Author Topic: ค่ายเกมออนไลน์โต้ไม่ขายไลเซ่นพ่วง  (Read 1130 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline IT

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1175
  • Karma: +6/-0
  • Gender: Male
  • Assist. I.T. Manager
    • mv



ค่ายเกมประสานเสียง โต้กระแสเอาเปรียบผู้บริโภคและขายพ่วงไลเซ่น ฟากยักษ์ใหญ่ "เอเชียซอฟท์" ย้ำชัดโมเดลธุรกิจเกมออนไลน์ยังเปิดให้เล่นฟรี

นายเลิศชาย กันภัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จากกระแสข่าวที่มีผู้ร้องเรียนกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ว่าร้านเกมหลายแห่งถูกบริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ บีบบังคับให้ซื้อลิขสิทธิ์เกมออฟไลน์ หรือเกมที่ไม่ได้รับความนิยม พ่วงไปกับเกมดัง ในส่วนของบริษัทเอง ไม่เคยมีนโยบายการจำหน่ายไลเซ่นเกมออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต หรือร้านเกม

เนื่องจากโมเดลธุรกิจเกมออนไลน์ปัจจุบัน จะเปิดให้ผู้เล่นสามารถเข้าเล่นฟรีผ่านเว็บไซต์ ขณะที่ผู้ให้บริการที่ซื้อลิขสิทธิ์จากผู้พัฒนาอีกต่อหนึ่ง ก็มีรายได้จากการขายแอร์ไทม์ หรือการ์ดเติมเงิน และค่าไอเท่มจากผู้เล่นเกมเท่านั้น

ส่วนระบบสมาชิก "เอ คาเฟ่" เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อทำระบบสมาชิกร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่สนใจเข้าเป็นสมาชิกของเอเชียซอฟท์ ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ในการให้บริการเกมออนไลน์ในร้าน เช่น แผ่นเกมออนไลน์ฟรีเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไม่ต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เกมเอง รวมทั้งสื่อส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น โปสเตอร์ และส่วนลดเกมออฟไลน์ (เกมกล่อง) โดยค่าสมาชิกจะคิดราคาแบ่งเป็นแพ็คเกจคล้ายกับสมาชิกเคเบิล ทีวี

ทั้งนี้ บริษัทได้ชี้แจงนโยบายดังกล่าว ให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้ารับทราบแล้ว ซึ่งผู้ดูแลก็ยอมรับ และเข้าใจแนวทางการดำเนินธุรกิจของเอเชียซอฟท์ ว่าไม่ได้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่เข้าใจว่าเป็นระบบของหน่วยงานรัฐ ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการหลายขั้นตอน

"ข่าวการขายพ่วงไลเซ่นเกมนั้น คาดว่ามาจากตลาดเกมกล่อง ซึ่งสำหรับเอเชียซอฟท์ปัจจุบันมีจำหน่ายเพียง 4 เกม จากผู้พัฒนารายเดียวคือบริษัท วิซาร์ด (Wizard) เช่น วอร์คราฟ ซึ่งผู้ผลิตได้ทำข้อตกลงให้จำหน่ายเกมแบบหลายเกมในครั้งเดียว ทั้งนี้เพื่อเฉลี่ยค่าลิขสิทธิ์ให้ต่ำลง เนื่องจากจะได้ราคาที่ต่ำกว่าการซื้อเพียงเกมเดียว โดยปัจจุบันตั้งราคาขายสำหรับผู้ประกอบการ 1,200 บาทต่อเครื่อง และจะได้รับสิทธิลงเกมทั้ง 4 เกม ซึ่งจะมีราคาเท่ากับการซื้อสิทธิเพียงเกมเดียวตามนโยบายของผู้ผลิตเกม" นายเลิศชายกล่าว

ด้าน นายทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เอ็นซี ทรู จำกัด กล่าวว่า เอ็นซีทรู ไม่เคยมีนโยบายการขายไลเซ่นเกมออนไลน์ เนื่องจากใช้โมเดลการตลาดเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นคือ ให้เล่นฟรี แต่จะมีรายได้จากค่าแอร์ไทม์หรือไอเท่ม

ส่วนรายได้จากผู้ประกอบการร้านเกมไม่มี เพราะถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งทางร้านจะมีรายได้จากค่าเช่าเครื่อง ขณะที่ บริษัทก็จะได้ค่าแอร์ไทม์หรือไอเท่มตามปกติ

ทั้งนี้ ช่องทางรายได้ดังกล่าว ปัจจุบันถือว่ายังสามารถเลี้ยงตัวเกมได้ เพราะยังมีผู้เล่นเกมที่พอใจจะจ่ายค่าแอร์ไทม์ หรือซื้อไอเท่มพิเศษเพิ่มเติม

ปัจจุบัน เอ็นซี ทรู ให้บริการเกมออนไลน์ 2 เกม คือ ลินเนจ และ พอยท์แบลงค์ และคาดว่าครึ่งปีหลังจะเปิดตัวเพิ่มอีก 1 เกม

ขณะที่ นายพจน์ พันธ์ศิริพจน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟันบ็อกซ์ จำกัด ให้ความเห็นว่า กรณีดังกล่าว บริษัทมองว่าเป็น "สิทธิ" ของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจมีรูปแบบการทำตลาดที่แตกต่างกันไป เช่น การขายแบบเหมารวมหลายๆ เกม เพื่อให้เกมได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในราคาที่ไม่สูงเท่ากับการซื้อไลเซ่นเกมแบบเดี่ยวๆ

นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน มีผลต่อการต้นทุนของผู้ประกอบการร้านเกม ซึ่งพยายามหาทางลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เช่น การหลีกเลี่ยงซื้อไลเซ่นเกม หรือแม้แต่การใช้โปรแกรมผิดกฎหมาย

"ค่าไลเซ่นที่เก็บจากร้านเกมถือว่ายังต่ำมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ผู้ให้บริการต้องจ่าย ทั้งรายได้ส่วนใหญ่ที่ได้กลับมาก็ต้องกลับไปสนับสนุนการตลาดอยู่แล้ว เช่น ไอพี โบนัส และการแจกไอเท่มให้กับร้านเกม" นายพจน์ กล่าว


ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)