Author Topic: ปี 53 คนไทยซื้อของออนไลน์ 1.47 หมื่นล้านบาท  (Read 1065 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      PayPal เผยผลศึกษาคนไทยใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์เป็นมูลค่าสูงถึง 1.47 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา แนะผู้ค้าปลีกไทยปรับกลยุทธ์เพิ่มช่องทางจำหน่าย เพื่อเข้าถึงผู้ซื้อกำลังซื้อสูงในระบบออนไลน์ และชิงโอกาสต่อยอดธุรกิจในตลาดออนไลน์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
       
       PayPal เปิดเผยถึงผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ซึ่งถูกจัดทำโดยบริษัท นีลเส็นระบุว่า ในปี 2553 ขนาดของตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ของไทยมีมูลค่า 1.47 หมื่นล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์คนไทย 2.5 ล้านคน (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) มียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 13,181 บาท โดย 71% ของยอดรวมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดมาจากกลุ่มชนที่มีรายได้ปานกลาง
       
       เอเลียส กาห์เน็ม กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ PayPal ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กล่าวว่าคนไทยมองเห็นประโยชน์จากการซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยคนไทยชื่นชอบการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ในประเทศมากพอ ๆ กับเว็บไซต์ต่างประเทศ และใช้สื่อออนไลน์เพื่อหาซื้อสินค้าที่แตกต่างและหลากหลาย ไม่ใช่เพื่อมองหาสินค้าราคาถูกที่สุดเพียงอย่างเดียว
       
       ดังนั้นผู้ค้าปลีกภายในประเทศมีโอกาสที่จะแข่งขันกับเว็บไซต์ต่างประเทศ และควรจะเร่งสร้างร้านค้าออนไลน์ในทันที
       
       ผู้บริโภคคนไทย ใช้จ่ายเงินเกือบเท่ากันในการซื้อสินค้าปลีกออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ในประเทศคิดเป็นมูลค่า 6.1 พันล้านบาท (41%) เทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ 6.4 พันล้านบาท (44%) ส่วนที่เหลือ 2.2 พันล้านบาท (15%) เป็นการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุประเทศ ทั้งนี้ ผลการศึกษายังระบุถึงเหตุจูงใจของนักช้อปไทยในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ต่างประเทศคือ สินค้านี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย (45%) ผลิตภัณฑ์/บริการมีราคาถูกกว่า (36%) และมีความสะดวกในการซื้อเทียบเท่ากับการซื้อผ่านระบบออนไลน์ในประเทศ (30%)
       
       ผลการศึกษาในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยเมื่อซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์และผ่านมือถือ อาทิ ประเภทสินค้าที่เลือกซื้อออนไลน์มีความหลากหลาย สินค้าแฟชั่น 3.1 พันล้านบาท (21%) สาระบันเทิง 3.1 พันล้านบาท (21%) ผลิตภัณฑ์ไอที 2.4 พันล้านบาท (16%) การเดินทาง 1.8 พันล้านบาท (13%) การประกันภัยทั่วไป 1.1 พันล้านบาท (11%)
       
       สินค้าที่ชาวไทยเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์ในประเทศและต่างประเทศแตกต่างกัน คนไทยใช้จ่ายเงินซื้อตั๋วเครื่องบินในเว็บไซต์ต่างประเทศถึง 61% (696 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ท้องถิ่น (433 ล้านบาท) คนไทยใช้จ่ายเงินมากกว่า 27% สำหรับเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับในเว็บไซต์ต่างประเทศ (716 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ท้องถิ่น (562 ล้านบาท)
       
       อย่างไรก็ตามคนไทยใช้จ่ายเงินมากกว่า 17% สำหรับหนังสือในเว็บไซต์ท้องถิ่น (655 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ (561 ล้านบาท) คนไทยยังใช้จ่ายเงินมากกว่า 11% สำหรับสินค้าสุขภาพและความงามในเว็บไซต์ในประเทศ (526 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ (473 ล้านบาท) มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์/บริการทางด้านการเงิน (427 ล้านบาท) ในเว็บไซต์ในประเทศเป็นส่วนใหญ่
       
       ประเทศ 5 อันดับแรกที่คนไทยใช้จ่ายเงินซื้อของบนเว็บไซต์ต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกา (27%) ญี่ปุ่น (15%) จีน (14%) เกาหลีใต้ (13%) และฮ่องกง (10%)
       
       สุดท้ายคือ การซื้อสินค้าผ่านมือถือหรือm-commerce มีศักยภาพในการเติบโต โดยผู้ซื้อมากกว่า 837,000 คนใช้จ่ายราว 1.7 พันล้านบาทผ่านมือถือในปี 2553 คิดเป็น 11% ของตลาดรวมการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยปกติแล้วผู้ซื้อสินค้าผ่านมือถือจะซื้อสินค้าราคาถูกเช่น การดาวน์โหลดภาพยนตร์/เพลง/เกมส์ (27%) เสื้อผ้า/รองเท้า/เครื่องประดับ (23%) หนังสือ (19%) และตั๋วภาพยนตร์/การแสดง (11%) การใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนราว 1,600 บาท
       
       'เรื่องเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการไทยควรเร่งดำเนินการคือ การนำกลยุทธ์การจัดจำหน่ายหลายช่องทางมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ทั้งในร้านค้า ร้านค้าออนไลน์ และผ่านมือถือ ควรมีการจัดเตรียมสินค้าที่มีความหลากหลายและเพิ่มตัวเลือกในการชำระเงินที่มีความปลอดภัยมากขึ้นภายในเว็บไซต์และมือถือโดยสามารถทำธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ได้รวดเร็วเพียงไม่กี่คลิกเท่านั้น'
       
       Company Related Link :
       Paypal

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)