Author Topic: งามไส้ไอซีที ประชาชนรู้จักพ.ร.บ.คอมพ์ฯ ดีแค่ 0.98%  (Read 961 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      สวนดุสิตโพลทำกระทรวงไอซีทีอึ้ง หลังสำรวจความคิดเห็นของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 พบว่าประชาชนไม่รู้จักเกือบครึ่งรับรู้เป็นอย่างดีแค่ 0.98%
       
       นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที ) กล่าวถึงการจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า กระทรวงไอซีทีจะจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 เป็นครั้งที่ 2 หลังได้รับความสนใจจากครั้งแรก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วิทยากรขององค์กรต่างๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 250 คน เพื่อให้เป็นผู้แทนไปเผยแพร่แก่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการอบรมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การอบรมภาคทฤษฎี และการอบรมภาคปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 4-6 ก.ค.2554 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
       
       ทั้งนี้ ภายหลังจากที่กระทรวงไอซีทีได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับ 5 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้ไอซีทีอย่างถูกต้องไปตั้งแต่ปี 2552 และได้มีการจัดประชุมทางวิชาการในเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อประชาชนในทุกภาคส่วนให้ครอบคลุมทั่วประเทศในเดือน พ.ย. 2552 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีผู้เข้าอบรม 302 คน มีการประเมินผลการอบรมดังกล่าวไว้ในระดับดี
       
       ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้น มีมหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก วิทยาลัยทองสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รวมถึงภาคประชาชนให้ความสนใจเข้ามาร่วมโครงการในลักษณะของอาสาสมัครภาคประชาชน คือ องค์การความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต
       
       นางสาวพรรณี สวนเพลง ประธานคณะทำงานโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ. คอมพ์ ฯ 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กล่าวว่า สวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ซึ่งได้สำรวจกับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเป็นประจำในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีจำนวน 409 คน โดยสำรวจตั้งแต่วันที่ 24–30 พ.ค. พบว่า
       
       1.ประชาชนมีความรับรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. เป็นอย่างดีเพียงแค่ 0.98% พอรับรู้บ้าง 33.01 % ไม่ค่อยรู้ 49.14 % และไม่มีการรับรู้เลย 16.87% 2.การกำกับดูแล พ.ร.บ.ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงไอซีที 55.72% ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค 33.82% กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ 4.87% และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4.14 % 3.ประชาชน 74.33% ทราบว่า พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มีขึ้นเพื่อป้องกันการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดและก่อให้เกิดความ เสียหายต่อบุคคล ส่วนราชการยังมีส่วนที่ไม่ทราบดังกล่าว 25. 67%
       
       4.ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ว่าถ้าหากเกิดการละเมิดสิทธิของผู้อื่นจะถูกลงโทษ 26. 65% การโพสต์ข้อความกล่าวร้าย หรือ การนำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่ทำให้เกิดความเสียหาย 17. 42% การเปิดสื่อลามกอนาจาร หรือการโพสต์รูปลามกอนาจารมีความผิด 15.81% การโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว 12.58% หากนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ระบุแหล่งที่มาอาจจะเข้าค่ายความผิด 8.39% และอีก 29.54% เป็นการนำไวรัสไปปล่อยในอินเทอร์เน็ต การโจรกรรมข้อมูล และการโฆษณาเกินจริง
       
       5.ประชาชนทราบเกี่ยวกับการเฝ้าระวังไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ 74.33% และไม่ทราบเรื่องดังกล่าวอีก 25.67% 6.ประชาชน ทราบว่า การให้ข้อมูลกับผู้อื่นเพื่อเข้าใช้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ต และหากผู้อื่นนำไปกระทำความผิดจะได้รับความผิดไปด้วยถึง 70.17% และไม่ทราบเรื่องดังกล่าวอีก 29.83 %
       
       7.ประชาชาชนทราบว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 68.22% และไม่ทราบ 29.83% 8.ประชาชนคิดว่า พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มีความจำเป็นต่อการทำงาน 58.44% และเห็นว่าไม่มีความจำเป็น 41.56% 9.ประชาชนไม่เคยประสบปัญหาจากการละเมิดหรือการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 90.95% ไม่เคย 7.82%
       
       10.ประชาชนเห็นว่า พ.ร.บ. คอมพ์ฯ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการละเมิด หรือการกระทำความผิดได้บ้าง 65.28% ช่วยแก้ไขได้มาก 16.87% ช่วยไม่ค่อยได้ 12.71% และช่วยไม่ได้เลย 3.67% 11.ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ 91.93% ได้รับผลกระทบ 6.11% และ 12.ประชาชนสนใจ ที่จะเป็นอาสาเฝ้าระวังการกระทำความผิด 29.58% ไม่สนใจ 69.19%
       
       ด้านพ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าสาเหตุที่ ประชาชนรับรู้ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เพียง 0.98% อาจเป็นเพราะว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และขาดการรับรู้ความรู้ที่ชัดเจน รวมทั้ง กระทรวงไอซีทีมีงบประมาณน้อย จึงไม่เพียงพอต่อการอบรม
       
       Company Relate Link :
       MICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)