Author Topic: เฟซบุ๊ค โร่ฟ้องศาลหวังจัดการ 'เจ้าพ่อสแปม' ขั้นเด็ดขาด เหตุป่วนผู้มานานนับปี  (Read 837 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


Sanford Wallace หรือฉายาที่เขาตั้งให้ตนเองว่า ‘Spam King’ หนึ่งในสแปมเมอร์บนโลกอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งได้ประกาศเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก หลังจากที่ถูกเฟซบุ๊คยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาล San Jose ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเจ้าพ่อน่ารำคาญใจรายนี้ได้ถูกกล่าวหาว่าได้ส่งข้อความสแปมเป็นจำนวนมากกว่า 27 ล้านข้อความให้แก่ผู้ใช้เฟซบุ๊คภายในระยะเวลาห้าเดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2008 จนถึง มีนาคม 2009

นอกจากนี้แหล่งข่าวยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า Wallace ได้เคยถูกฟ้องร้องในสามข้อหาที่สร้างความเสียหายโดยเจตนาไปยังคอมพิวเตอร์ที่ซึ่งอยู่ในการปกป้องของรัฐบาลสหรัฐฯ และสองข้อหาในเรื่องของการหมิ่นประมาททางอาญา ทั้งนี้ Wallace ผู้ซึ่งมีอาชีพเป็นนักสแปมเมอร์ มีประวัติอย่างโชกโชนในการสร้างความปั่นป่วนให้แก่ผู้ใช้ โดยเขาได้เริ่มต้นอาชีพการเป็นนักสร้างความรำคาญบนโลกออนไลน์ในช่วงกลางยุค 90 ด้วยการส่งแฟกซ์ขยะเผยแพร่ไปทั่วก่อนที่จะขยับชั้นมาเป็นการส่งสแปมอีเมลล์แทน และหลังจากนั้นในช่วงปี 1998 Wallace ก็ได้ประกาศเกษียณตนเองออกจากวงการสแปม แต่แล้วข้อความดังกล่าวก็ได้รับการพิสูจน์ภายในไม่กี่ปีต่อมาว่าเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ เจ้าพ่อสแปมรายนี้ยังได้รับการฟ้องร้องอีกหลายคดีจากทั้งคณะกรรมการสื่อสารของสหรัฐ (FCC) และเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ให้แก่ MySpace ถึง 230 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังเป็นเรื่องเป็นราวกันเมื่อปี 2008 รวมถึงค่าปรับอีก 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐฯ เมื่อห้าปีก่อน และล่าสุดกับเว็บไซต์เฟซบุ๊คที่ได้รับความเสียหายมูลค่าสูงถึง 711 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากฝีมือของ Wallace เมื่อปี 2009 โดยครั้งล่าสุดของการโจมตี เจ้าตัวกล่าวว่ามันแตกต่างจากที่เคยเป็นมา ทั้งนี้ Wallace ได้อ้างระหว่างการปรากฏตัวต่อศาลครั้งแรกว่าเขาไม่มีความผิด และขอประกันตัวออกไปด้วยจำนวนเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ

Source : TechSpot

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)