Author Topic: “โอ๋ อาภาพร” สะอื้น ร้องกองปราบจี้ธนาคารชื่อดังรับผิดชอบเงินหายจากบัญชีนับแสน  (Read 749 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai






“โอ๋ อาภาพร” อดีตดาราดัง บุกร้องกองปราบจี้ธนาคารชื่อดังให้รับผิดชอบ หลังถูกมือดีกดเงินแสนออกจากบัญชี ทั้งที่บัตรATMยังอยู่กับตัว เสียใจแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ธนาคาร แต่กลับพูดปัดความรับผิดชอบ กร้าวจะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
       
       หลังจากเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา นักแสดงรุ่นใหญ่ “โอ๋ อาภาพร กรทิพย์” ได้เข้าแจ้งความที่สน.บางชัน ในคดีถูกคนร้ายโจรกรรมข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม นำไปทำบัตรเอทีเอ็มปลอม และลักลอบกดเงินสดไปกว่า 118,100 บาท ล่าสุดวานนี้( 26 กันยายน 2554) เจ้าตัวร้อนใจถึงกับเดินทางไปร้องเรียนกับ “พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ” ผู้บังคับการกองปราบปราม เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ช่วยติดตามคดีนี้ หลังจากไม่ได้รับความร่วมมือจากธนาคารต้นขั้วของบัญชีเงินฝากที่หายไป
       
       “ที่ออกมาวันนี้ก็อยากเรียกร้องความเป็นธรรม เราอยากหาข้องเท็จจริงว่าเงินของเราที่หายไปในวันที่ 16 กันยายน 2554 เป็นจำนวนเงิน 118,100 บาท และขออนุญาตพูดชื่อตู้ที่กดออกไป คือเป็นตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงเทพ ถนนประชาสงเคราะห์27 ซอยเพิ่มสิน ติดตั้งที่ร้านแฟมิลี่มาร์ท แล้วเงินโอ๋ก็ถูกกดออกไปจากตู้นี้ โอ๋ไปถ่ายรูปหลักฐานที่ตู้นี้มาแล้ว และด้วยกลัวความผิดพลาด ก็ลองกดดู แล้วผลที่แสดงออกมาก็คือตรงกับตู้นี้ แล้วเราก็เลยขอดูยอดที่กดออกไป ครั้งที่เป็นการกดออกไปเป็นจำนาน 10 ครั้ง และก็เป็นจำนวนเงินที่บอกไปข้างต้น”
       
       “บัตรเอทีเอ็มอยู่กับโอ๋ค่ะ เพราะตอนนั้นโอ๋ไปล้างรถที่เหม่งจ๋าย แล้วเราก็มีพยานด้วยว่าตอนนั้นบัตรอยู่กับเราจริง เรามาทราบว่าเงินหายไปก็ประมาณวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 54 ค่ะ เพราะเราต้องการจะใช้เงินจำนวน 32,000 บาทค่ะ ส่วนเงินที่หายไปก็หายไปในวันที่ 16 กันยายน 54 ค่ะ และเวลาที่เรากดดูยอดวันแรก ก็เป็นเวลา 17:43.33 วินาที แต่ครั้งสุดท้ายที่เราเป็นคนกดเงินก็เป็นวันที่ 14 กันยายน 54 ค่ะ ตอนนี้เราก็ยังไม่ได้อะไรมาก ได้หลักฐานจากกล้องวงจรปิด ก็คือภาพของผู้ร้ายที่มากดเงินออกไป แต่เห็นแค่หัวของเขาที่ใส่หมวก ภาพที่เราได้มาก็มีหลายภาพ ไล่ตั้งแต่ครั้งแรกที่เขามากดไป”
       
       “แต่ที่เราออกมาวันนี้ก็คือเราอยากออกมาเรียกร้องว่า เงินที่เราฝากไว้กับธนาคารกสิกรไทย แล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกันเรา เราต้องเรียกร้องความเป็นธรรมกับใคร เพราะเราก็ไม่ใช่ตาสีตาสาที่จะโยนความผิดให้คนโน้นคนนี้”
       
       “พอถามไปทางธนาคารกสิกรไทยเขาก็บอกว่า เราอาจจะให้คนอื่นไปกด แล้วคนนั้นก็อาจแฮกข้อมูลไป เราก็ถามว่าการแฮกข้อมูลเป็นอย่างไร เขาก็บอกว่าอาจจะใช้บัตรปลอมก็ได้ โอ๋ก็ย้อนถามเขาไปว่า บัตรปลอมมันกดได้ด้วยเหรอ เขาก็บอกว่าอาจจะได้หรือไม่ได้ ก็แล้วแต่วิธีการของผู้ร้าย คือเขาตอบเหมือนปัดความรับผิดชอบค่ะ เราก็เสียใจ แล้วเราก็ไม่รู้ว่าตอนนี้เงินที่เราฝากไว้กับธนาคารไปอยู่ตรงไหนแล้ว บัญชีของเราเปิดที่สาขาสุขาภิบาล3 บึงกุ่ม แต่คนที่เขามาพูดกับเราเขาก็อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านนี้อยู่ค่ะ แล้วก็มีคำพูดจากเจ้าหน้าที่ที่ดูเหมือนกระแนะกระแหนเรา”
       
       ไม่พอใจเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ปัดความรับผิดชอบ
       
       “และก็ขอสาบานด้วยเกียรติของลูกผู้หญิง(เสียงสะอื้นพร้อมพนมมือขึ้น) ว่าสิ่งที่จะพูดต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงทั้งหมด แล้วถ้าบุคคลนั้นกล้าที่จะพูดความจริงในสิ่งที่เขาพูดกับดิฉันในโทรศัพท์ แต่เราก็อาจจะไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าเขาได้พูดกับดิฉันจริง คือเขาพูดว่า คุณอาภาพร คุณมีอะไรปิดบังผมหรือเปล่า เราก็เลยอยากจะถามว่า คำว่าปิดบังมันหมายความว่าอะไร อยากให้ออกมาชี้แจงกัน อยากให้ออกมาคุยกัน อย่ามาพูดในโทรศัพท์”
       
       “เราเสียใจ เพราะเงินเราก็เสียไปแล้ว ยังมีการกระทำของเจ้าหน้าที่แบบนี้ เราก็อยากจะพิสูจน์ความจริงว่ามันคืออะไร ก็เลยไม่ออกมาแจ้งความ แล้วจริงๆ ที่เราออกมากองปราบมันก็ไม่ใช่เรื่องอะไรของทางนี้ แต่ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเราจะไปไหน เพราะเราโทรหาธนาคารกสิกรไทยแล้ว เขาก็ให้มาแจ้งความ แล้วพอแจ้งความเสร็จเขาก็บอกให้เรามาหาธนาคารนี้อีก แล้วเราก็ไม่รู้จะเอาอย่างไร เพราะจุดเริ่มต้นเราไม่มี ไม่รู้จะขอความช่วยเหลือจากใครแล้ว”
       
       “สำหรับทางธนาคารได้เข้ามาคุยกับเราในบางส่วนแล้ว เขาก็พูดในทำนองว่ามันผิดกติกา ประมาณว่าเหมือนเราเคยให้บัตรไปให้คนอื่นกด ซึ่งเราก็บอกกลับไปว่า เรื่องตอนนั้นมันคนละเรื่องกัน เราต้องการทราบว่าเงินที่หายไปในวันที่ 16 กันยายน เราจะคุยกันอย่างไร ส่วนตอนที่เราให้คนไปกด ตอนนั้นมันไม่มีหายเลย เพราะเราก็เช็คได้ แต่ถ้าคนที่เราให้ไปกด แล้วเขาเป็นคนเอาเงินเราไปจริง ก็ไม่เป็นไร เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ที่นี่แล้วค่ะ เพราะถ้าคนที่เราให้เขาไปกด เขาเป็นคนทำจริงๆ เราก็ดำเนินการเข้าได้ค่ะ โอ๋ยอมรับสภาพ แต่ถ้าทางธนาคารยังเป็นแบบนี้อยู่ก็น่าจะดำเนินการให้ถึงที่สุดค่ะ”
       
       ด้าน พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผู้บังคับการกองปราบปราม เผยว่า…
       
       “เป็นความรู้อย่างหนึ่งนะครับ กรณีของคุณโอ๋ ที่เดินทางมาหากองปราบ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของการร้องขอความเป็นธรรม แล้วถ้าจะไปหาโรงพักที่แจ้งความไว้เพื่อที่จะพิสูจน์ความผิดนั้น ก็คงจะยากอยู่พอสมควร แล้วในเรื่องนี้ทางกองปราบก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปสืบสวนเรื่องนี้ และประเด็นสำคัญอย่างที่คุณโอ๋ว่าก็คือ ครั้งสุดท้ายที่กดเงินเป็นวันที่ 14 ที่ต่างจังหวัด เสร็จแล้ว เงินมาหายวันที่ 16 โดยภาพที่คนร้ายที่ออกมากดเงิน เป็นจำนวน 11 ครั้ง รวมครั้งที่ทดสอบด้วย และมากดที่ตู้ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตู้ต่างธนาคาร”
       
       “เราก็เชื่อได้ว่า ต้องมีคนเอาเงินออกไปจากระบบ ซึ่งนำออกไปจากตู้ธนาคารหนึ่งที่เชื่อมกับธนาคารในถังบัญชี และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของการติดต่อของธนาคารที่จะสื่อสารกัน เพราะฉะนั้นคนร้ายได้ข้อมูล หรือที่คุณโอ๋บอกไปข้างต้นว่าเป็นบัตรปลอมนั้นได้มาอย่างไร เรื่องนี้มันมีประเด็นอยู่หลายประเด็น และประเด็นที่เคยเกิดขึ้นที่ผ่านมา ก็จะมีแก๊งคนร้ายที่เป็นคนมีความเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง เขาจะติดสกิมเมอร์ ซึ่งจะติดอยู่ตรงช่องสอดบัตร แล้วคนร้ายก็จะเปลี่ยน ตรงนี้เป็นของปลอม แล้วก็จะมีกล้องเพื่อแอบดู ซึ่งแอบดูตอนเรากดเงิน แล้วก็รูดเอาเงินเราไป หรือไม่ก็ตอนที่เราไปร้านอาหาร แล้วพนักงานก็แอบเอาข้อมูลในบัตรเราออกไป แต่เขาก็จะไม่ได้รหัส เขาจะได้แต่ข้อมูลไป แล้วมันก็เป็นเรื่องของเทคนิคของเขา”
       
       “ประเด็นต่อมา ที่เราเชื่อว่ากรณีนี้ถูกทำบัตรปลอม เพราะว่ามันมีภาพปรากฏ อย่างนั้นแล้วบัตรนั้นที่ใช้มากดต้องเป็นบัตรที่มีข้อมูลที่ถูกก็อบปี้ ส่วนเรื่องของรหัสเราก็จะเห็นว่าเขากดไปได้ทุกครั้ง ก็แสดงว่าเขามีรหัสมาด้วย แล้วเรื่องต่อมาจะเป็นเรื่องของความผิดพลาดของผู้ถือบัตร อย่างที่ธนาคารบอกว่าให้คนอื่นนำไปใช้ แล้วก็เป็นเหตุผลที่ทำให้บัตรของถูกก็อบปี้ แต่ถ้าเป็นกรณีของคนถือบัตรไปกด แล้วมีคนแอบลักลอบแล้วธนาคารก็ปล่อยให้ถูกลักลอบ ตรงนี้มันเป็นเรื่องที่นอกเหนือความรับผิดชอบของผู้ถือบัตร แล้วก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันว่าต้องเป็นเรื่องของความรับผิดชอบของใคร”
       
       “เบื้องต้นผมมีคำแนะนำว่า เมื่อผู้เสียหายหรือธนาคารบอกว่าคนที่ทำหาย หรือเจ้าของบัตรเป็นผู้เสียหาย แต่หลักความจริงแล้วไม่ควรคิดอย่างนั้น คนไปฝากเงินเป็นเจ้าของเงิน เป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ธนาคารควรให้ความดูแลมากกว่านี้ โดยเฉพาะการพิสูจน์ความผิด ซึ่งธนาคารมีระบบหรือมีเจ้าหน้าที่ที่จ้างไว้มากมาย ควรเร่งตรวจสอบ และบอกลูกค้าที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ชัดเจน ไม่ควรปล่อยเรื้อรังขนาดนี้ แล้วยังหาคำตอบไม่ได้มันจะเสียหายกับระบบธนาคาร และความเชื่อของระบบเอทีเอ็มอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าทางธนาคารควรให้ความสนใจกับกรณีดังกล่าวมากขึ้นหน่อย เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรวดเร็ว จะได้บอกกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บกพร่องต่อการทำให้เงินตนเองสูญเสียได้ชัดเจนขึ้น”
       
       “ส่วนกองบังคับการปราบปรามจะมอบหมายให้ตำรวจไปตรวจสอบ โดยเฉพาะส่วนข้อมูลที่ปรากฏ เช่น ตู้เอทีเอ็มตู้สุดท้ายที่คุณโอ๋กดที่ต่างจังหวัด หากปรากฏว่าก่อนหน้านั้น 5-10 คน หรือหลังจากนั้น 5-10 คนก็ตาม มีคนใดคนหนึ่งถูกลักลอบข้อมูลเช่นเดียวกัน ตรงนี้บอกชัดเลยว่า เกิดจากข้อบกพร่องของตู้เอทีเอ็มธนาคาร เราจะไปตามที่ภาพวงจรปิดจากตู้เอทีเอ็มที่เขากดเงินออกไป ถ้าตามคนที่กดเงินไปได้แล้ว เขาบอกว่าไปขโมยข้อมูลจากเครื่องคุณโอ๋ที่เคยเอาไป แบบนี้เขาต้องรับผิดชอบ มันยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ทางกองปราบจะใช้ความรู้ความสามารถสืบค้นข้อเท็จจริงนี้ให้ได้”
       
       ขณะที่อดีตนักแสดงรุ่นใหญ่กล่าวย้ำว่า จะดำเนินการให้ถึงที่สุด เพราะอยากให้เป็นกรณีตัวอย่างกันคนอื่น
       
       “หลังจากนี้ก็คงให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปค่ะ แล้วที่ออกมาวันนี้ก็เพราะอยากให้เป็นกรณีตัวอย่าง เพราะว่าถ้าไม่เกิดขึ้นกับโอ๋ แล้วโอ๋ก็มีสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียง ว่าภัยมันอยู่ใกล้ตัวเรา จนเราไม่รู้ตัวก็ได้ แล้วโอ๋ก็อาจจะพูดอะไรได้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ เพราะว่าก็ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย แล้วเราก็เครียดกับคำถามที่มีคนมาถามเราว่าเหตุการณ์มันเป็นอย่างไร ความจริงแล้วเราเป็นผู้เสียหาย แล้วเราไปพูดกับธนาคารแล้ว แล้วเขาพูดกลับมาอย่างนี้แล้ว บอกได้เลยว่าโคตรเสียใจ นอกจากจะไม่พูดดีๆ แล้วก็ยังปัดความรับผิดชอบให้เราอีก”
       
       “มันถูกต้องแล้วเหรอ เพราะเวลาเราไปฝากเงิน เราไปเปิดบุ๊คเขาก็ได้เงินจากเรา แล้วเวลาเรากดเอทีเอ็มเขาก็ได้เงินจากเรา แต่พอเรามาขอความช่วยเหลือจากเขา ว่าเงินของเรามันหายไปได้อย่างไร เราจะได้รู้ข้อเท็จจริง แต่ไม่ใช้ให้โอ๋ไปเดินหาข้อมูลเองทุกอย่าง แม้กระทั้งตู้เอทีเอ็ม ถนนประชาสงเคราะห์ในอยู่ตรงไหน อยากให้สื่อมวลชนรับรู้ แล้วช่วยเสนอข่าวว่าเราจะทำอย่างไรดี ขอความเป็นธรรมนะคะ แล้วก็อยากจะเสนอว่าเหตุการณ์แบบนี้มันคืออะไร ช่วยออกมาชี้แจงกันหน่อยได้ไหม ขนาดเราโทรไปถามยังปัดความรับผิดชอบทุกอย่าง”
       
       “เป็นใครก็ต้องอยากได้เงินคืนนะ เพราะเราฝากเงินไว้กับธนาคาร เราไม่ได้ฝากให้โจรผู้ร้ายเอาไปใช้ แล้วธนาคารก็บอกว่าต้องใช้บัตรจริงเท่านั้น ถึงจะใช้ได้ เราก็อยากจะถามว่าบัตรปลอมจะใช้ได้หรือ ขนาดเงินใบยับๆเขายังไม่รับเลย แต่ทำไม่บัตรปลอมใช้ได้ อยากให้ออกมาคุยกันค่ะ”

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)