Author Topic: เนคเทคผนึก 5 เอกชน สร้างโอเอสแห่งชาติ  (Read 1352 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Webmaster

  • Nick Computer Services
  • Administrator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 168
  • Karma: +999/-0
  • Gender: Male
  • Love Me Love My Services
    • Computer Service

> ‘ดร.วิรัช’ ตั้งเป้ายอดผู้ใช้ 10% ในช่วง 2 ปี

เนคเทคจับมือ 5 เอกชนพัฒนา ระบบปฏิบัติการแห่งชาติของไทย “ดร.วิรัช” เข็นสุดกำลัง ชี้ความต่างทางภาษาและการใช้งานทำให้โอเอสแห่งชาติจำเป็นต้องเกิด ตั้งเป้ามียอดผู้ใช้เพิ่มเป็น 10% ใน 2 ปี ขณะที่ปัจจุบันมีคนใช้แค่ 1%

ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ระหว่างเนคเทค กับ บริษัทเอกชน 5 ราย คือ บริษัท เอส-วีโอเอ จำกัด (มหาชน) บริษัท โพเวล คอมพิวเตอร์ จำกัด บริษัท ซิเน็ค ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัท ดีคอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท ไอที เบเกอรี่ จำกัด ว่า ข้อตกลงที่เกิดขึ้นคือก้าวแรกของการสร้างโอเอสแห่งชาติ หรือระบบปฏิบัติการแห่งชาติ ซึ่งมีโค้ดเนมอย่างไม่เป็นทางการแล้วชื่อว่า Ecolonux (อีโคโลนุกซ์) ซึ่งมาจากคำว่า Ecology รวมกับคำว่า Linux หมายถึง ลีนุกซ์ในระบบนิเวศซึ่งมีหลายส่วนรวมอยู่ด้วยกันประเทศ ไทยจำเป็นต้องมีโอเอสแห่งชาติ เราต้องมี font ของเรา มีพจนานุกรมของเรา เหล่านี้ ทำให้เนคเทคต้องการทำลีนุกซ์สำหรับประเทศไทย

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โอเอสแห่งชาติไทยเกิดได้ คือ จำนวนผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สของประเทศไทยจะต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 10% ซึ่งเชื่อว่าจะต้องใช้เวลา 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ใช้โอเพ่นซอร์สราว 1% เท่านั้น แต่การใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่รันบนวินโดว์ส เช่น ไฟร์ ฟ็อกซ์นั้นเพิ่มขึ้นสูงจนอยู่ที่ราว 20-30% ซึ่งผู้ร่วมโครงการพัฒนาโอเอสแห่งชาติในขณะนี้เป็นบุคลากรเนคเทคราว 10 คน ร่วมกับเครือข่ายนักพัฒนาต่างๆ และภาค การศึกษา มีการจัดงานรวมพลนักพัฒนาแบบพักแรมในชื่อ Code Fes มาแล้ว 4 ครั้ง บนงบประมาณพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส 5-6 ล้านบาทต่อปี

ดร.วิรัช กล่าวถึง กลยุทธ์การร่วมมือกับบริษัทเอกชน 5 รายดังกล่าวว่า โครงการนี้ เนคเทคได้พัฒนาลีนุกซ์ Core Ubuntu ให้ผู้ค้าสามารถติดโลโก้สินค้าของตนเองบนโอเอสเพื่อวางจำหน่าย มีการพัฒนาแผ่นกู้ข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ใหม่เหมือนที่ออกจากโรงงาน ผู้ผลิตสามารถเลือกติดตั้งทั้งโปรแกรม โอเพ่นออฟฟิศ โปรแกรมแต่งภาพ และเกม เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยผลักดันการใช้งาน ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดการเสียค่าลิขสิทธิ์ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพื่อการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เข้มแข็ง

ส่วนการวัดผลโครงการดังกล่าวในปีแรก 5 บริษัทนี้จะต้องส่งข้อมูลให้เนคเทคว่า ขายไปแล้วกี่เครื่อง ต้องมีการรวบรวม คำถามหรือ FAQ เพื่อเอามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลในการให้บริการคอลเซ็นเตอร์ในอนาคต โดยเชื่อว่าจะมีการขยายความร่วมมือไปยังผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ แบรนด์ไทยรายอื่นต่อไป

ด้านนายวุฒิพันธ์ อภิชาตวโรดม ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของดีคอมพ์ กรุ๊ป กล่าวว่า เชื่อว่าเฉพาะแบรนด์ดีคอมพ์ บริษัทจะสามารถจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งติดตั้งโปรแกรมโอเพ่นซอร์สจากโครงการนี้ได้อย่างน้อย 2,000 เครื่องภายใน 6 เดือน หรือประมาณ 10% ของยอดขายคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์ดีคอมพ์ ทั้งนี้ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์แบรนด์ไทยคิดเป็นสัดส่วน 20% ของตลาดคอมพิวเตอร์ พีซีรวม


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)