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลง เป็นกลไกรบกวนแบคทีเรียในลำไส้ (ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม Penicillins และ กลุ่ม Tetracyclines) จำเป็นจะต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยในระหว่างที่ใช้ยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ และหลังจากหยุดยาฆ่าเชื้อไปแล้วอีก 7 วัน แต่ผลของยาฆ่าเชื้อกลุ่มนี้จะมีผลต่อเฉพาะยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสมระหว่างเอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจนเท่านั้น ไม่มีผลต่อยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเดี่ยว ๆ

           จะเห็นว่ายาเม็ดคุมกำเนิด จะมีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงได้ถ้าให้ร่วมกับยาได้หลายๆชนิด ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นผู้ที่กำลังใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ และเกิดความเจ็บป่วยใดๆที่จะต้องได้รับยาเพื่อรักษาอาการนั้นๆขึ้นมา ขอให้แจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งว่ากำลังทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ และถ้าให้ดีควรแจ้งยี่ห้อของยาเม็ดคุมกำเนิดที่ทานอยู่ด้วย เพราะแต่ละยี่ห้อมีชนิดตัวยา และปริมาณตัวยาไม่เหมือนกัน


ที่มา: ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)