Author Topic: สอบเข้ม"แอปเปิล-กูเกิล" ข้องใจตามเก็บพิกัดผู้ใช้มือถือ  (Read 913 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ และหลายประเทศกำลังเตรียมพร้อมสอบสวน 2 ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมไอทีอย่างแอปเปิลและกูเกิล หลังนักวิจัยตรวจพบว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไอโฟนและแอนดรอยด์ถูกติดตามเก็บข้อมูลตำแหน่งพิกัดการใช้งานโทรศัพท์อย่างต่อเนื่อง กดดันทั้งสอง ให้ชี้แจงรายละเอียดหมดเปลือก หวังตรวจให้ชัดเพื่อหามาตรการปกป้องผู้บริโภคต่อไป
       
       หน่วยรักษาสิทธิมนุษยชนสหรัฐฯ House Energy and Commerce Committee เป็นหน่วยงานล่าสุดที่ส่งจดหมายถึงแอปเปิล (Apple) และกูเกิล (Google) ให้ชี้แจงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการติดตามพิกัดการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคทั่วโลก ทั้งรายละเอียดข้อมูลที่ถูกเก็บ การนำไปใช้ การจัดเก็บ และการแบ่งปัน รวมถึงเหตุผลในการติดตามเก็บ โดยเรียกร้องให้ทั้งสองให้ความกระจ่างก่อนวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
       
       ไม่เพียงแอปเปิลและกูเกิล หน่วยงานสหรัฐฯยังส่งจดหมายเรียกชี้แจงถึงผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือรายอื่นในตลาดอีก 4 ราย ทั้งไมโครซอฟท์ (Microsoft) โนเกีย (Nokia) ริม (Research in Motion) และฮิวเล็ตแพคการ์ด (Hewlett-Packard) ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีระบบปฏิบัติการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องใดจะลักลอบตามเก็บข้อมูลพิกัดผู้ใช้โทรศัพท์มือถืออีก
       
       การกดดันแอปเปิลและกูเกิลให้ตอบคำถามแก่สังคมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยของอังกฤษพบว่า สมาร์ทโฟนยอดฮิตของแอปเปิลอย่างไอโฟน (iPhone) นั้นติดตามเก็บข้อมูลว่าเจ้าของเครื่องเดินทางไปที่ไหนบ้าง โดยจะบันทึกข้อมูลลงในเครื่องก่อนจะอัปโหลดอัตโนมัติลงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เมื่อโทรศัพท์ถูกเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมไอจูนส์ (iTune) การตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ถูกเก็บประกอบด้วยพิกัดเส้นรุ้ง-เส้นแวงของตำแหน่งใช้งานเครื่อง พร้อมด้วยวันเวลาโดยประมาณ ทั้งหมดถูกซ่อนไว้ในไฟล์ลับซึ่งยังไม่ได้รับการปกป้องที่รัดกุม
       
       ในทางทฤษฎี ข้อมูลพิกัดตำแหน่งผู้ใช้ไอโฟนที่ถูกเก็บไว้ในเครื่องนั้นทำให้ผู้ใช้สูญเสียความเป็นส่วนตัว เพราะในทางปฏิบัติ ข้อมูลพิกัดเหล่านี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลชั้นยอดให้กับทั้งสามีภรรยาที่ระแวงกันอยู่ พ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากรู้ความเป็นไปของบุตรหลาน ไม่เว้นนักโฆษณาที่ต้องการสอดแนมพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำเสนอโฆษณาที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายให้ตรงเป้าที่สุด
       
       อย่างไรก็ตาม โทษของแอปเปิลยังไม่ชัดเจนเพราะการตรวจสอบพบว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกส่งไปที่แอปเปิลหรือบริษัทรายอื่น (third party) แต่จะถูกเก็บไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของเจ้าของไอโฟนเท่านั้น และเก็บข้อมูลต่อเนื่องนานแรมเดือนปี จุดนี้มีโอกาสที่เจ้าของเครื่องจะถูกสอดแนมหากมีบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเจ้าของไอโฟน ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่มีความชัดเจนว่าข้อมูลพิกัดเหล่านี้ถูกเก็บไว้เพื่ออะไร
       
       เบื้องต้นพบเพียงข้อมูลพิกัดเหล่านี้คำนวณจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าการระบบพิกัดผ่านดาวเทียมหรือ GPS แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า
       
       ขณะเดียวกัน นักวิจัยของ Wall Street Journal ยังพบการติดตามพิกัดการใช้งานลักษณะนี้ในสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ด้วย แต่กูเกิลยืนยันว่าผู้ใช้จะสามารถเลือกได้เองว่าต้องการให้ระบบติดตามเก็บข้อมูลพิกัดหรือไม่ (opt-in) โดยจะให้ผู้ใช้เลือกขณะที่ตั้งค่าเครื่องครั้งแรก และข้อมูลพิกัดจะถูกส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล (ไม่มีข้อมูลที่ระบุตัวบุคคล แต่จะมี ID ของอุปกรณ์ที่ใช้)
       
       อย่างไรก็ตาม กูเกิลระบุว่าแอนดรอยด์จะเก็บข้อมูลพิกัดไว้บนเครื่องเป็นระยะเวลาสั้นๆ แล้วลบทิ้งเมื่อเลิกใช้ ต่างกับกรณีของแอปเปิลที่เก็บข้อมูลพิกัดยาวนานเป็นปี
       
       ประเด็นที่เกิดขึ้น ไมโครซอฟท์ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟนเซเว่น (Windows Phone 7) ซึ่งเป็นคู่แข่งของทั้งแอปเปิลและกูเกิล ได้ยืนยันว่าไม่มีการเก็บข้อมูลพิกัดการใช้เครื่องแบบที่พบใน 2 บริษัท แต่ข้อมูลพิกัดที่เก็บในวินโดวส์โฟนเซเว่นนั้นมีเพียงพิกัดของสถานที่ล่าสุดเพียงจุดเดียวเท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกใช้ในบริการตามหาโทรศัพท์หาย "Find My Phone"
       
       ขณะที่ประชาสัมพันธ์โนเกียระบุว่า การเก็บข้อมูลสถานที่ใช้งานโทรศัพท์ของโนเกียนั้นจะถูกเก็บไว้ในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น โดยจะส่งหรือเก็บข้อมูลเมื่อผู้ใช้ตกลงสมัครรับบริการ เท่ากับมีเพียงเอชพีและริมเท่านั้นที่ยังไม่ออกมาให้ความเห็นกับสาธารณชนต่อประเด็นที่เกิดขึ้น
       
       ไม่เพียงหน่วยรักษาสิทธิมนุษยชน ส.ส.สหรัฐฯ อัยการประจำรัฐอิลินอยส์ และหน่วยงานจากหลายประเทศเริ่มออกมาแสดงความสงสัยเช่นกัน ส่วนใหญ่ต้องการรับรู้ว่าได้มีการแจ้งให้ผู้ใช้รับทราบก่อนหรือไม่ว่าจะเก็บข้อมูลพิกัด และผู้ใช้สามารถหยุดการเก็บพิกัดได้หรือไม่ โดยขณะนี้ รายงานข่าวระบุว่าประเทศอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และไต้หวันได้เริ่มดำเนินการสอบสวนการเก็บข้อมูลพิกัดของผู้ผลิตระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนอย่างจริงจังแล้ว
       
       ในขณะที่ยังไม่มีการแถลงรายละเอียดเหตุผลในการเก็บข้อมูลพิกัดการใช้งานเหล่านี้ต่อหน่วยงานราชการ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าการเก็บพิกัดเหล่านี้จะทำให้ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาบริการทุกชนิดที่เกี่ยวกับสถานที่ ทั้งบริการแผนที่ บริการนำทาง รวมถึงการโฆษณาในท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันสิทธิผู้บริโภคต่อไป

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6173 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5573 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4880 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7140 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
5200 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick
0 Replies
3281 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
6745 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
4633 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6046 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
2051 Views
Last post April 16, 2011, 03:17:14 PM
by Nick