พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา
ไมโครซอฟท์พร้อยลุยตลาดบีไอไทยบนคลาวด์ปีหน้า โอกาสการเติบโตมีสูงหลังองค์กรต้องหันมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งในตลาดไทยและตลาดอาเซียนหลังเปิดเสรีในอีก 4 ปีข้างหน้า ระะบุมูลค่าตลาดปีนี้อยู่ที่ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บทบาทของการนำโซลูชัน Business Intelligence ขององค์กรในประเทศไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการนำ Business Intelligence หรือบีไอ มาใช้ในองค์กรขนาดใหญ่พอสมควรแล้วแต่เป็นการใช้งานในส่วนของผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานฝ่ายไอทีขององค์กรนั้นเป็นส่วนใหญ่ และยังคงเป็นแนวคิดการใช้งานบีไอในแบบเดิมๆ โดยทางผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลที่ทางฝ่ายไอทีจัดทำให้ ซึ่งมักจะพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยตรงกับความต้องการเท่าที่ควร ทางไมโครซอฟท์จึงได้เสนอแนวคิดการใช้งานบีไอในูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เซลฟ์เซอร์วิส บีไอ ขึ้นมา
"เซลฟ์เซอร์วิสที่ว่าจะเปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการใช้ผลวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเลือกลักษณะผลการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง ในส่วนที่เป็นรายงานออกมา แทนที่จะเป็นหน้าตาของผลวิคราะห์ข้อมูลที่ทางฝ่ายไอทีจัดทำให้เหมือนในอดีต ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นกว่าเดิม"
รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริหารหรือพนักงานในองค์กรมีความต้องการความคล่องตัวในการเข้าใช้บีไอในลักษณะของโมบิลิตีเพิ่มขึ้น สามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยสมาร์ทดีไวซ์ใหม่ๆ ซึ่งโซลูชันบีไอของไมโครซอฟท์สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานในกลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ก็สามารถใช้งานบีไอผ่านโปรแกรม Excel ถ้าเป็นองค์กรขนาดกลางก็จะมีโปรแกรม Share Point ให้ใช้งาน ถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็จะมีโปรแกรม SQLserver ให้ใช้งาน
ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยมีการเติบโตประมาณ 30% แต่เมื่อเทียบกับสภาพการเติบโตของ Business Intelligence ในภูมิภาคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเติบโตกว่า 30%. ทำให้ยังมีโอกาสอีกมากในประเทศไทย ประกอบกับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารองค์กรทั่วโลกต่างมองในทิศทางเดียวกันว่า ต้องไปคลาวด์แน่ เพียงแต่ว่าจะไปก้าวไปในรูปแบบไหนเท่านั้น
"สำหรับประเทศไทย จะเริ่มต้นจากไพรเวทคลาวด์ก่อน และถึงจะไปสู้ไพรเวทคลาวด์"
นายพีรธน กล่าวต่อว่า แอปพลิเคชันอย่าง บีไอ เป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตของการใช้งานบนคลาวด์ คอมพิวติง และเชื่อว่าบีไอจะเป็นแอปพลิเคชันแรกๆ ที่จะถูกใช้งานบนพับลิบคลาวด์ขององค์กรผ่านเว็บเบราเซอร์ ซึ่งทำให้ผู้บริหารหรือพนักงานในองค์กรสามารถดข้าถึงบีไอผ่านดีไวซ์แบบต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ได้ด้วยตนเอง
"ราวกลางปีหน้า ไมโครซอฟท์จะมีการเปิดตัวบริการบีไอบนคลาวด์ คอมพิวติงในประเทศไทย โดยจะมี Office 365 ที่ร่วมมือกับทางกลุ่มทรูเน้นไปยังตลาดองค์กรขนาดเล็กถึงกลางในรูปแบบของการใช้งานแบบจ่ายเงินตามจำนวนครั้งที่ใช้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า แต่ถ้าในองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ ก็จะมีโปรแกรม SQL Server ที่มีโค้ดเนมว่า Denali"
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์กรในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก ให้มีการนำบีไอมาช่วยใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ยิ่งจะมีใกล้เวลาที่ประเทศไทยจะเข้าสู่อาเซียน 2015 องค์กรในประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำบีไอมาใช้งานเพื่อจะได้สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ ทางไมโครซอฟท์จึงได้ร่วมมือกับทาง Institute for Business Intelligence หรือไอบีไอ ซึ่งเป็นสถาบันที่ศึกษาเรื่องบีไอจากประเทศเยอรมนี ในลักษณะของการช่วยในการพัฒนาหลักสูตรเป็นภาษาไทย ซึ่งเริ่มมีการเปิดเป็นคอสต์สั้นแล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช โดยจะเปิดในระดับปริญญาตรี 4 คอสต์ ปริญญาโทอีก 2 คอสต์ และจะมีการเปิดให้สอบใบรับรองเกี่ยวกับเรื่องบีไอจากทางสถาบันไอบีไอด้วย
"นอกจากที่ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาแล้ว ทางไมโครซอฟท์ยังมีการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับบีไออย่างต่อเนื่อง รวมถึงเข้าไปอบรมให้กับองค์กรที่สนใจด้วย"
นายพีรธน กล่าวว่า ถึงแม้ไมโครซอฟท์จะเพิ่งเข้ามาทำตลาดบีไอไม่นานนักประมาณ 5-6 ปีแต่ดูถึงการเติบโตของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยในตลาดบีไอนั้นมีการเติบโตประมาณ 30% แต่เมื่อเทียบกับสภาพการเติบโตตลาดบีไอของไมโครซอฟท์ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก จากตัวเลขของไอดีซีที่คาดการณ์มูลค่าตลาดบีไอในประเทศไทยปีนี้ไว้ที่ 80 ล้านเหรียญ โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20% ขณะที่อัตราการเติบโตของตลาดบีไอในภูมิภาคนี้ที่เติบโตมากกว่า 30%. ซึ่งถือว่าโอกาสการเติบโตในตลาดบีไอของไทยยังมีอีกมาก
"ตลาดคลาวด์ในประเทศไทยยังถือว่าเพิ่งเริ่มต้น มูลค่าตลาดในปีนี้ทางไอดีซีประเมินว่าจะมีประมาณ 16 ล้านเหรียญ แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 48 ล้านเหรียญ"
Company Relate Link :
Microsoft
ที่มา: manager.co.th