Author Topic: ไทยร่วมทดสอบ "IPv 6" พร้อมกันทั่วโลก  (Read 863 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ไอซีทีขานรับกระแสอินเทอร์เน็ตโลกถึงจุดเปลี่ยน ผนึกหน่วยงานภาครัฐ เอกชนทดสอบใช้ไอพีวี 6 พร้อมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ระบุเป็นการอัพเกรดระบบอินเทอร์เน็ตโลกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี เผยไทยตื่นตัวใช้งานติดอันดับ 7 เอเชีย ระบุผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งมีโอกาสแจ้งเกิด
 
นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวหลังสัมมนา ”ก้าวสู่จุดเปลี่ยนไอพีวี 6ประเทศไทย” วานนี้ (9 มิ.ย.) ว่าไอซีทีได้ร่วมกับภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทดสอบระบบไอพีวี 6 พร้อมกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งถือเป็นวัน “World IPv6 Day” เพื่อทดสอบการใช้งานร่วมกันระหว่างไอพีวี4 และไอพีวี6
 
“สถานการณ์ของหมายเลขไอพีวี 4 กำลังขาดแคลน โดยคาดว่าจะเกิดกับภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคแรกของโลกในเร็วๆ นี้ และสร้างปัญหาต่อการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต ทำให้การขับเคลื่อน ให้เกิดการใช้งานไอพีวี 6 อย่างเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน ผลที่ได้รับวันนี้จะนำไปสู่การวางแผนเพื่อเตรียมตัวและดำเนินการเพื่อการใช้งานต่อไปในอนาคต”
 
ทั้งนี้ การวางแผนเพื่อเตรียมตัว และดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการใช้งานไอพีวี6 ภายในปี 2554 และปี 2555 ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจและบริการสามารถดำเนินต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นการอัพเกรดอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี
 
นายสินชัย กมลภิวงศ์ นายกสมาคมไอพีวี6 ประเทศไทย กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้ ทำร่วมกันเป็นครั้งแรกของโลก โดยไทยได้เริ่มทดสอบตั้งแต่เวลา 7.00 น ของวันที่ 8 มิ.ย.ถึงเวลา 6.59 น.ของวันที่ 9 มิ.ย รวม 24 ชั่วโมง หน่วยงานที่เข้าร่วมทดสอบครั้งนี้ เช่น กระทรวงไอซีที บมจ.ทีโอที บมจ.กสท. ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายมหาวิทยาลัยภาครัฐ(ยูนิเน็ต) รวมถึงผู้ให้บริการเว็บไซต์ชื่อดัง เช่น ยาฮู Google และเฟซบุ๊ค
 
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ที่มีการทดสอบไปบ้างแล้ว โดย เว็บเสิร์ช Google พบว่ามีปัญหาในการใช้เพียง 0.05% แต่ส่งกระทบต่อผู้ใช้งานจำนวน 3 ล้านราย เป็นเหตุผลว่าทำไมGoogleยังไม่เปลี่ยนไปใช้งานในทันที ขณะที่รายอื่นๆ นั้นยังไม่มีการรายงานผลออกมา



ประเมินไทยใช้เวลาเตรียม 3ปี

เขา ประเมินว่า ประเทศไทยต้องใช้ระยะเวลาเตรียมความพร้อม 3ปี โดยเบื้องต้นต้องฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานไอทีภาครัฐก่อน เพื่อให้มีความรู้เรื่องไอพีวี6 อย่างน้อย 3,000 คน ส่วนด้านซอฟต์แวร์ เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนด้วย เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐของไทยพร้อมเข้าสู่การใช้งานได้จริงในปี 2558
 
นายสินชัย กล่าวว่า เบื้องต้นจะต้องบรรจุเรื่องการใช้งานไอพีวี6 เข้าไปเป็นมาตรฐานในข้อกำหนดทางเทคนิค (ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างในทุกๆ โครงการ แต่ปัจจุบันประเทศไทยนับว่า มีการตื่นตัวการใช้งานพอสมควร สถิติล่าสุดถึงวันที่ 6 มิ.ย. ติดอันดับที่ 7 ของภูมิภาคเอเชีย และอันดับที่ 21ของโลก ของประเทศที่มีการขอใช้มากที่สุด
 
ทั้งนี้ สถิติการใช้งานไอพีวี6 ทั่วโลกมีอยู่ไม่ถึง 1% อันดับประเทศที่ตื่นตัวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.สหรัฐอเมริกา 2.รัสเซีย 3.เยอรมันนี 4.อินโดนีเซีย 5.ออสเตรเลีย และหากการเปลี่ยนสามารถทำได้สมบูรณ์จะทำให้หมายเลขไอพี ที่สามารถใช้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 ยกกำลัง 128 เลขหมาย จากเดิมที่ในไอพีวี4 มีเพียง 2 ยกกำลัง 32 เลขหมาย หรือคิดเป็น 4 พันล้านเลขหมายเท่านั้น
 
 “การเปลี่ยนแปลง ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไปราว 10ปี หากมองภายในประเทศขณะนี้ยังถือว่าไม่มีความสนใจเท่าที่ควร มีเพียงในระดับเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นใน การทรวงไอซีที และหน่วยงานในสังกัด และภาคเอกชนบางส่วนเท่านั้น ในการทดสอบครั้งนี้หวังว่าแอพพิเคชั่นและเว็บไซด์ต่างๆจะสามารถทำงานได้เป็นปกติ และหากพบปัญหาเพียงเล็กน้อยนั่นหมายความว่าไทยมีความที่จะเปลี่ยนไปใช้ไอพีวี 6 แล้ว”
 
นายสินชัย กล่าวต่อว่าหลังจากนี้ ไอพีวี4 ที่หมดไปแล้ว จะถูกนำออกมาขายในตลาด ยกตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ ไมโครซอฟท์ใช้เงินไปกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อไอพีวี4 จำนวน 6 แสนเลขหมาย ไปใช้ และส่งผลให้องค์กรที่ดูแลเรื่องการจัดสรรค์ด้านไอพีเริ่มมีกฎที่เข้มงวดมากขึ้น โดยคนที่ซื้อไปใช้จะไม่สามารถมีสิทธิ์ขาดในการเป็นเจ้าของได้



คาดผู้ใช้งานเน็ตทั่วไปไม่กระทบ

สำหรับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไป จะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากความเร็วของทั้งไอพีวี4 และไอพีวี6 ไม่ต่างกันมาก แต่จะมีปัญหากับแอพพลิเคชั่นที่ใช้ร่วมด้วย ที่จำเป็นต้องรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบปฏิบัติการณ์วินโดว์ส ต้องเป็น วินโดว์ส เอ็กซ์พี เซอร์วิส แพ็ค2 ขึ้นไป
 
ส่วนโอกาสทางการตลาด ฮาร์ดแวร์กลุ่มอุปกรณ์ประเภทเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น เราท์เตอร์ และเอดีเอสแอล ไวไฟ จะมีโอกาสเติบโตมากขึ้น ส่วนซอฟต์แวร์ คาดว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง และบริการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไอพีจะได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน
 
ขณะเดียวกัน หากไทยมี 3จีใช้จริง ไอพีวี6 จะทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่เป็นโมบายอินเทอร์เน็ตแบบแท้จริง ด้วยขีดความสามารถที่ทำให้อุปกรณ์ต้นทาง และปลายทางเชื่อมโยงไอพีหากันได้โดยตรง และไอพีวี6 ยังมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยมากกว่าไอพีวี4
 
นายวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์พันทิปดอทคอม กล่าวว่า การลงทุนเปลี่ยนแปลงจะไปตกหนักอยู่กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) เป็นหลัก ในส่วนของเว็บพันทิป ได้เริ่มเตรียมด้านพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อรองรับไปแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาเพียง 2-6 เดือนก็แล้วเสร็จ
 
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอม ผู้ให้บริการเว็บไซต์ www.TARAD.com กล่าวว่า เว็บตลาดฯ ได้ร่วมทดสอบไอพีวี6 กับ บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย หรือไอเน็ต ในครั้งนี้ด้วย โดยถือเป็นเว็บไซต์ไทยเว็บเดียวที่ร่วมทดสอบกับเว็บไซต์ทั่วโลก โดยที่ผ่านมา ยังไม่มีภาคเอกชนสนใจนำไอพีวี6 ไปใช้มากนัก เพราะยังไม่เห็นความจำเป็น
 
ขณะที่ ไอเอสพีไทยหลายแห่ง ก็ยังไม่เปิดให้บริการไอพีวี6 เพราะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้การนำไอพีวี6 มาใช้ในเชิงพาณิชย์ของไทย ยังไม่ตื่นตัวและเติบโตมากนัก

 
ข่าวโดย กรุงเทพธุรกิจ


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6876 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
6191 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
5870 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7833 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
6347 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick
0 Replies
4381 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
7565 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5264 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6728 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3130 Views
Last post April 16, 2011, 03:17:14 PM
by Nick