Author Topic: ทายาทไอน์สไตน์ชี้โทรคมฯ ไทยยังล้าหลัง  (Read 1135 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


Marc Einstein นักวิจัยตลาดซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อสายของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ อัลเบิร์ต ไอสไตน์

นักวิเคราะห์ของ “ฟรอสต์ แอนด์ ซิลลิแวน” ซึ่งเป็นทายาทของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ฟันธงโทรคมนาคมไทยยังล้าหลัง ถึงแม้ยอดซิมมือถือจะโตเกิน 100% แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณที่ดี เมื่อบรอดแบนด์ไทยมีเพียง 8% ล้าหลังเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาค ระบุหนทางแก้ต้องเร่งเรื่องบรอดแบรนด์และ 3G
       
       นายมาร์ค ไอน์สไตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน อินเตอร์เนชันแนล จำกัด องค์กรที่ให้คำปรึกษาและงานวิจัย กล่าวถึงแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยว่า หากดูจากการเติบโตของจำนวนซิมมือถือที่เป็น 2G ในปัจจุบัน เกินกว่า 100% ขณะที่สัดส่วนของผู้ใช้มือถือมีถึง 86-87% ซึ่งประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีผลการวิจัยที่ระบุว่า กลุ่มประเทศที่อยู่ในตลาดเจริญแล้ว มักจะเป็นประเทศที่มีการอัตราของซิมต่อครัวเรือนในประเทศมากกว่า 50% ขึ้น จะส่งผลให้ประเทศนั้นๆ มักจะมีอัตราการใช้งานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในอัตราที่สูงด้วย
       
       แต่สำหรับประเทศไทยในส่วนของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตกลับมีจำนวนเพียง 8% ของครัวเรือนประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งล้าหลังมาก จะมีเพียง 4 ประเทศที่ประเทศไทยยังนำหน้าอยู่ ประกอบไปด้วย ปากีสถาน อินโดนีเซีย อินเดียเท่านั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวการลงทุนทางด้านเครือข่ายของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู รวมไปถึง บริษัท ทีที แอนด์ ที่ จำกัด (มหาชน) หรือทีทีแอนด์ที โดยลงทุนในเรื่องของเพิ่มความเร็วในโหนดมากกว่า ที่จะเป็นการขยายเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกออกไป
       
       นายมาร์คยังกล่าวอีกว่า การที่ประเทศไทยมีความล้าหลังในธุรกิจโทรคมนาคม มีสาเหตุมากจากการขยายตัวของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่ล้าช้า ซึ่งประเทศไทยควรที่จะมีการใช้งานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตตามบ้านมากกว่านี้ ในประเทศที่เจริญแล้วมีการใช้งานเกิน 30% ขึ้นไป
       
       “แนวโน้มน่าจะดีเมื่อภาครัฐมีแผนทีผลักดันบรอดแบนด์แห่งชาติออกมาในเร็วๆ นี้ น่าจะมีผลดีอย่างแน่นอน”
       
       อีกเรื่องหนึ่งที่นายมาร์คให้ความสำคัญก็คือ เรื่องของเครือข่าย 3G ที่ประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นค่อนข้างมาก มีเพียงปากีสถาน บังคลาเทศเท่านั้นที่ยังไม่มี ประเทศอินเดียกำลังเพิ่งเริมต้น แล้วถัดมาเป็นเทศไทย
       
       “หากดูจากแผนการพัฒนาเครือข่าย 4G ในเอเชียจะพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีแผนที่จะดำเนินการใดๆ เลย ต่างจากประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายๆ กับไทยหลายๆ ด้าน แต่กลับมีแผนที่จะลงทุน 4G แล้ว”
       
       นายมาร์คยังวิเคราะห์อีกว่า การที่ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทยยังไปไม่ถึงไหน ไม่ว่าจะเป็นเทคน์โลยี 3G หรือบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยถึงแม้จะมีองค์กรอิสระที่กำกับดูแลบริการกิจการโทรคมนาคมแล้วก็ตาม แต่กลับไม่มีอำนาจในการควบคุมที่ชัดเจนพอที่จะบังคับให้เป็นไปตามกรอบนโยบายหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งแตกต่างจากในประเทศอื่นที่มีอิสระทั้งทางด้านนโยบายและอำนาจในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ
       
       “ปัญหานี้แตกต่างจากประเทศอื่น ตรงที่ประเทศไทยมีพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากมีความซับซ้อนในเรื่องของสัญญาสัมปทานของทีโอทีและ กสท เดิมที่เป็นผู้กำกับดูแลแต่หลังจากที่มีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่เข้าทำหน้าที่แทน ทำให้เรื่องการให้บริการโทรคมนาคมกลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์แทน”
       
       สำหรับมาร์ค ไอน์สไตน์ หรือ Marc Einstein ซึ่งสืบสายเลือด “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” นั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมวิเคราะห์ตลาดโทรคมนาคมในเอเชียแปซิฟิกของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ข้อมูลระบุว่ามาร์คเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กลยุทธ์พัฒนาตลาดทั้งด้านแอปพลิเคชัน เครือข่ายทั้ง WIMAX และ 3G สำหรับตลาดซึ่งมีกำไรต่อหน่วยต่ำ เคยเป็นวิทยากรให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิตในประเทศไทย โดยนอกจากภาษาอังกฤษ ลูกหลานไอน์สไตน์รายนี้สามารถพูดได้ทั้งภาษาฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส ไทย ญี่ปุ่น และจีนกลาง
       
       Company Relate Link :
       Frost & Sullivan

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)