Author Topic: ไอซีทีแง้มอาจยกเลิกสัญญาสัมปทาน  (Read 1093 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“ไอซีที” เผยเป็นไปได้สูงที่จะยกเลิกสัญญาสัมปทาน พร้อมสั่งทีโอที-กสทฯ หาแนวทางและแผนรองรับกรณีบอกเลิกสัญญาสัมปทานกับเอกชน มั่นใจไม่กระทบประชาชนที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่กระทรวงไอซีทีต้องเปิดโต๊ะประชุมคณะทำงานใหม่อีกครั้งหลัง 15 ส.ค.นี้ เนื่องจากต้องระงับการประชุม (4 ส.ค.54) เพื่อรอทีโอทีส่งแผนงานกลับมาก่อน
       
       นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานกรรมการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาร่วมการงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เปิดเผยว่า ตามแผนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ ในวันนี้ (4 ส.ค.54) มีอันจะต้องเลื่อนการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ ออกไปก่อน เนื่องจากต้องรอให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ส่งแผนคำนวณมูลค่าสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ทั้งผลประโยชน์ ผลได้ผลเสียและรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งได้วางกรอบให้ทางทีโอทีส่งแผนดังกล่าวกลับมาภายในวันที่ 15 สิงหาคมที่จะถึงนี้ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะทำงานอีกครั้ง
       
       "เมื่อได้แผนดังกล่าวแล้ว ขั้นตอนต่อไปคณะทำงานฯ ก็จะประชุมกันเพื่อหาแนวทาง และสรุปผลของการเจรจา โดยแนวทางอาจจะมีการเรียกคู่สัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอส หรือคู่สัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ประกอบด้วยบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัทลูกของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี บริษัทลูกเอไอเอส มาหารืออีกหรือไม่นั้น หรืออาจจะเรียกคู่สัญญาทั้งหมดมาพร้อมๆ กัน ก็จะต้องมีการหารือกับที่ประชุมก่อนว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร"
       
       ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้มากที่จะยกเลิกสัญญาสัมปทาน เนื่องจากความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสคช. ให้พิจารณาถึงความต่อเนื่องในการให้บริการต่อสาธารณชนเป็นหลัก
       
       อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกสัญญาตามมติของคณะกรรมการมาตรา 22 และ มาตรา 13 หรือเพิกถอนการแก้ไขสัญญาที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนจริงตามที่ว่า จะส่งผลกระทบให้ทีโอที และ กสทฯ ต้องศึกษาหาแนวทางรองรับกรณีบอกเลิกสัญญาสัมปทานกับเอกชน
       
       ส่วนผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น เชื่อว่าจะไม่มีผลอย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้ กระทรวงไอซีทีได้ปรึกษากับคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. แล้ว และยังมีประกาศคุ้มครองผู้บริโภคที่กำหนดให้ผู้ให้บริการจะต้องดูแลลูกค้าอย่างน้อย 1 ปี ในระหว่างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาให้บริการ หากเอกชนไม่ยอมรับการยกเลิกเพิกถอนสัญญาก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ เพื่อให้ศาลชี้ขาด
       
       สัญญาสัมปทานของแต่ละรายจะหมดลงไม่พร้อมกัน โดยสัญญาสัมปทาน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัทในเครือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี บริษัทในเครือ AIS สัญญาจะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2556 ขณะที่สัญญาสัมปทาน เอไอเอส จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558 บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC สัญญาจะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2562 ตามลำดับ
       
       ทั้งนี้ คณะกรรมการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาร่วมการงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกิดขึ้นมาจากตามมติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ที่ให้ทางกระทรวงไอซีทีทำการเจรจาและหาทางออกร่วมกันระหว่างคู่สัญญาสัมปทานของรัฐวิสาหกิจ และเอกชน ภายหลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน)
       
       Company Relate Link :
       ICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)