วิธีป้องกันและรักษา
วิธีป้องกันง่ายๆ คือ การกำจัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว ไม่ให้มันกำเริบ โดยมี
ข้อแนะนำต่างๆ ดังนี้
1. นอนหลับให้เพียงพอ - การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดสิวเช่นกัน เนื่องจากร่างกายเราอ่อนแอและเพลีย
2. อารมณ์ขัน - อารมณ์ขัน ทำให้เรามีความสุข ปราศจากความเครียด ซึ่งความเครียดเป็นสาเหตุของสิว
3. กินอาหารจำพวกผัก - การที่เรากินอาหารจำพวกผัก จะทำให้เราสามารถล้างพิษออกจากร่างกายได้ และยังมีวิตามินต่างๆ ซึ่งยังช่วยทำให้เราร่างกายแข็งแรงอีกด้วย
4. กินอาการที่มีไขมันสูงแต่พอดี - หากเราเกิดอาหารไขมันสูงมาก ๆ เข้าจะทำให้มีไขมันอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุอีกประการของการเกิดสิว
5. ล้างหน้าให้สะอาด - การล้างหน้าให้สะอาดทำให้ใบหน้าของเราไม่สกปรก เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน แต่ควรระวัง ไม่ควรล้างหน้าบ่อย เพราะจะทำให้หน้าของเราเสียสมดุล การล้างหน้า ควรล้างเพียง 2 ครั้ง เช้าเย็น ยกเว้น ช่วงที่เสร็จจากกีฬา, ออกกำลังกาย หรือ ช่วงที่คิดว่าหน้าเราสกปรกมากจริง ๆ สามารถล้างหน้าได้ตามต้องการ ควรล้างหน้าด้วยสบู่อ่อน ไม่ควรขัดถูใบหน้าไม่ควรใช้สบู่ที่แรง ๆ ควรล้างหน้าอย่างแผ่วเบา โดยล้างหน้าตั้งแต่ ใต้คางไปจนจรดแนวไรผมที่หน้าผาก หลังฟอกสบู่ต้อง ล้างสบู่ออกให้หมด ไม่ควรใช้ lotion หรือ astringent เช็ดใบหน้า เว้นเสียแต่ว่าผิวหนังมันมาก และก็ควรใช้ เฉพาะบริเวณที่ผิวมันมากเท่านั้น ควรสระผมอย่างสม่ำเสมอ ในผู้ที่มีผมมันมากอาจต้องสระผมทุกวัน
6. ใช้กระดาษซับหน้ามัน - หากหน้าเรามันมากๆ ลองเปลี่ยนมาใช้กระดาษซับหน้ามันแทน เป็นวิธีช่วยอีกทางหนึ่ง ควรซับแต่พอดี ไม่ควรซับทั้งวันจะดูไม่ดีและเสียนิสัย
7. หลีกเลี่ยงการจับหัวสิว - ยุ่งกับผิวให้น้อยที่สุด เพราะฝ่ามือของเรามีทั้งความสกปรก และ แบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดสิว
8. ใช้ยา
- กลุ่มยารับประทาน
1. ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ (Isotretinoin) มักจะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นสิวที่รุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอื่น ๆ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์เพราะ มีโอกาสเกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ เมื่อให้ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ ต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ถึงการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในขณะกินยาและหลังหยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน ควรงดบริจาคโลหิตระหว่างการรักษาและหลังการรักษาอย่างน้อย 3 เดือน ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะมีผลต่อความสูงของเด็กได้
2. ยาในกลุ่มของฮอร์โมน หรือ ยาคุม จะลดความมันของหน้าได้ประมาณ 20 - 30 % ไม่ควรใช้ในเด็กในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและหัวใจ และในผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมนอกจากนั้นยาอาจจะมีผลต่อเรื่องน้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง กระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
3. ยากลุ่มยาปฏิชีวนะมีใช้หลายตัว เช่น Tetracyclin, Doxycycline, Erythromycin การกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ อาจจะมีผลต่อการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ยากินทุกตัว ไม่ควรหาซื้อกินเอง ควรปรึกษาแพทย์โรคผิวหนังก่อนเสมอเพื่อทราบถึงผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้ยา ที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ - วิตามินเอมีสรรพคุณรักษาสิวอยู่ด้วย ซึ่งมียาทาใบหน้าที่มีส่วนผสมของวิตามิน A สุดอยู่ สามารถสอบถามตามร้านขายยาทั่วไป
- กลุ่มยาทา
1. ยาทาในกลุ่มวิตามินเอและอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Tretinoin, Adapalene ,Tazarotene ได้ผลดีโดยเฉพาะสิวอุดตัน และยังใช้เป็นตัวป้องกันไม่ให้สิวเกิดขึ้นใหม่ หรือน้อยลงได้ในระยะยาว แต่ยามีฤทธิ์ระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นใช้ในระยะแรกๆ
2. ยาทาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น 1% Clindamycin, Erythromycin, Metronidazole ซึ่งจะให้ผลในการลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อสิวอักเสบไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้อย่างเดียว เพราะทำให้สิวดื้อยาได้
3. ยาทากลุ่ม Benzyl peroxide มีฤทธิ์ในการลดจำนวนแบคทีเรียและลดการอักเสบของสิวแต่ยามีฤทธิ์ระคายเคืองได้บ้าง และกัดสีเสื้อผ้าได้ ระวังไม่ทำยาเลอะเสื้อผ้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าสีเข้ม
4. Azelaic acid ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อสิวและลดจำนวน Comedone ได้
5. ยากลุ่มอื่นๆ เช่น การฉีดสเตียรอยด์ปริมาณน้อยๆ ที่สิวอักเสบจะลดการอักเสบที่สิวได้เร็ว
9. ปรึกษาแพทย์ - หากใช้วิธีต่างๆ ไม่ได้ผล แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เป็นการดีที่สุด เนื่องจากสิวอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือ ฮอร์โมน ซึ่งการปรึกษาแพทย์จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ควรทำ
ที่มา: technoinhome.com