Author Topic: "Google Book Search" ถึงทางตัน ?  (Read 2057 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

"Google Book Search" ถึงทางตัน ?
« on: March 24, 2011, 03:21:07 PM »

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       ไม่รู้จะลงเอยท่าไหนสำหรับบริการห้องสมุดดิจิตอลของกูเกิล Google Book Search เมื่อศาลสหรัฐฯปฏิเสธไม่อนุมัติการยอมความระหว่างสำนักพิมพ์อเมริกันและกูเกิล ซึ่งฝ่ายหลังยอมจ่ายเงินมูลค่า 125 ล้านเหรียญเป็นค่าไกล่เกลี่ยเพื่อให้ได้สิทธิสแกนหนังสืออีกหลายล้านเล่มช่วงปี 2009 โดยศาลให้เหตุผลว่าการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเหล่าสำนักพิมพ์เช่นนี้ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการผูกขาดการค้าในตลาดหนังสือออนไลน์ รวมถึงขัดต่อกฏหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ แม้จะยอมรับว่าโครงการสแกนหนังสือสามารถเป็นประโยชน์ต่อประชากรโลกได้จริง
       
       ผู้พิพากษาสหรัฐฯ Denny Chin ให้ความเห็นว่าแนวคิดการสร้างห้องสมุดไร้พรมแดนคือแนวคิดอนาคตไกลที่มีประโยชน์ แต่เพราะปัญหาความแตกต่างระหว่างมุมมองของกูเกิลและผู้ประกอบการทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการยอมความ ทำให้ศาลไม่สามารถอนุมัติให้การยอมความเกิดขึ้นได้
       
       การยอมความที่ถูกศาลสหรัฐฯไม่อนุมัติให้เกิดขึ้นคือการยอมความมูลค่า 125 ล้านเหรียญที่กูเกิลประกาศพร้อมจ่ายให้กับสมาคมนักเขียนและสำนักพิมพ์อเมริกัน (Association of American Publishers - AAP) ซึ่งออกมาร้องเรียนหลังจากกูเกิลประกาศเริ่มต้นโครงการสแกนหนังสือจากห้องสมุดทั่วโลก เพื่อสร้างเป็นห้องสมุดไร้พรมแดนให้ชาวออนไลน์ทั่วโลกสามารถเข้าถึงหนังสือได้อย่างเสรี ไม่นานนักหลังโครงการนี้บรรลุข้อตกลงกับห้องสมุดสาธารณะของบางองค์กรในปี 2004 โครงการนี้ก็ถูกต่อต้านอย่างหนักมาตลอดจนกลายเป็นคดีความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหลายร้อยล้านเหรียญ
       
       ปลายปี 2008 กูเกิลสามารถผ่าทางตันให้โครงการ ด้วยการจับมือกับสมาคมนักเขียนอเมริกัน ทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทในนามของนักเขียนและสำนักพิมพ์ที่เป็นสมาชิกสมาคม ครั้งนั้นกูเกิลแถลงว่าเนื้อหาข้อตกลงจะเอื้อประโยชน์แก่นักอ่าน นักวิจัย และนักเขียนทั่วโลก เพราะสำนักพิมพ์และนักเขียนจะสามารถเผยแพร่และจัดจำหน่ายหนังสือในรูปแบบดิจิตอล โดยเจ้าของหนังสือสามารถควบคุมการเปิดอ่านและรับค่าตอบแทนจากการที่ผลงานถูกเปิดอ่านทางออนไลน์ ขณะที่นักอ่านทั่วโลกจะมีโอกาสในการเข้าถึงหนังสือได้มากขึ้นทั้งหนังสือที่เลิกผลิตแล้วและหนังสือหายาก ช่วยให้สามารถค้นหาหนังสือหลายล้านเล่มได้ทางเว็บไซต์โดยไม่ต้องเดินทาง
       
       นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาและองค์กรอื่นสามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิกห้องสมุดออนไลน์ของกูเกิล เพื่อรับสิทธิ์ในการอ่านหนังสือจากห้องสมุดชั้นนำของโลกผ่านทางออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เท่ากับสถาบันเหล่านี้สามารถประหยัดงบประมาณซื้อหนังสือ เพียงแต่ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าชมและอ่านหนังสือได้ทางออนไลน์ตลอดเวลา
       
       เงิน 125 ล้านเหรียญสหรัฐจะถูกนำไปใช้สร้างโครงการ Book Rights Registry เพื่อแก้ปัญหาการอ้างสิทธิ์ของนักเขียนและสำนักพิมพ์ ซึ่งครอบคลุมค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย แน่นอนว่าข้อตกลงนี้ช่วยแก้ปัญหาระหว่างสมาคมนักเขียนและกูเกิลที่มีการฟ้องร้องมากมายตั้งแต่ปี 2005 โดยผู้ถือลิขสิทธิ์หนังสือจากทั่วโลกสามารถลงทะเบียนผลงานกับ Book Rights Registry และรับค่าตอบแทนจากการเข้าเป็นสมาชิก ทั้งรายได้จากการขายหนังสือ การโฆษณาและรายได้อื่นๆ
       
       แม้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯระบุว่าจะเข้าร่วมโครงการ โดยจะยอมเผยแพร่หนังสือในครอบครองของมหาวิทยาลัยอย่างเสรี แต่ปรากฏว่าการยอมความนี้ถูกต่อต้านจากผู้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งคู่แข่งของกูเกิลอย่างอเมซอนและไมโครซอฟท์ที่หวั่นเกรงว่ากูเกิลจะมีอิทธิพลมากขึ้น กลุ่มคุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคที่เป็นห่วงว่ากูเกิลอาจทำประโยชน์จากโครงการนี้จนเกินงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและกลุ่มหอสมุดระดับโลกที่กังวลว่าตัวเองอาจลดบทบาทความสำคัญลง รวมถึงรัฐบาลในหลายประเทศซึ่งมองว่าข้อตกลงนี้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ทำให้ศาลสหรัฐฯต้องลงมาพิจาณาการยอมความที่เกิดขึ้น และประกาศไม่อนุมัติการยอมความในที่สุด
       
       ศาลสหรัฐฯมีความเห็นว่า ข้อตกลงระหว่างกูเกิลและสำนักพิมพ์จะทำให้กูเกิลมีสิทธิเข้าถึงหนังสือทั้งหมดโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ ทำให้กูเกิลมีโอกาสผูกขาดสิทธิในการเข้าถึงงานเขียนที่ไม่สามารถระบุเจ้าของลิขสิทธิด้วย ทั้งงานเขียนที่ไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนหรือหนังสือที่เลิกพิมพ์ไปแล้ว ซึ่งจะผิดกฏหมายต่อต้านการผูกขาดการค้าที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการขึ้นราคาสินค้าและบริการโดยไม่เป็นธรรม
       
       จุดนี้ศาลเห็นว่า วุฒิสภาสหรัฐฯควรต้องมีมติตัดสินก่อนให้ชัดเจนว่าใครจะมีสิทธิ"จัดการ"หนังสือที่ไม่ปรากฏผู้ถือลิขสิทธิเหล่านี้
       
       อย่างไรก็ตาม Hilary Ware ทนายความกูเกิลซึ่งระบุว่าได้สแกนหนังสือไปมากกว่า 15 ล้านเล่มแล้วในขณะนี้ ยืนยันว่ากูเกิลจะไม่ละความพยายามในการเปิดเสรีโลกหนังสือออนไลน์ โดยประธานกลุ่มนักเขียน Authors Guild นาม Scott Turow ระบุว่าจะเจรจากับสำนักพิมพ์และกูเกิลเพื่ออุทธรณ์ต่อศาลต่อไป เนื่องจากมั่นใจว่าแนวคิดห้องสมุดออนไลน์คือสิ่งจำเป็นในอนาคต และเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์
       
       ด้านคู่แข่งกูเกิลทั้งไมโครซอฟท์ ยาฮู และอเมซอนดอทคอมแสดงความเห็นด้วยต่อการตัดสินของศาล ซึ่งร้องเรียนมาตลอดว่าโครงการสแกนหนังสือเพื่อสร้างห้องสมุดออนไลน์ของกูเกิลนั้นจะทำให้กูเกิลกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจหนังสือทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพียงรายเดียว
       
       นี่ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของโครงการ Google Book Search เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าการยอมความคือทางออกของทางตันเรื่องการเพิ่มจำนวนหนังสือให้กูเกิลอย่างก้าวกระโดด แต่เมื่อศาลไม่อนุมัติให้การยอมความเกิดขึ้น กูเกิลจึงต้องอดใจไม่ได้จำนวนหนังสือเพิ่มอย่างที่ตั้งใจไว้ และดำเนินการสแกนหนังสือที่ได้รับการยินยอมโดยถูกกฏหมายไปก่อน และโลกก็ต้องจับตาดูต่อไปว่ากูเกิลจะหาทางออกอย่างไรให้กับโครงการนี้
       
       Company Relate Link :
       Google Books

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2753 Views
Last post March 06, 2009, 11:17:31 PM
by Reporter
0 Replies
2297 Views
Last post June 11, 2009, 09:04:18 AM
by Reporter
0 Replies
2245 Views
Last post November 07, 2009, 09:37:35 AM
by IT
0 Replies
1883 Views
Last post May 07, 2010, 09:31:27 AM
by Nick
0 Replies
6465 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
2069 Views
Last post October 30, 2010, 10:57:40 PM
by Nick
0 Replies
1360 Views
Last post September 26, 2013, 05:41:06 PM
by Nick
0 Replies
1739 Views
Last post April 19, 2015, 08:23:16 AM
by Nick
0 Replies
1715 Views
Last post May 12, 2015, 06:58:47 PM
by Nick
0 Replies
1676 Views
Last post May 10, 2016, 12:56:50 PM
by Nick