Author Topic: "เฟซบุ๊ก" ขุมทองใหม่ค่ายหนัง  (Read 928 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์เริ่มปัดหางเสือเข้าสู่มหาสมุทรเครือข่ายสังคมที่กำลังคึกคักสุดขีดในนาทีนี้ ล่าสุด สตูดิโอผู้สร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่จากฮอลลีวูดประกาศเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ที่เปิดทางให้ผู้ใช้เช่าภาพยนตร์และชมได้โดยตรงบนเฟซบุ๊ก ประเดิมภาพยนตร์เรื่องแรกคือ The Dark Knight สนนราคาค่าเช่า 3 เหรียญสหรัฐต่อการชม 48 ชั่วโมง มองเฟซบุ๊กเป็นขุมทองบ่อใหม่ซึ่งมีตัวเลขผู้ใช้การันตีมากกว่า 600 ล้านคนทั่วโลก
       
       Thomas Gewecke ประธานฝ่ายธุรกิจดิจิตอลของวอร์เนอร์บราเดอร์ส์ (Warner Bros.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการให้เช่าภาพยนตร์บนเฟสบุ๊กว่า เป็นการบุกเบิกช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ภาพยนตร์ หลังจากที่ค่ายภาพยนตร์มักใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์มาตลอด จึงตัดสินใจทดลองบทบาทใหม่โดยเปิดให้ชาวเครือข่ายสังคมมีโอกาสได้เช่าภาพยนตร์ The Dark Knight ซึ่งหากการทดลองที่ได้ประสบความสำเร็จ ก็จะไม่ได้ส่งผลดีต่อธุรกิจภาพยนตร์เท่านั้น แต่จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเครือข่ายสังคมคือสื่อใหม่หรือนิวมีเดียที่ส่งอิทธิพลในวงกว้างกว่าเดิม
       
       Gewecke ให้ข้อมูลว่าเหตุที่วอร์เนอร์เลือก The Dark Knight เพราะภาพยนตร์มนุษย์ค้างคาวภาค 2 ผลงานกำกับของคริสโตเฟอร์ โนแลนนี้คือ 1 ในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของวอร์เนอร์ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ชื่นชอบหรือแฟนคลับมากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กในสหรัฐฯสามารถเช่าภาพยนตร์ไปชมได้บนเฟซบุ๊กนาน 2 วัน (48 ชั่วโมง) ในราคา 3 เหรียญ (ราว 90 บาท) เริ่มต้นให้เช่าวันแรกเมื่อวันอังคารที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา
       
       ต้องยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหม่เพราะแม้ธุรกิจเช่าวิดีโอออนไลน์จะแจ้งเกิดตั้งแต่เมื่อ 10 ปีมาแล้ว แต่ก็ไม่เคยมีค่ายภาพยนตร์ใดที่เปิดให้คอหนังสามารถชมภาพยนตร์ได้บนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมโดยตรง แน่นอนว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้อุดมไปด้วยเสียงเชียร์ เนื่องจากทุกฝ่ายมองเห็นโอกาสงามที่รออยู่จากการควบรวมภาพยนตร์ลงในเว็บไซต์ซึ่งผู้ใช้สามารถแนะนำและบอกต่อกันได้อย่างเสรี ทำให้หลายเสียงเชื่อว่าเครือข่ายสังคมอาจเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยกู้วิกฤติรายได้หายหดของค่ายภาพยนตร์ในยุคที่แผ่นดีวีดีไม่สามารถจำหน่ายได้ดีเท่าที่ควร
       
       ทั้งหมดนี้เป็นไปตามนโยบายของซีอีโอเฟซบุ๊ก "มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก" ซึ่งประกาศแนวทาง"ทำทุกอย่างให้เป็นสังคม" ด้วยการผนึกกิจกรรมนานาชนิดลงในเฟซบุ๊กทั้งการรับส่งอีเมล การแบ่งปันภาพถ่าย การเล่นเกม และการชมวิดีโอ การเปิดให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กได้ชมภาพยนตร์จึงเป็นอีกกิจกรรมที่เชื่อว่าจะเข้าถึงสังคมคอหนังบนโลกออนไลน์ได้โดยตรง
       
       ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวนี้ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์ของค่ายภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยที่แสดงจุดยืนว่าต้องการหาช่องทางให้เช่าภาพยนตร์ออนไลน์ที่นอกเหนือจากเจ้าตลาดเดิมอย่างไอจูนส์ (iTunes) และอเมซอนดอทคอม (Amazon.com) โดยเฟซบุ๊กถือเป็นทางออกที่มีเหตุมีผลเพราะเป็นเครือข่ายสังคมที่มีความยิ่งใหญ่พอจะต่อกรกับเจ้าตลาดเดิม บนสถิติการเป็นเว็บไซต์ที่ถูกเปิดชมบ่อยที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ
       
       ครั้งนี้วอร์เนอร์ตกลงใช้รูปแบบการจ่ายเงินในบริการเช่าภาพยนตร์บนเฟซบุ๊กคือระบบเฟซบุ๊กเครดิต (Facebook credits) ซึ่งเฟซบุ๊กจะได้รับส่วนแบ่ง 30% จากยอดรายรับทั้งหมด โดย Gewecke ย้ำว่าบริษัทจะเพิ่มภาพยนตร์และเพิ่มความสามารถให้ผู้ชมได้ซื้อและดาวน์โหลดภาพยนตร์เพื่อชมได้นานกว่า 48 ชั่วโมง
       
       ข้อมูลจากบริษัทวิจัย IHS Screen Digest ระบุว่ายอดการเช่าภาพยนตร์ออนไลน์ในสหรัฐฯนั้นมีมูลค่าราว 385 ล้านเหรียญช่วงปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ราว 38% ท่ามกลางยอดการซื้อภาพยนตร์ดีวีดีและบลูเรย์ดิสก์มูลค่า 16,300 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนลดลงราว 6% โดยสถิติการชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กทั้งรายการทีวีและวิดีโอทั่วไปนั้นมีจำนวนสูงถึง 42 ล้านครั้งในเวลาเพียง 1 เดือน (เดือนมกราคมที่ผ่านมา) ซึ่งเป็นตัวเลขสวยงามที่แสดงถึงโอกาสทองของวงการภาพยนตร์ในอนาคต
       
       การเปิดตัวของวอร์เนอร์ทำให้บริการเช่าภาพยนตร์ออนไลน์รายใหญ่ในสหรัฐฯอย่าง Netflix มีมูลค่าหุ้นลดลงถึง 6% แม้ที่ผ่านมาจะสามารถทำยอดสมาชิกได้ถึง 20 ล้านคน บนรายการภาพยนตร์และรายการทีวีที่มีให้ดาวน์โหลดหลายแสนรายการ
       
       Company Related Link :
       Facebook

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
5332 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
6158 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5565 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4866 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7131 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
5182 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick
0 Replies
3261 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
6733 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
4628 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6039 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick