1. ถ้ามีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ป้องกัน มีโอกาสเสี่ยงหรือไม่
มีโอกาสเสี่ยงมากเพราะ
หนึ่ง เชื้อเอชไอวีอยู่ในน้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด ซึ่งมีปริมาณและคุณภาพดีมาก
สอง การมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่มีการส่งและรับน้ำอสุจิ น้ำในช่องคอลดโดยตรง
ในขณะที่เชื้ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมาก (ไม่สัมผัสอากาศ หรือไม่ได้ออกมานอกร่างกาย)
สาม มีช่องทางเข้าของเชื้อคือ ผ่านทางเยื่อบุผนังช่องคลอด เยื่อบุช่องทวาร
หรือเยื่อบุอ่อนปลายอวัยวะเพศชาย (หรือปลายท่ออสุจิ)
2. ถ้ามือมีแผล และสัมผัสโดนเลือด หรือน้ำอสุจิ หรือน้ำในช่องคลอด เสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีหรือไม่
โอกาสเสี่ยงมีน้อยมาก จนไม่มีเลย เพราะ
หนึ่ง แม้ว่าคุณภาพของเชื้อจะดีคืออยู่ในน้ำอสุจิหรือน้ำในช่องคลอด หรือเลือด
แต่ปริมาณของเชื้อที่เราสัมผัสนั้นจะไม่เท่ากับการสัมผัสโดยการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่
สอง ช่องทางเข้าของเชื้อ ต้องดูว่าแผลที่เราเป็นนั้นเป็นแผลแบบไหน ถ้าเป็นแผลที่เป็นมามากกว่าหนึ่งวัน แสดงว่าแผลนั้นเริ่มมีการเยียวยาตัวเองปากแผลเริ่มปิดแล้ว
(ปกติร่างกายจะสร้างเยื่อบางๆมาปกคลุมแผลเมื่อได้รับบาดเจ็บเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าแผล)
แบบนี้เชื้อเอชไอวีก็ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้
หรือต้องบอกว่าแผลที่จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีได้ต้องเป็นแผลเปิดกว้าง มีเลือดออก
และต้องเอาแผลนั้นไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีในปริมารมากๆ ซึ่งในกรณีนี้เป็นไปได้ยากมาก
3. โอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อ จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้าง
ถ้าเราจะเสี่ยงต้องมี 3 องค์ประกอบครบถ้วนคือ
a. ต้องได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี เข้าสู่ร่างกาย โดยต้องมาจากแหล่งที่มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะทำให้ติด
ได้แก่ เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด
b. เชื้อที่จะทำให้ติดต่อได้นอกจากเรื่องปริมาณแล้วเชื้อต้องมีคุณภาพและแข็งแรง
เช่น ในเลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด มีสภาพที่พอเหมาะที่จะทำให้ เชื้อเติบโตได้แต่ถ้าไปอยู่ในน้ำลาย น้ำตา
เชื้อไวรัสจะอยู่ในสภาพที่เป็นกรด เป็นด่าง ทำให้ ไม่มีคุณภาพ เติบโตไม่ได้
หมดความสามารถที่จะทำให้ติดต่อได้
c. ต้องเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการสัมผัส ส่งต่อเชื้อได้โดยตรง เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
หรือการร่วมเพศ ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อกันโดยตรงเช่นในกรณีการร่วมเพศ ถ้าฝ่ายชายมีเชื้ออยู่
เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุช่องคลอด หรือถ้าผู้หญิงมีเชื้ออยู่ เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกาย
ทางเยื่อบุที่ปลายและเยื่อบุในท่อปัสสาวะของ องคชาติ คนส่วนใหญ่จะกังวลกับการติดเชื้อเอชไอวี
จากช่องทางที่ไมมีหรือมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากๆ และมักจะไม่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เช่นการช่วยคนประสบอุบัติเหตุ การสัมผัสกับเลือดตามแต่จะสมมติกัน
แต่มักจะไม่คิดถึงช่องทางที่ทำให้ติดเอดส์จากวิถีชีวิตและพฤติกรรมทางเพศที่กระทำอยู่เป็นประจำ
ทั้งที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ป้องกัน
4. หากป้องกันด้วยการใส่ถุงยางอนามัยแต่ถุงยางเกิดรั่ว หรือแตกระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์
จะมีโอกาสเสี่ยงหรือไม่
โอกาสการรั่วของถุงยางอนามัยในปัจจุบันแทบจะไม่มีเลย
เนื่องจากถุงยางอนามัยถือว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องผ่านการรับรองคุณภาพ
จากองค์การอาหารและยา (อย.) และต้องผ่านมาตรฐานอุตสากรรม (มอก.) ก่อนออกจำหน่าย
หากพบว่าในรอบการผลิตนั้นๆมีถุงยางที่ชำรุดหรือไม่ได้คุณภาพ
จะทำการทิ้งถุงยางที่ผลิตในล๊อตนั้นหมดเพื่อประกันคุณภาพการผลิต
กรณีรั่วซึม หรือเสื่อมคุณภาพของถุงยางอนามัย จะเกิดได้หลายแบบ
เช่น ทิ้งไว้นานจนหมดอายุ เก็บไว้ในร้อนมาๆ หรือโดนแดดเป็นต้น
ถ้าถุงยางอนามัยรั่วจริงก็มีโอกาสเสี่ยง อย่างไรก็ตามเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อยนั้น
จะต้องพิจารณาจากปัจจัยเสริมอีกมากเช่น รั่วขนาดไหน เพื่อที่จะให้โอกาสเชื้อได้เข้าสู่เยื่อบุของอวัยวะเพศ
หญิง หรือชาย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอีกมาก สิ่งที่น่าจะตอบก็คือ ต้องประเมินเองว่า
โอกาสที่จะสัมผัสกับน้ำคัดหลั่งของคู่นอนในการมีเพศสัมพันธ์์มากน้อยแค่ไหนอย่างไร
ที่สำคัญยังไม่เคยมีการพบว่าเกิดการติดเชื้อจากถุงยางอนามัยรั่วมาก่อน
5. ทำออรัลให้กับอวัยวะเพศชายแล้วมีการหลั่งในปากอย่างเดียว โดยไม่มีการร่วมรักทางอื่น
หากอวัยวะเพศชายนั้นมีเชื้อเอชไอวี คนที่ใช้ปากทำให้จะ มีความเสี่ยงในการรับเชื้อหรือไม่่
ออรัล หมายถึงการใช้ปากกับอวัยวะเพศ การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายที่มีเชื้อเอดส์
มีรายงานการแพทย์แล้วว่าติดได้ แต่การใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิง ที่มีเชื้อเอดส์ยังไม่มีรายงานว่ามีคนติดเชื้อ
แต่อย่าเพิ่งตกใจเพราะการที่จะติดเชื้อจากการใช้ปากให้อวัยวะเพศชายนั้นต้องมีปัจจัยประกอบดังนี้
สำหรับอวัยวะเพศชาย ฝ่ายใช้ปากมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าฝ่ายถูกอม
ถ้ามีการหลั่งอสุจิและกลืนลงไปในปากร่วมด้วย
ในสหรัฐอเมริกามีงานวิจัยได้รายงานการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์ในฝ่ายผู้ที่ ใช้ปากดูดในชายรักร่วมเพศ ที่ติดเชื้อ HIV จำนวน 102 ราย (อายุเฉลี่ย 34 ปี , คนผิวขาว 75 %) พบว่า
19 รายที่ติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
3 รายใน 19 รายไม่สามารถจัดแบ่งประเภทได้เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอ
8 รายใน 19 รายจัดแบ่งใหม่เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้อ HIV จากความเสี่ยงอื่น นอกจากออรัลเซ็กส์
ที่เหลือ 8 รายคิดเป็น 7.8 % ใน 102 ราย
2 รายใน 8 ราย มีประวัติเพศสัมพันธ์ออรัลเซ็กส์อย่างเดียว
4 รายใน 8 รายมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักร่วมด้วยแต่ใช้ถุงยางอนามัย
2 รายใน 8 รายมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักร่วมด้วยโดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย
แต่มีคู่นอนเพียงคนเดียว และตรวจสอบแล้วผลเลือด HIV เป็นลบ
6. ทำออรัลให้กับฝ่ายหญิง โดยไม่มีการร่วมรักทางอื่น หากฝ่ายหญิงมีเชื้อเอชไอวี ฝ่ายที่ใช้ปากทำให้จะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อหรือไม่
ในทางทฤษฎีมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากจนแทบไม่มีเลย
และน่าจะบอกได่ว่าจากข้อมูลยังไม่พบรายงานการติดเชื้อด้วยวิธีนี้เลย
7. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยและหลั่งภายนอก จะมีโอกาสเสี่ยงจากติดเชื้อหรือไม่
โอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีไม่ว่ากรณีมีเพศสัมพันธ์ชายกับชายหรือกับหญิงถ้าไม่มีการป้องกันโดย
ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
แต่ก็อาจจะมีแตกต่างกันไป เช่นถ้ามีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ฝ่ายเจ้าของช่องคลอดมีเชื้อ
เจ้าของอวัยวะเพศชายไม่มีเชื้อ หลั่งข้างในหรือข้างนอกก็เสี่ยงเหมือนกันเพราะได้มีการสัมผัสเชื้อ
จากสารคัดหลั่งในช่องคลอดแล้วแต่ถ้าเจ้าของช่อคลอดไม่มีเชื้อเจ้าของอวัยวะเพศชายมีเชื้อแต่หลั่งข้างนอก
แน่นอนว่าความเสี่ยงก็จะลดลงกว่ามีการหลั่งข้างใน แต่ก็ไม่ได้บอกว่ามีความปลอดภัย
เนื่องจากในระหว่างสอดใส่อาจมีน้ำอสุจิบางส่วนที่ออกมาก่อน เมื่อถึงจุดสุดยอด และที่สำคัญเจ้าของทวาร
หรือช่องคลอดจะไม่มีทางรู้หรือกำหนดได้ว่าคู่นอนของเราจะหลั่งข้างนอกหรือข้างใน
ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่คู่นอนเป็นผู้ควบคุมไม่ใช่การร่วมกันควบคุม
8. การเล้าโลมภายนอก โดยไม่มีการสอดใส่ จะมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อหรือไม่
ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากการที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้นั้นจะต้องมีปัจจัย 3 ประการครบถ้วนคือ
1. ต้องมีการสัมผัสเชื้อจากสารคัดหลั่งที่มีปริมาณมากพอ
2. เชื้อที่สัมผัสต้องมีคุณภาพ
3. เชื้อต้องเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
ซึ่งการเล้าโลมภายนอกนั้นเชื้อจะไม่ได้เข้าสู่ร่างกายโดยตรงเพียงแค่สัมผัสภายนอกเท่านั้น
9. การจูบกันทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
หากนำปัจจัย 3 ข้อ (ตามข้อ 1) มาตอบสามารถฟันธงได้เลยว่า
จูบกันไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีแน่นอนเนื่องจาก
การจูบกันเราสัมผัสโดนน้ำลายของกันและกัน ในน้ำลายเชื้อเอชไอวีในปริมาณที่น้อยมาก
ไม่สามารถทำให้ติดต่อได้ ยิ่งพบว่าในน้ำลายมีสภาพเป็นกรดยิ่งทำให้เชื้อเอชไอวีด้อยคุณภาพลงไปอีก
ว่ากันว่าถ้าจะทำให้เกิดการติดเชื้อทางน้ำลายต้องใช้น้ำลายถึง 8 ปี๊บทีเดียว
และคงไม่มีใครจูบกันยาวนายจนได้น้ำลายมากขนาดนั้น
ส่วนที่กังวลว่าถ้าปากมีแผลจะเสี่ยงไหม ต้องบอกว่าแผลในปากที่เป็นกันทั่วไป
ไม่สามารถเป็นช่องทางรับเชื้อเอชไอวีที่มีอยู่น้อยนิดในน้ำลายได้
กรณีเดียวที่การจูบอาจทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อได้ก็คือ ต่างคนต่างมีเลือดสดๆออกมาจากแผลที่เปิดกว้าง
เช่นกัดกัน หรือกระแทกปากกันแรงๆจนเลือดไหล แล้วแลกจูบกัน ซึ่งกรณีแบบนี้ก็ไม่มีใครทำกัน
10. ถ้าจูบปาก ขณะมีแผลในปากล่ะ จะเสี่ยงไหม้
ไม่มีโอกาสเสี่ยง เพราะ
หนึ่ง ในน้ำลายแม้ว่าจะมีเชื้อเอชไอวี แต่ก็มีเชื้อในปริมาณที่น้อยมาก
(มีการเปรียบเทียบกันว่าถ้าจะติดเชื้อทางน้ำลายต้องใช้น้ำลายมากกว่า 8 ปี๊บ)
ดังนั้นเชื้อเอชไอวีในน้ำลายไม่สามารถทำให้ติดต่อได้
สอง เมื่อเชื้อเอชไอวีมีน้อยมากในน้ำลาย คุณภาพของเชื้อก็น้อยตามไปด้วย
และยิ่งในน้ำลาซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ก็ยิ่งไปทำให้เชื้ออ่อนแอมากยิ่งขึ้น
สาม ปากที่มีแผลร้อนใน ไม่สามารถเป็นช่องทางให้เชื้อเล็ดรอดเข้าไปได้
เนื่องจากแผลในปากเป็นแผลที่เล็ก ไม่เปิดกว้าง การที่เชื้อจะเล็ดรอดเข้าไปจึงเป็นไปไม่ได้
และยิ่งน้ำลายที่มีเชื้อน้อยมากอยู่แล้ว การจูบปากแบบทั่วไปไม่ได้ทำให้ติดเชื้อได้เลย
“ ที่สำคัญ คงไม่มีใครจูบปากกันไป กัดปาก กัดลิ้นกันไป จนเลือดกบปากกันทั้งคู่
ถ้าทำแบบนั้นก็อาจจะมีโอกาสเสี่ยงได้ แต่คนปกติทั่วไปคงไม่ทำแบบนั้นเป็นแน่ ”
11. เชื้อ HIV จะสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้นานแค่ไหน
บอกไม่ได้ ว่าเมื่อออกมานอกร่างกายแล้วจะอยู่ได้นานเท่าไร เพราะมีตั้งแต่ไม่ได้เลยจนระยะเวลาหนึ่ง
ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ปริมาณของสารคัดหลั่งที่ออกมามีมากน้อยแค่ไหนเลือดหนึ่งหยด
ก็มีปริมาณเชื้อและคุณภาพด้อยกว่า เลือดที่ออกมามากๆ หรือ สารคัดหลั่งที่ออกมาอยู่ในสภาพภายนอก
แบบไหนมีความเป็นกรดเป็นด่างอย่างไร ร้อนแห้งหรือเย็น สภาพภายนอกที่ว่าคือที่ไหน
เช่นบนพื้นห้องน้ำที่มีคราบน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่ทำลายเชื้อเอชไอวีได้
หรือบนผ้าที่มีคุณสมบัติซึมซับได้เร็ว แห้งเร็วเชื้อก็ด้อยคุณภาพเร็ว เป็นต้น
แต่ถ้าจะใช้วิธีสังเกตด้วยตาเปล่า ก็คือ เช่นถ้าเลือดแห้งหรือแข็งตัว HIV ก็ไม่มีคุณภาพแล้ว
12. การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีได้เปล่า
จะแบบไหนก็แล้วแต่ในการร่วมเพศไม่ว่าจะชาย - ชาย หรือชาย - หญิง หรือหญิง-หญิง
จะปลอดภัยหรือไม่ต้องดูว่าได้ป้องกันหรือไม่ถ้าป้องกันก็ปลอดภัย สำหรับเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันกรณี
ชายกับชายมีโอกาสติดเชื้อได้เท่าๆกับการมีเพศสัมพันธ์ทั่วไปหรืออาจมากกว่า เนื่องจากการสอดใส่ทางทวาร
จะทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายกว่าการร่วมเพศแบบปกติจึงมี โอกาสเสี่ยงสูงขึ้น
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ
13. อาการหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 2 อาทิตย์ ถ้ารู้สึกคันตามแขนและขา หรือมีตุ่มขึ้น หรือมีไข้ ปวดศีรษะอาการอย่างนี้ถือว่าเป็น อาการเริ่มแรกของคนเป็นโรคเอดส์หรือไม่
อาการต่างๆ หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอาการเบื้องต้นในการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่่
การรับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกาย เชื้อเอชไอวีจะยังไม่สามารถไปทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย
จนทำให้เราป่วยได้ในทันที โดยทั่วไปคนที่มีเชื้อเอชไอวีจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเมื่อได้รับเชื้อผ่านไปแล้ว
ประมาณ 6-10 ปี
การที่จะรู้ว่าติดเชื้อหรือไม่นั้น เราไม่สามารถดูได้จากอาการป่วยภายนอก
เนื่องจากอาการที่เกิดกับผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ก็สามารถเกิดกับคนที่ไม่มีเชื้อได้เช่นกัน
เราจะรู้ได้ว่าเราติดเชื้อหรือไม่ ก็โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีเท่านั้น
14. ถ้าต้องไปตรวจเลือดควรจะไปตรวจที่ไหนดี ที่ให้ผลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสามารถเก็บความลับได้
กรณีตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน คลินิค ก็เชื่อถือได้เท่าๆกัน
เพราะใช้เกณฑ์ มาตรฐานเดียวกัน ส่วนระยะเวลาที่รอผลนั้นอาจจะไม่เท่ากัน
ขึ้นกับทางสถานพยาบาลและวิธีการที่ใช้ในการตรวจ ส่วนเรื่องการเก็บเป็นความลับโดยระบบและกฎหมาย
รวมทั้งจรรยาบรรณแล้ว ต้องเป็นความลับถ้าจะรั่วไหลเป็นเรื่องความบกพร่องหรือไม่รับผิดชอบของตัวบุคคล
ปัจจุบันหากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี
สามารถไปขอรับบริการตรวจเลือดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และประกันสังคมโดยใช้สิทธิตามโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้
รายชื่อสถานที่ให้บริการตรวจเลือดและให้การปรึกษา
กรุงเทพฯ
คลีนิคนิรนาม โทร. 02 256-4108, 02 256-4109
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00 – 19.00 น.และวันเสาร์ เวลา 09.00312.00 น.
โรงพยาบาลบางรัก กองกามโรค ถนนสาธรใต้ โทร. 2860431, 2860108, 2866382 โทรสาร 2873553
โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่ง
ต่างจังหวัด
ศูนย์กามโรคและโรคเอดส์
งานควบคุมโรคเอดส์และกามโรคจังหวัด
โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง
15. ระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะสามารถไปตรวจเลือดแล้วสามารถเชื่อผลจากการตรวจได้แน่นอน
โดยทั่วไปการเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่นั้น จะเป็นการตรวจแบบหาแอนตี้บอดี้
คือการตรวจหาร่องรอยของไวรัส ที่เกิดจากภูมฺคุ้มกันในร่างกายเราสร้างสารแอนตี้บอดี้ออกมา
เพื่อต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี ซึ่งกว่าร่างกายจะสร้างสารออกมาโดยทั่วไปเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา 1-3 เดือน
ซึ่งส่วนใหญ่การตรวจเลือดแบบนี้จะตรวจได้ หลังจากวันที่เราไปเสี่ยงมานับย้อนไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ซึ่งผลที่ได้สามารถเชื่อถือได้ ไม่จำเป็นต้องไปตรวจซ้ำอีกเมื่อถึง 6 เดือน แต่ต้องแน่ใจว่าในระยะ 3 เดือนนั้น
ไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆอีกเลย
16. หากติดเชื้อแล้วควรมีวิธีในการดูแลตัวเองต่อไปอย่างไร
โดยข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบันนี้ที่โลกเราได้เรียนรู้และรู้จักเอดส์มาร่วม ๒๐ ปีแล้วนั้น
เอดส์คือความเจ็บป่วยที่รักษาได้และมียาต้านไวรัสเอชไอไวที่สามารถควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวี
ไม่ให้ทำลายภูมิต้านทานได้ ถ้าสามารถควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ให้ถูกทำลายได้ เราก็จะไม่เจ็บป่วย
ดังนั้นเอดส์จึงเป็นเพียงโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับ เบาหวาน ซึ่งเราสามารถรักษาและดูแล
รวมถึงป้องกันไม่ให้ป่วยได้ โดยเราสามารถเรียนรู้เข้าใจเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการดูแล รักษา ป้องกัน ทั้งในส่วนที่สามารถดูแลด้วยตนเองได้ และการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาร่วมกับแพทย์ผู้ทำการรักษา
17. หากแม่ติดเชื้อลูกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน
และจะสามารถป้องกันการติดเชื้อของลูกในครรภ์อย่างไร
ตามสถิติและการวิจัยพบว่าการติดเชื้อของลูกในครรภ์มารดาที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์
และจากการศึกษาโดยการจ่ายยาต้านไวรัสฯให้กับแม่ในช่วง 1 เดือนก่อนคลอดและระหว่างคลอด
พบว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อของลูกลงเหลือเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
18. ผู้ติดเชื้อจะสามารถมีอายุอยู่ได้นานกี่ปี
ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตได้ยืนยาวและมีความสุขได้เท่าๆกับคนทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อ
หากมีการดูแลตัวเองที่ดี รวมทั้งการได้รับบริการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา
เช่นเมื่อถึงเกณฑ์ที่ต้องได้รับยาต้านไวรัสก็ต้องได้รับ เป้นต้น
19. ไม่ว่าจะมีความกังวลแบบไหน โดยเฉพาะกรณีที่กังวลว่า ทำ “แบบไหน”
เสี่ยง หรือไม่เสี่ยงต่อการรับเชื้อ เราสามารถประเมินได้เอง โดยการนำปัจจัย 3 ประการตามข้อ 1
ที่เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้คนๆหนึ่งเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงต่อการับเชื้อผ่านพฤติกรรมต่างๆ
โอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีไม่ว่ากรณีมีเพศสัมพันธ์ชายกับชายหรือกับหญิงถ้าไม่มีการป้องกันโดย
ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
แต่ก็อาจจะมีแตกต่างกันไป เช่นถ้ามีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ฝ่ายเจ้าของช่องคลอดมีเชื้อ
เจ้าของอวัยวะเพศชายไม่มีเชื้อ หลั่งข้างในหรือข้างนอกก็เสี่ยงเหมือนกันเพราะได้มีการสัมผัสเชื้อ
จากสารคัดหลั่งในช่องคลอดแล้วแต่ถ้าเจ้าของช่อคลอดไม่มีเชื้อเจ้าของอวัยวะเพศชายมีเชื้อแต่หลั่งข้างนอก
แน่นอนว่าความเสี่ยงก็จะลดลงกว่ามีการหลั่งข้างใน แต่ก็ไม่ได้บอกว่ามีความปลอดภัย
เนื่องจากในระหว่างสอดใส่อาจมีน้ำอสุจิบางส่วนที่ออกมาก่อน เมื่อถึงจุดสุดยอด และที่สำคัญเจ้าของทวาร
หรือช่องคลอดจะไม่มีทางรู้หรือกำหนดได้ว่าคู่นอนของเราจะหลั่งข้างนอกหรือข้างใน
ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่คู่นอนเป็นผู้ควบคุมไม่ใช่การร่วมกันควบคุม
ที่มา: aidsaccess.com