Author Topic: กระดาษอิเล็กทรอนิกส์พันธุ์ใหม่ เขียนซ้ำได้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า  (Read 1004 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


i2R e-paper

นักวิทยาศาสตร์ชาวไต้หวันเปิดความสำเร็จในการพัฒนาการะดาษอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเปเปอร์ (e-paper) พันธุ์ใหม่ ระบุว่าสามารถเขียนซ้ำใหม่ได้ด้วยความร้อน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสุดฤทธิ์เพราะไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานแม้แต่โวลต์เดียว คาดสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งหนังสือดิจิตอลและบอร์ดกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องพึ่งพาพลังไฟฟ้าเป็นหลัก
       
       กระดาษอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติไต้หวันนี้มีชื่อเรียกว่า "i2R e-paper" จุดเด่นคือการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะความสามารถในการเขียนใหม่ได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า จุดนี้เองทำให้ i2R e-paper มีความแตกต่างจากกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องอ่านอีบุ๊กปัจจุบัน เพราะกระดาษไฮเทคเหล่านั้นยังคงต้องใช้ไฟฟ้าในการเปลี่ยนข้อมูลบนหน้ากระดาษอยู่
       
       i2R e-paper เป็นฝีมือการพัฒนาของสถาบันวิจัย Industrial Technology Research Institute ของไต้หวัน โดย Frank Hsiu เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำศูนย์ Display Technology Centre ของสถาบัน อธิบายว่า i2R e-paper นั้นใช้พลังงานความร้อนในการเก็บหรือส่งภาพบนพื้นผิวกระดาษไฮเทค โดยข้อมูลบนพื้นผิวของอีเปเปอร์ที่สามารถโค้งงอได้นี้จะถูกลบออกด้วยการนำดิสเพลย์นี้ไปเสียบเข้ากับเครื่องเขียนข้อมูลด้วยความร้อน ซึ่งมีกลไกลักษณะเดียวกับอุปกรณ์ในเครื่องโทรสาร ทำให้ภาพบนดิสเพลย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
       
       นักวิทย์ไต้หวันเชื่อว่า i2R e-paper สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อย่างหนังสือดิจิตอล กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ ผลการศึกษาของทีมพบว่ากระดาษหนึ่งแผ่นจะสามารถเขียนซ้ำได้เกิน 260 ครั้ง ซึ่งอาจจะสามารถเพิ่มจำนวนการเขียนซ้ำในการพัฒนาในอนาคตได้อีก
       
       สถาบันระบุว่าจะนำส่งงานวิจัยนี้ให้กับบริษัทไต้หวัน เพื่อนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อไป คาดว่าจะสามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาดไต้หวันได้ภายใน 1-2 ปีนับจากนี้ บนจำนวนกระดาษและต้นไม้ที่มนุษย์จะสามารถประหยัดได้มากขึ้นทั่วโลก

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)