Author Topic: เอชพีเล็งขายทิ้งธุรกิจพีซี? ปรับโครงสร้าง-ปิดฉาก WebOS  (Read 1397 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ลีโอ อโปเธอร์เกอร์ (Léo Apotheker) ซีอีโอคนปัจจุบันของเอชพี

เอชพี (Hewlett-Packard) ปรับโครงสร้างบริษัทหนีตายในยุคไอทีแข่งดุ แย้มโครงการแยกธุรกิจพีซีออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ (spin off) พร้อมตัดสินใจเลิกพัฒนาสินค้าตระกูล WebOS อย่างเป็นทางการ เผยต้องการลุยพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการงานไอทีจริงจัง หลายฝ่ายมั่นใจเอชพีกำลังเดินตามไอบีเอ็มและหลายบริษัทที่แยกธุรกิจออกเพื่อขายกิจการ
       
       ความเคลื่อนไหวทั้งหมดที่เอชพีประกาศล่าสุดล้วนถูกวิจารณ์ว่าเอชพีกำลังดำเนินนโยบาย"ตีตัวออกห่างตลาดฮาร์ดแวร์คอนซูเมอร์" เพื่อหยั่งรากในตลาดซอฟต์แวร์และงานบริการไอทีให้มากขึ้น โดยเฉพาะการประกาศเตรียมตัวเข้าซื้อกิจการบริษัท Autonomy Corp. ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ค้นหาและจัดการไฟล์เอกสารสัญชาติอังกฤษ ยิ่งแสดงว่าเอชพีกำลังออกห่างธุรกิจสินค้าคอนซูเมอร์ที่กำไรน้อย เพื่อไปหาธุรกิจซอฟต์แวร์ที่กำไรดีกว่าแทน
       
       สำหรับผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา เอชพีมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเพียง 1.5% เป็น 3.12 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กำไรสุทธิ 1.93 พันล้านเหรียญ
       
       ***แยกธุรกิจพีซีเป็นบริษัทใหม่
       
       การสปินออฟธุรกิจพีซีของเอชพีนั้นได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างมาก เนื่องจากเอชพีนั้นมีดีกรีเป็นผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมียอดจำหน่ายมากกว่า 51 ล้านเครื่องต่อปี
       
       สิ่งที่น่าสนใจคือข้อความทวีตของซีอีโอเดลล์ "ไมเคิล เดลล์" ซึ่งประกาศประเด็นเสียดสีทำนองว่าธุรกิจพีซีที่เอชพีจะแยกออกไปเป็นบริษัทใหม่นั้นไม่ใช่ธุรกิจพีซีของเอชพี แต่เป็นธุรกิจพีซีดั้งเดิมของคอมแพค (Compaq) ซึ่งอดีตซีอีโอเอชพี Carly Fiorina ตัดสินใจซื้อมาเมื่อปี 2002
       
       การซื้อคอมแพคครั้งนั้นทำให้เอชพีก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดพีซี เหนือกว่าเดลล์ (Dell) ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลสูงในตลาดองค์กรธุรกิจ
       
       อย่างไรก็ตาม การสปินออฟครั้งนี้ทำให้เอชพีถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเดินตามไอบีเอ็ม (IBM) ยักษ์ใหญ่สีฟ้าที่จำหน่ายธุรกิจพีซีให้เลอโนโวเพื่อที่ตัวเองจะได้หันไปลุยตลาดบริการงานไอทีองค์กรมากขึ้น (ไอบีเอ็มนั้นจำหน่ายธุรกิจพีซีให้บริษัท Legend ผู้ผลิตพีซีสัญชาติจีนจนกลายเป็นแบรนด์ Lenovo ในปัจจุบัน แล้วเบนเข็มให้บริษัทพุ่งเป้าที่ตลาดซอฟต์แวร์และงานบริการไอทีจนเป็นเจ้าตลาดในขณะนี้)
       
       แม้เอชพีจะยังไม่ประกาศจำหน่ายธุรกิจพีซี แต่การที่เอชพีระบุว่า กำลังจะเข้าซื้อบริษัทซอฟต์แวร์สัญชาติอังกฤษนามว่า Autonomy Corp ด้วยเงินมูลค่า 1.17 หมื่นล้านเหรียญ ก็ทำให้ชัดเจนมากว่า งานซอฟต์แวร์และบริการไอทีกำลังเป็นทิศทางสำคัญของเอชพีในอนาคต เพราะเอชพีเชื่อว่าความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ค้นหาและจัดการไฟล์เอกสารของ Autonomy จะสามารถเพิ่มเขี้ยวเล็บให้เอชพีได้ในอนาคต ซึ่งจุดนี้มีการวิเคราะห์ว่ามูลค่าซื้อ Autonomy ที่เอชพีเสนอไปนั้นเหนือกว่าราคาหุ้นปกติถึงสามเท่าตัว
       
       อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าอาจเป็นเรื่องยากหากเอชพีต้องการขายกิจการพีซีจริง เนื่องจากการผลิตพีซีของแบรนด์ใหญ่ในปัจจุบันล้วนผูกขาดกับผู้ผลิตในไต้หวันเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง Apple, Dell และ Acer เอง ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าการสปินออฟธุรกิจพีซีของเอชพีจะออกหัวหรือก้อยในอนาคต
       
       สำหรับไตรมาสที่เพิ่งจบไป ยอดรายรับจากธุรกิจพีซีภายใต้แผนก Personal Systems Group (PSG) นั้นมีมูลค่าตลาดราว 4.1 หมื่นล้านเหรียญ ทำกำไรให้เอชพีราว 2 พันล้านเหรียญต่อปี กินสัดส่วนเป็น 13% ของกำไรเอชพี
       
       ***เลิกผลิต TouchPad
       
       เอชพียืนยันว่าจะยุติการพัฒนาอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการ webOS ทั้งหมด เท่ากับผู้บริโภคจะไม่ได้เห็นทั้งแท็บเล็ต TouchPad และสมาร์ทโฟน webOS แบรนด์เอชพีรุ่นใหม่แจ้งเกิดในตลาดนับจากนี้
       
       ความเคลื่อนไหวนี้ตอกย้ำความความพ่ายแพ้ของ TouchPad แท็บเล็ตจากเอชพีที่ไม่สามารถทำยอดขายได้เท่าที่ควร ก่อนหน้านี้ เอชพีประกาศลดราคาจำหน่าย TouchPad ในสหรัฐฯลงครั้งแรก 50 เหรียญ ก่อนจะปรับลดอีกครั้ง 100 เหรียญ ทั้งหมดเป็นเพราะอาการ"ขายไม่ออก"ของ TouchPad ซึ่งยักษ์ใหญ่ผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯอย่างเบสต์บาย (Best Buy) เคยออกมาประกาศว่ายอดขาย TouchPad ตั้งแต่เปิดตัวนั้นทำได้เพียง 25,000 เครื่อง จากในสินค้าคงคลังที่มีสูงถึง 270,000 เครื่อง
       
       ความล้มเหลวครั้งนี้ทำให้การตัดสินใจซื้อปาล์ม (Palm) ของเอชพีถูกนำกลับมาวิจารณ์อีกครั้ง แม้ในช่วงซื้อกิจการอดีตยักษ์ใหญ่โลกคอมพิวเตอร์มือถือ (PDA) เอชพีจะมองว่าระบบปฏิบัติการ WebOS ของปาล์มจะทำให้เอชพีขึ้นเป็นอันดับ 2 ในตลาดอุปกรณ์พกพาได้ แต่เมื่อเอชพีไม่สามารถขยายกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง เอชพีจึงตัดสินใจยุติการพัฒนาก่อนจะขาดทุนมากกว่านี้
       
       นักสังเกตการณ์คาดว่า ความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้อาจเป็นสิ่งที่กรรมการบริหารของเอชพีตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก โดยเฉพาะการเลือกลีโอ อโปเธอร์เกอร์ (Léo Apotheker) อดีตลูกหม้อบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง SAP มานั่งเก้าอี้ซีอีโอบริษัท ซึ่งทั้งหมด เอชพีคาดว่ากระบวนการปรับโครงสร้างบริษัทจะแล้วเสร็จในช่วง 12-18 เดือนนับจากนี้
       
       สำหรับรายได้ทั้งปี 2011 เอชพีคาดว่ายอดจำหน่ายในไตรมาสที่เหลือของปีจะทำให้เอชพีมีรายได้ทะลุ 1.27 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 1.29-1.30 แสนล้านเหรียญ บนกำไรที่คาดว่าจะลดลงเหลือ 3.59-3.70 เหรียญต่อหุ้น จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 4.27 เหรียญต่อหุ้น
       
       Company Related Link :
       HP

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1546 Views
Last post January 30, 2012, 04:33:25 PM
by Nick
0 Replies
1453 Views
Last post February 29, 2012, 01:29:10 PM
by Nick
0 Replies
1503 Views
Last post August 16, 2012, 01:27:26 PM
by Nick
0 Replies
1431 Views
Last post September 03, 2012, 01:26:19 PM
by Nick
0 Replies
1513 Views
Last post October 05, 2012, 01:35:59 PM
by Nick
0 Replies
1089 Views
Last post October 26, 2012, 01:04:45 PM
by Nick
0 Replies
1090 Views
Last post February 26, 2013, 11:57:04 AM
by Nick
0 Replies
1073 Views
Last post January 07, 2014, 01:50:15 PM
by Nick
0 Replies
1558 Views
Last post September 03, 2014, 01:47:59 PM
by Nick
0 Replies
1348 Views
Last post October 03, 2014, 01:40:16 PM
by Nick