Author Topic: ทรูมูฟแจ้งความดีแทค 'คนต่างด้าว' ผิด กม.ไทย  (Read 817 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ศุภสรณ์ โหรชัยยะ ตัวแทนทรูมูฟ

ทรูมูฟแจ้งความตำรวจกองปราบปราม ดำเนินคดีดีแทค ซึ่งมีบริษัทรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำผิดกฎหมายไทย
       
       บริษัท ทรู มูฟ ได้ยื่นแจ้งความตำรวจกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับดีแทค ซึ่งมีเทเลนอร์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ฝ่าฝืนกฎหมายไทย เรียกร้องตำรวจกองปราบปรามตรวจสอบ หวังศาลชี้ชัดเรื่องสัญชาติ มีหลักฐานจากรายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียน กรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการและการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 พบบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) เป็น “คนต่างด้าว” ตามกฎหมาย เนื่องจากมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นโดยคนไทย 28.65% และมีคนต่างด้าวถือหุ้นมากถึง 71.35% โดยกระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆ จำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทน
       
       บริษัท ทรู มูฟ มอบหมายให้ นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ เป็นตัวแทนเข้าแจ้งความตำรวจกองปราบปรามให้ดำเนินคดีกับดีแทคและกลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทที่มีพฤติกรรมสนับสนุน 'คนต่างด้าว' คือ ดีแทค ที่เป็นนิติบุคคลให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของต่างด้าวได้ โดยหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 4
       
       ทั้งนี้ ตามที่ปรากฏในรายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียน กรณีปัญหาการถือหุ้นการครอบงำกิจการและการถือกรรมสิทธิ์ในทีดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ประกาศวันที่ 21 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณูปโภคและการให้บริการสาธารณชนทั่วประเทศ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรและความมั่นคงของประเทศ ป้องกันการครอบงำของต่างประเทศไม่ให้ถือหุ้นเกิน 49%
       
       นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ ตัวแทนทรู มูฟ กล่าวว่า บริษัทพร้อมต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ต้องเข้ามาลงทุนอย่างจริงใจ โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลชัดเจน และเนื่องจากดีแทคมีผู้ถือหุ้น คือเทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องแสดงตนให้ชัดเจนที่จะเข้ามาทำธุรกิจโทรคมนาคมในไทย ซึ่งเป็นธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว มิใช่กระจายการถือหุ้นให้กลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆ จำนวนมากเป็นผู้ถือหุ้นแทน เพื่อปกปิดสัญชาติ และทำให้คนทั่วไปหลงผิดว่า เป็นบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งตามรายงานผลการพิจารณา คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ข้างต้น ชี้ว่า ดีแทค เป็น 'คนต่างด้าว'
       
       ดังนั้น ดีแทค ซึ่งมีเทเลนอร์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เข้ามาประกอบธุรกิจหรือครอบงำกิจการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าวของประเทศ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติซึ่งสืบเนื่องมาจากคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่าและมีใช้อยู่อย่างจำกัดแล้ว ยังจะก่อความเสียหายอย่างมหาศาลแก่ประเทศไทยอีกด้วย
       
       ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่ดีแทคแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เพียง 49% แต่ปรากฏว่า ในความเป็นจริง บริษัทเทเลนอร์ ได้แจ้งข้อมูลการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศนอร์เวย์และประเทศสิงคโปร์ว่า บริษัทเทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ถือหุ้นในดีแทคเป็นสัดส่วนประมาณ 66.50% ซึ่งเป็นการกระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมายไทยอย่างชัดแจ้ง เพราะเป็นการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ และต้องใช้คลื่นความถี่ (Air wave) ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่าสูงยิ่งและมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้สอดคล้องกับรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
       
       บริษัทจึงดำเนินการแจ้งความต่อตำรวจกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดี ดีแทค ซึ่งมีเทเลนอร์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กระทำความผิดฝ่าฝืนกฎหมายไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 4 รวมทั้งกลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่สนับสนุนและเอื้อประโยชน์ให้คนต่างด้าวที่เป็นนิติบุคคล ให้สามารถทำธุรกิจโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าว และจะผลักดันให้มีความชัดเจนในการตีความเรื่องสัญชาติของดีแทค ซึ่งหากมีการตีความที่ชัดเจนโดยศาลแล้ว จะทำให้กรณีต่างๆ ในวงการโทรคมนาคมชัดเจนยิ่งขึ้น
       
       'การแจ้งความให้มีการดำเนินคดี ดีแทค และกลุ่มบุคคลและกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อให้มีการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งมิให้มีพฤติกรรมการสนับสนุน และหรือการหลีกเลี่ยงกระบวนการข้อกฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานของการบังคับใช้ทางกฎหมายต่อไป' นางศุภสรณ์ กล่าวสรุป
       
       Company Related Link :
       DTAC
       True

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)