Author Topic: อหังการหัวเว่ย 4G บนเวทีโลก (รายงาน)  (Read 848 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      คำว่าโกอินเตอร์คือคำบรรยายสถานภาพที่เหมาะสมของยักษ์ใหญ่โลกสื่อสารแดนมังกรอย่างหัวเว่ยในนาทีนี้ ถามว่าหัวเว่ยมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้บริษัทจีนสามารถมีอิทธิพลและบทบาทเป็นผู้เล่นหลักในตลาด 4G และมีแวว"แทนที่"เจ้าตลาดฝั่งตะวันตกอย่างน่าตกใจ หนึ่งในคำตอบคือการพิสูจน์ตัวเองด้วยการปักหลักร่วมพัฒนากับพันธมิตรโอเปอเรเตอร์อย่างใกล้ชิดประเภท "ผูกกันตัวต่อตัว"
       
       ตัวอย่างมนต์ขลังของนโยบายตัวต่อตัวที่หัวเว่ยใช้มัดใจโอเปอเรเตอร์บนเวที 4G อย่างอยู่หมัดคือกรณี "เทเลนอร์ นอร์เวย์" ที่เลือกหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย LTE เพื่อให้เทเลนอร์สามารถทดสอบนานาบริการและแอปพลิเคชัน 4G ที่กรุงออสโลว์ ประเทศนอร์เวย์
       
       หัวเว่ยดึงพนักงานกว่า 120 คน มากกว่า 23 สัญชาติ มาทำงานร่วมกันกับเทเลนอร์พร้อมกับตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมโครงข่ายร่วมกันในชื่อ Joint Innovation Centre (JIC) โดยเช่าเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่จากสำนักงานใหญ่เทเลนอร์ในนอร์เวย์ บนโครงสร้างองค์กรคือการทำงานประกบบุคลากรเทเลนอร์ชนิด"Pair"หรือคู่กัน
       
       จุดนี้น่าสนใจเพราะศูนย์ JIC นี้เป็นศูนย์ความร่วมมือพัฒนาโครงข่าย 4G ร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์ซึ่งมีที่ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียว แถมนอร์เวย์ยังเป็นพื้นที่เดียวที่โครงข่ายหลักของหัวเว่ยถูกติดตั้งแบบยกชุดเนื่องจากพื้นที่อื่นในเทเลนอร์กรุ๊ปก็ยังคงเลือก"อีริคสัน"เช่นในสวีเดนหรือประเทศไทยเอง โดยหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงข่าย 4G ให้เทเลนอร์สวีเดน แต่ก็ยังไม่ทิ้งอีริคสันเช่นกัน
       
       จุดนี้มีการคาดว่าหากดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์และอีริคสันจะสร้างศูนย์พัฒนาร่วมกัน ก็คงไม่ได้ออกมาในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากรและความชำนาญด้านโครงข่ายร่วมกันเช่นนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันพัฒนาด้านแอปพลิเคชันมากกว่า
       
       เจ้าหน้าที่ JIC ของหัวเว่ยในเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เล่าว่า ศูนย์ JIC นี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ที่ผ่านมาหลังการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์นอร์เวย์เมื่อปี 2009 ในโครงการจัดหาอุปกรณ์ในภาคเรดิโอของเครือข่ายแอลทีอี (LTE radio access) และในส่วนอุปกรณ์หลัก (EPC: Evolved Packet Core) สำหรับการทดสอบเครือข่ายแอลทีอี (LTE: Long Term Evaluation) ที่เมืองออสโล ซึ่งมีระยะเวลาโครงการต่อเนื่อง 6 ปี
       
       หลายโครงการพัฒนาเรียบร้อยในปีที่แล้ว เช่น เทคโนโลยี LTE QoS หรือเทคโนโลยีจัดสรรแบนด์วิดท์ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แพกเกจแพงกว่าสามารถใช้งาน LTE ได้ดีกว่า สำหรับปี 2011 ศูนย์ JIC มีโครงการรออยู่มากกว่า 10 โครงการ ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 10 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 570 ล้านบาท
       
       หัวเว่ยการันตีว่าศูนย์ JIC นี้ทำให้เทเลนอร์นอร์เวย์สามารถลดเงินทุนได้ถึง 30% เพิ่มชั่วโมงใช้งานดาต้าของลูกค้าได้มากกว่า 40% นำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเทเลนอร์มากกว่า 3%
       
       ถามว่าหัวเว่ยได้อะไรกลับมา หัวเว่ยไม่ได้บอกว่าได้ใจอย่างเดียว แต่หัวเว่ยสามารถทดสอบและพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ เพื่อการันตีตัวเองว่าเลือกหัวเว่ยแล้วไม่ผิดหวัง
       
       ประเด็นนี้เองที่ทำให้เทเลนอร์ นอร์เวย์หันมาเลือกใช้โครงข่าย LTE ของหัวเว่ย ซึ่งการันตีว่ามีแบนด์วิดท์รวมถึง 120Mbps แน่นอนว่าหัวเว่ยจะไม่หยุดนิ่งเฉพาะที่นอร์เวย์ แต่กำลังมีแผนขยายขอบเขตงานของศูนย์ JIC ไปที่สวีเดน บังกลาเทศ และปากีสถาน
       
       สำหรับโครงการเปลี่ยนเครือข่ายหรือ Network Swap ซึ่งหัวเว่ยลงมือให้เทเลนอร์นอร์เวย์ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 900 ไซต์ในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะขยายเป็น 600 ไซต์ต่อเดือนตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางทีมงานกว่า 50 ทีม ทั้งหมดรวมทั้งการ Swap ที่เป็น Hot Swap (การเปลี่ยนเครือข่ายโดยที่เครือข่ายเก่ายังทำงานอยู่) และ Cold Swap (เปลี่ยนเครือข่ายโดยปิดเครือข่ายก่อน) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้
       
       อย่างไรก็ตาม แม้จะไปได้สวยในเวทีโลก แต่ในเมืองไทย หัวเว่ยก็ยังไม่สามารถครองใจบริษัทในเครือเทเลนอร์อย่างดีแทค โดยแม้หัวเว่ยจะได้รับเลือกให้ ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย 3G เพื่อทดสอบตั้งแต่ปี 2009 แต่ดีแทคก็ตัดสินใจให้อีริคสันมาเป็นซัปพลายเออร์หลักในโครงการ Network Swap อยู่ดี จุดนี้ผู้บริหารดีแทคย้ำว่าภาพความพร้อมของซัปพลายเออร์เครือข่ายในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย อีริคสันยังทำได้ดีกว่า
       
       นอกจากเทเลนอร์ หัวเว่ยยังติดตั้งโครงข่าย LTE ให้บริษัทเทเลียโซเนอรา (TeliaSonera) ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียและกลุ่มประเทศบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเทเลนอร์ โดยความคืบหน้าล่าสุดคือการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท TELUS เพื่อตั้งศูนย์ JIC ที่แคนาดา เพื่อพัฒนาโซลูชันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบไร้สายและมีสาย ระยะเวลาโครงการคือ 3 ปี โดยหัวเว่ยถือหุ้นในศูนย์ 50%
       
       อย่างนี้ไม่เรียกโกอินเตอร์ แล้วจะเรียกว่าอะไรดี

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)