Author Topic: ATSI เตือนส่งออกไปมะกันใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์  (Read 879 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ผู้เชี่ยวชาญในวงกฎหมายและสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เตือนบริษัทส่งออกไทยไปสหรัฐอเมริกา ต้องเร่งปรับเปลี่ยนหันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ หลัง 2 มลรัฐใหญ่ วอชิงตันและหลุยส์เซียนา ผ่านกฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมแล้ว เชื่อลดช่องว่างต้นทุนราคาให้บริษัทที่เคารพลิขสิทธิ์ต่อสู้ในตลาดได้
       
       นายไมเคิล มัดด์ ตัวแทนของ Open Computing Alliance ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางมลรัฐววอชิงตัน สหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือยูซีเอ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในประเทศไทยอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าสินค้านำเข้าสหรัฐฯ จะมาจากมลรัฐอื่นที่ไม่ใช่วอชิงตัน แต่สินค้าอาจถูกนำมาวางจำหน่ายที่มลรัฐวอชิงตันได้ ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะเดียวกันในมลรัฐหลุยส์เซียนา ส่วนในมลรัฐอื่นๆ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เรื่องนี้ช่วยจุดประกายให้เกิดแนวโน้มการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศนั้นเพิ่มมากขึ้น เหมือนเช่นในสหภาพยุโรปด้วยก็เป็นได้
       
       หากดูจาก 4 ใน 10 ประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดยทั้งหมดอยู่ในเอเชียเหนือ นำโดยจีนซึ่งการค้าขายเติบโตมาก โดยมีมูลค่าการค้าขายระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศจีน มีมูลค่ารวม 456,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังสหรัฐฯ ในปี 2553 อยู่ที่ประมาณ 2,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้าราว 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ จะล้มเหลวก็ตาม เห็นได้ชัดว่าการค้ากับสหรัฐฯ เป็นประโยชน์ต่อไทยอย่างยิ่ง
       
       “กฎหมายฉบับใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกจากประเทศในแถบเอเชียไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรัฐวอชิงตันจัดเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองในสหรัฐอเมริกาและเป็นที่ขนถ่ายสินค้าที่ส่งเข้ามาจากภูมิภาคนี้”
       
       นางดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหารและกรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า เวลานี้มี 2 มลรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ได้ผ่านกฎหมายยูซีเอแล้ว และมีอย่างน้อยอีก 10 รัฐที่กำลังพิจารณาออกกฎหมายแบบเดียวกัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะผ่านออกมาเมื่อไร ตัวกฎหมายนั้นมีเจตนารมณ์มุ่งที่จะกำหนดให้โรงงานผลิตสินค้าทั้งหลายที่มีรูปร่าง ที่ขาย เสนอขาย หรือมีจำหน่ายในมลรัฐที่กฎหมายบังคับใช้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ใดในโลก ต้องใช้แต่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ในการผลิตและการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ทั้งในสำนักงานและในโรงงาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของการกีดกั้นทางการค้าแต่ประการใด
       
       “กฎหมายดังกล่าวมีการกำหนดผลิตภัณฑ์ไม่เข้าข่าย อาทิ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ระเบียบขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือรักษาโรคเป็นหลัก อาหารและเครื่องดื่ม บริการออนไลน์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสินค้าที่ผลิตในนามของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์”
       
       นางดารานีย์ กล่าวว่า ผู้ที่สามารถดำเนินคดีภายใต้กฎหมายนี้ประกอบไปด้วยอัยการสุงสุดของมลรัฐที่ประกาศใช้กฎหมายกับบุคคลใดๆ ที่รับความเสียหายที่เกิดจากการขายหรือเสนอขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งโดยตรง โดยทางผู้เสียหายจะส่งหนังสือไปยังบริษัทผู้ผลิตสินค้าว่า มีการใช้สินค้าไอทีที่ถูกขโมยมาหรือที่ใช้ในทางที่ผิดจากเจ้าของ โดยบริษัทที่ถูกกล่าวโทษมีเวลา 90-180 วันในการที่จะชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าว หากบริษัทผู้ผลิตเพิกเฉยแล้วพบว่า มีการใช้ไอทีสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยเปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่ใช้ไอทีไม่ละเมิดกับใช้ไอทีที่ละเมิดอย่างน้อย 3% ถ้ามีส่วนต่างมากกว่า ถือเป็นเข้าข่ายผิดกฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษตั้งแต่ สั่งห้ามมิให้ละเมิด สั่งห้ามมิให้ขายหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ในมลรัฐนั้นๆ และสามารถเรียกค่าเสียหายได้
       
       บริษัทใดก็ตามที่ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยอย่างเคร่งครัด ถือได้ว่าทำตามกฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมไปโดยปริยายและยังได้รับประโยชน์จากกฎหมายใหม่นี้ในแง่การแข่งขันทางธุรกิจและการยอมรับในระดับนานาชาติ ประเทศไทยมีกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาครอบคลุมเพียงพออยู่แล้ว ส่วนการมีกฎหมายป้องกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมของสหรัฐ เป็นเสมือนแรงจูงใจอีกประการหนึ่งให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อป้องกันการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจในตลาดสหรัฐอเมริกา ในที่สุดแล้วการปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมและกฎหมายลิขสิทธิ์ของบ้านเรา เป็นเรื่องของการแสดงออกถึงความเคารพในสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งกันและกัน
       
       นายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) และกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอาจช่วยให้ผู้ประกอบการบางรายได้เปรียบคู่แข่งในแง่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันมากขึ้นกฎหมายดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้บริษัทที่เสียเปรียบได้รับค่าตอบแทนจากความสูญเสียและห้ามมิให้บริษัทที่เอาเปรียบจำหน่ายสินค้าในรัฐดังกล่าว จนกว่าจะหันมาปฏิบัติตามกฎหมาย แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้ดูเหมือนจะไม่ได้เอื้อประโยชน์มากนักต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย เวลานี้มีสัดส่วนการใช้ซอฟต์แวร์ไทยอยู่ประมาณ 10-20% แต่กระนั้นการออกกฎหมายฉบับดังกล่าว น่าจะช่วยให้บริษัทซอฟต์แวร์คนไทยมีกำลังใจที่พัฒนาซอฟต์แวร์ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าในระยะสั้นนี้น่าจะทำให้มูลค่าของซอฟต์แวร์ไทยมีมากขึ้น
       
       ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้อย่างรวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก เป็นรองแต่เพียงแค่ฮ่องกง ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของประเทศไทย อยู่ที่ 73% ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง ผู้ประกอบการธุรกิจไทยสามารถร่วมกันช่วยลดอัตราดังกล่าวลงได้ ด้วยการสนับสนุนซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายมาใช้ในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แน่นอนว่าซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายนั้น ราคาคงไม่ถูกนัก แต่มันคุ้มค่ากับความสบายใจที่ผู้ประกอบการจะได้รับ เพราะไม่ต้องกังวลว่าระบบคอมพิวเตอร์ในสำนักงานจะเสี่ยงต่อการโจมตีทั้งจากมัลแวร์หรือไวรัส ไม่ต้องกังวลว่าคู่แข่งทางธุรกิจหรือตำรวจจะสืบทราบว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายภายในบริษัท
       
       Company Relate Link :
       ATSI

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
944 Views
Last post July 27, 2012, 02:47:44 PM
by Nick