Author Topic: รัสเซียปัดข่าวแบน "จีเมล"  (Read 1140 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       หลังจากมีข่าวว่าประธานฝ่ายข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารพิเศษของหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติรัสเซีย ได้ยื่นมติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีรัสเซียถึงความกังวลหากประชาชนรัสเซียใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเข้ารหัสของต่างชาติมากเกินไป ล่าสุดรัฐบาลหมีขาวปฏิเสธว่ายังไม่มีแผนห้ามประชาชนใช้บริการจีเมล (Gmail) บริการอีเมลของกูเกิล (Google) หรือสไกป์ (Skype) บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างที่เป็นข่าว จนทำให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักในวงการออนไลน์รัสเซียในขณะนี้
       
       โฆษกหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติรัสเซียหรือ Federal Security Service (FSB) ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนรัสเซียเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลรัสเซียยังไม่มีมติห้ามประชาชนใช้งานบริการยอดนิยมของสหรัฐฯ โดยย้ำว่าการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นเรื่องที่รัสเซียควรเปิดรับ
       
       การแถลงของโฆษก FSB ครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะประธานฝ่ายข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารพิเศษของ FSB นั้นแสดงความเห็นต่อครม.รัสเซียเมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ว่ามีความเป็นห่วงการที่ประชาชนรัสเซียใช้บริการซึ่งมีเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลโดยต่างชาติอย่างแพร่หลาย ระบุชัดเจนว่าเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นต่อเนื่อง
       
       จุดนี้สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิดของประธานาธิบดีรัสเซีย ดมิตริ เมดเวเดฟ (Dmitry Medvedev) ระบุว่าประชาชนรัสเซียตื่นตัวกับข่าวที่เกิดขึ้นมากจนนำไปสู่กระแสวิจารณ์ในโลกออนไลน์ โดยแหล่งข่าวย้ำว่าประชาชนกำลังสับสนเพราะการแสดงความเห็นที่เกิดขึ้นเป็นความเห็นส่วนบุคคลของผู้บริหาร FSB เท่านั้น ยังไม่ใช่ความเห็นในนามครม.รัสเซีย
       
       แม้จะปฏิเสธหนักแน่น แต่นักวิเคราะห์หลายรายตั้งข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้ที่รัสเซียกำลังสนใจ "แบน" บริการออนไลน์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสโดยบริษัทสัญชาติที่เป็นอริกับรัสเซีย โดยก่อนหน้านี้ โฆษกของอดีตประธาน FSB เคยแสดงความเห็นว่า ข้อเสนอแนะให้แบนบริการออนไลน์ของต่างชาตินั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและควรนำมาอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆตามมา
       
       คำว่า"มีเหตุผล"ของโฆษกของอดีตประธาน FSB มาจากการเป็นห่วงต่อความปลอดภัยของข้อมูลในบริการ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่บริการเหล่านี้จะถูกสอดแนมหรือโจมตีเพื่อขโมยข้อมูลความลับของชาวรัสเซีย รวมถึงการขาดความร่วมมือในการขอข้อมูลความมั่นคงระหว่างประเทศในกรณีจำเป็น
       
       ยังไม่มีความเห็นจากกูเกิลและสไกป์ต่อข่าวความเคลื่อนไหวของรัฐบาลรัสเซียในขณะนี้ โดยข้อมูลล่าสุดของกูเกิลคือการที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯยินยอมให้กูเกิลสามารถซื้อกิจการบริษัทข้อมูลท่องเที่ยวนาม ITA Software เป็นมูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐได้ ผลคือกูเกิลกำลังเบนเข็มเข้ามาเล่นในตลาดธุรกิจซื้อขายบริการท่องเที่ยวออนไลน์ เท่ากับคำร้องของผู้เล่นในตลาดขณะนี้อย่าง Expedia, Kayak และ Travelocity ที่ขอให้ศาลสั่งยกเลิกการซื้อขายบริษัทระหว่างกูเกิลและ ITA นั้นตกไป
       
       นอกจากความหวั่นใจเรื่องการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสของต่างประเทศ ส่วนหนึ่งที่อาจทำให้รัสเซียไม่ไว้วางใจจีเมลคือปัญหา"อีเมลหาย"ซึ่งผู้ใช้จีเมลบางส่วนพบเจอช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยกูเกิลต้องใช้เวลาแก้ปัญหาและกู้คืนอีเมลที่สูญหายมากกว่า 4 วัน ครั้งนั้น กูเกิลให้ข้อมูลเพียงว่าปัญหานี้เกิดกับผู้ใช้จำนวน 0.29% ที่เข้าสู่บริการจีเมลแล้วพบว่าสถานะของอีเมลและรายการที่อยู่ผู้ติดต่อถูกตั้งค่าใหม่กลับไปเหมือนตอนสมัครอีเมลครั้งแรก กูเกิลไม่เปิดเผยสาเหตุใดของวิกฤติข้อมูลหายที่เกิดขึ้น
       
       สำหรับสไกป์นั้นเคยเป็นบริษัทในเครืออีเบย์ (eBay) ก่อนจะถูกขายให้กับกลุ่มนักลงทุนในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริการของสไกป์คือการเปิดช่องให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถโทรศัพท์ถึงกันจากหน้าคอมพิวเตอร์ได้ฟรีจากทุกมุมโลก แต่จะคิดค่าบริการเพียงเล็กน้อยกับสมาชิกที่โทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์บ้าน บริการของสไกป์ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเนื่องจากความคุ้มค่าในการโทร.ข้ามประเทศ ซึ่งผู้ใช้จะไม่ต้องเสียค่าโรมมิ่งราคาแพงอย่างที่เคยในอดีต
       
       Company Related Link :
       Gmail

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
5335 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
6166 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5571 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4874 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7138 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
5192 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick
0 Replies
3273 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
6742 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
4631 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6044 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick