Author Topic: การเมืองล้วงลูกหนัก บอร์ดทีโอทีไขก๊อก  (Read 779 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


แฟ้มภาพบรรยากาศชื่นมื่นในงานเปิดตัวบริการ TOT 3G ล่าสุดกรรมการบอร์ดทีโอที 4 คนยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการบอร์ด เพราะถูกการเมืองล้วงลูกด้วยการสั่งการด้วยวาจา

บอร์ดทีโอที แจก ‘คุณธรรม วินัย ยุติธรรม’ การเมือง หลังสั่งการด้วยวาจาให้บอร์ดทีโอทีในการประชุมวันที่ 25 ก.พ.อนุมัติให้ทีโอทีฟ้องเอไอเอสกว่า 7 หมื่นล้านบาท แบบไร้เหตุผล พร้อมขู่หากไม่ฟ้อง โดน 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ กรรมการที่ลาออกลั่น ทำงานด้วยกันไม่ได้กับการเมืองที่ ‘เบื้องหน้าทำตัวเป็นเทพ แต่เบื้องหลังเสพอาจม’
       
       แหล่งข่าวจากบอร์ดทีโอทีรายหนึ่งกล่าวว่า สาเหตุที่กรรมการบอร์ดทีโอที 4 คนยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการบอร์ด เพราะถูกการเมือง สั่งการด้วยวาจาว่าให้บอร์ดทีโอที ที่จะมีการประชุมในวันที่ 25 ก.พ.ที่จะถึงนี้พิจารณาอนุมัติให้ทีโอทีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอไอเอส 7 หมื่นกว่าล้านบาท พร้อมทั้งขู่ว่าหากบอร์ดไม่ทำตามนั้นจะถูกร้องทุกข์กล่าวโทษว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157
       
       ‘การที่บอร์ด 4 คนลาออก ไม่ใช่เป็นเรื่องโครงการ 3G TOT เหมือนที่พยายามกุเรื่องสร้างภาพแต่อย่างใด เพราะเรื่องการขยายโครงข่าย 3G TOT การเมืองและบอร์ดมีความเห็นตรงกันว่าเป็นความจำเป็นสำหรับทีโอที ต้องเร่งให้เสร็จโดยเร็ว แต่สำหรับการฟ้องร้องเอไอเอส บอร์ดมีความเห็นต่างกับการเมืองอย่างสิ้นเชิง และยอมรับไม่ได้ที่การเมืองเข้ามาแทรกแซงบอร์ดอย่างรุนแรง ถึงขนาดขู่ว่าถ้าไม่ฟ้องเอไอเอส จะโดน 157’
       
       การฟ้องร้องดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังจากทีโอทีได้ยื่นโนติ๊สหรือหนังสือแจ้งเตือนให้เอไอเอส ชำระเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาทภายในวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นลาภที่มิควรได้จากการแก้ไขสัญญาพรีเพด การโรมมิ่งและภาษีสรรพสามิต ที่ทำให้ทีโอทีเกิดความเสียหาย โดยเอไอเอสปฏิเสธที่จะจ่ายเงินตามที่ทีโอทียื่นโนติ๊ส
       
       ‘ก่อนหน้านี้ทีโอทีเสนอบอร์ดให้พิจารณาประเด็นดังกล่าว โดยมติบอร์ดให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการทางคดีกับเอไอเอส โดยการพิจารณาของบอร์ดทีโอทีวันนั้น โดนปกปิดข้อมูลจากฝ่ายกฎหมายของทีโอที ทั้งจุรีรัตน์ และพิทักษ์ เนื่องจากอัยการเคยมีความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่าควรดำเนินการตามมาตรา 22 ของพรบ.ร่วมทุนฯปี 2535 หรือ การอาศัยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่การฟ้องร้องโดยตรง ซึ่งหากบอร์ดมีข้อมูลครบถ้วน มติคงไม่ออกมาเช่นนั้น’
       
       นอกจากนั้น การที่บอร์ดมีมติให้ฝ่ายบริหารดำเนินการทางคดีกับเอไอเอส ก็มีความหมายได้ 2 ทางคือการส่งฟ้องหรือเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่หากมีความเห็นอัยการที่ถูกปกปิด บอร์ดคงมีมติให้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการมากกว่า แต่เข้าใจว่าการปกปิดข้อมูลเป็นเพราะต้องการสนองการเมือง เพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของผู้บริหารบางคน
       
       ‘หากอยากจะฟ้องเอไอเอส ทำไมไม่ฟ้องเองเลย ทำไมต้องมายืมมือบอร์ดทีโอทีด้วย’ อดีตกรรมการบอร์ดทีโอทีกล่าว
       
       เขายังย้ำว่ารู้สึกผิดหวังกับพฤติกรรมการเมืองมากที่ตีสองหน้า โดยเฉพาะในประเด็นการฟ้องร้องเอไอเอส เพราะหากให้บอร์ดมีมติฟ้องเอไอเอส นอกจากต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการต่างๆ เกือบ 200 ล้านบาทแล้ว บอร์ดก็ไม่เชื่อว่าฟ้องแล้วจะชนะแล้วได้เงินค่าความเสียหายกลับคืนมา ในขณะเดียวกันมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะฟ้องร้องบอร์ดทุกคนและผู้บริหารทีโอทีที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่การเมืองลอยตัวเพราะเป็นการสั่งการด้วยวาจา
       
       ‘พฤติกรรมตีสองหน้าอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภายหลังที่เคลียร์กับเอกชนรายหนึ่งได้ ก็ป้ายสีใส่บอร์ดบางคนว่าอยู่เบื้องหลังการที่แซดทีอีร้องเรียน ทั้งๆที่ตัวเองเป็นคนประสานกับคนชื่อประยูร จูงแซดทีอีเข้ามาประมูล 3G ด้วยซ้ำ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ แถวบ้านผมเรียกว่าไม่ใช่ลูกผู้ชาย หรือ Female Face’แหล่งข่าวกล่าว
       
       ทั้งนี้วาระการประชุมบอร์ดทีโอทีในวันที่ 25 ก.พ.มีเรื่องให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติให้ทีโอทีฟ้องร้องเอไอเอส ซึ่งเป็นการล้วงลูกจากการเมือง ซึ่งบอร์ด 4 คนได้รับการแนะนำจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ให้กระโดดหนีจากพรรคประชาธิปัตย์เสีย โดยบอร์ด 4 คนที่ยื่นหนังสือลาออกเรียบร้อยแล้วประกอบ ด้วยวันชาติ สันติกุญชร ,วีรไทย สันติประภพ ,วณี ทัศนมณเทียร และศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา นอกจากนี้ยังคาดว่าอาจมีบอร์ดอีก 4 คนทนไม่ไหวกับพฤติกรรมโสมมนักการเมือง อย่างพล.ต.จุลจรูญ แสงงำพาล,สายัณห์ สตางค์มงคล,นุชนาถ ปัณฑวังกูร และกุลิศ สมบัติศิริ
       
       นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้บอร์ดเห็นว่าคำสั่งการมืองให้ฟ้องเอไอเอสไม่มีเหตุผลคือสิ่งที่เอไอเอสชี้แจงต่อสาธารณชนกรณีที่ทีโอที ได้มีหนังสือถึงเอไอเอส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 แจ้งให้เอไอเอสชำระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) การหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) จำนวนเงินรวม 36,995,636,889.80 บาท และการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จำนวนเงินรวม36,816,942,676.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา7.5% ต่อปีให้แก่ ทีโอที ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554
       
       โดยเอไอเอสชี้แจงว่าในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และการหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) ตามหนังสือเรียกร้องของทีโอทีได้กล่าวอ้างบางส่วนของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่อม. 1/2553 เป็นเหตุเรียกร้องให้เอไอเอสชำระเงินดังกล่าว แต่ความจริงแล้ว คำพิพากษาฯ ดังกล่าวหาได้มีผลผูกพันเอไอเอสแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากทั้งทีโอทีและเอไอเอสต่างมิได้เป็นคู่ความในคดีศาลดังกล่าวหาได้วินิจฉัยให้เพิกถอนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งที่ 6 กรณีบริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และครั้งที่ 7 กรณีการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) แต่อย่างใดไม่
       
       รวมทั้ง มิได้วินิจฉัยว่าเอไอเอสกระทำผิดโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา หรือวินิจฉัยให้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ ไม่มีผลผูกพันระหว่างทีโอทีและเอไอเอสแต่อย่างใด
       
       ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ทั้งสองฉบับยังคงมีผลใช้บังคับและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามต่อไป อีกทั้งการปฏิบัติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาฯ ทั้งสองฉบับอย่างครบถ้วนและถูกต้องมาโดยตลอด ดังนั้น เอไอเอสจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนแบ่งรายได้และเงินอื่นใดตามที่ทีโอทีเรียกร้องมา
       
       ทั้งนี้ เจตนารมณ์และเหตุผลในการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดแจ้ง ทั้งที่ทีโอที หรือหน่วยงานทางราชการอื่นว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้รับบริการในราคาที่ถูกลงและทีโอทีก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากการนี้
       
       ส่วนกรณีการนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้นั้น ทางเอไอเอสชี้แจงว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งเงินรายได้ตามสัญญาสัมปทานบางส่วนไปเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อเตรียมการแปรสภาพองค์การโทรศัพท์ในขณะนั้นเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหลักการสำคัญว่า รัฐไม่ได้รับความเสียหายใด โดยรัฐยังคงได้รับส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิม ผู้ประกอบการไม่มีภาระเพิ่ม ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม ดังนั้นเมื่อรวมภาษีสรรพสามิตและส่วนแบ่งรายได้ (ที่หักภาษีสรรพสามิตแล้ว) รัฐในที่นี้ คือ กรมสรรพสามิต และทีโอทีซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% จึงยังคงมีรายได้เท่าเดิม ไม่มีความเสียหายใด
       
       ขณะที่ทีโอทีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ และ มติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และใช้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนนำส่งให้คู่สัญญาสัมปทาน ซึ่งทีโอทีเป็นฝ่ายแจ้งให้เอไอเอสเป็นผู้ปฎิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตแล้วนำไปหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และเอไอเอสได้ปฏิบัติตามที่แจ้งมานั้นโดยสุจริต
       
       ศาลดังกล่าวฯ มิได้วินิจฉัยว่า มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เพิกถอนหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแต่อย่างใด
       
       การนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้ในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 นั้นทีโอที ไม่เคยเรียกร้องให้ทางเอไอเอสชำระเงินจำนวนดังกล่าว แต่ได้ยืนยันความถูกต้องว่า ได้รับส่วนแบ่งรายได้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ด้วยการออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีและคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ออกเพื่อประกันการชำระเงินส่วนแบ่งรายได้มาโดยตลอด
       
       ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ที่ทีโอทีเรียกร้องนั้น ทางเอไอเอสไม่มีหน้าที่ต้องชำระ เนื่องจาก หากจะมีภาษีหรือภาระดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้วก็เป็นหน้าที่ความรับผิดของทีโอทีในฐานะผู้มีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร อีกทั้งทีโอทีเองก็เป็นฝ่ายโต้แย้งกรมสรรพากรว่า กรมสรรพากรไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีดังกล่าวได้
       
       การเรียกร้องของทีโอทีในกรณีดังกล่าวนี้ เป็นการเรียกร้องซ้ำซ้อนกับเงินจำนวนเดียวกันที่ ทีโอที ได้เรียกร้องในเรื่องภาษีสรรพสามิตไว้แล้ว ด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2551 โดยขณะนี้ข้อพิพาทอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ
       
       แหล่งข่าวกล่าวย้ำว่ากรรมการบอร์ดที่ลาออกไม่สามารถทนกับพฤติกรรมของการเมือง ที่ไม่ได้ยืนบนเหตุผล หลักการความถูกต้องได้ เพราะหลังจากพิจารณาด้านข้อกฎหมายต่างๆแล้ว กรรมการในส่วนที่ลาออกยังเชื่อว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นควรเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการมากกว่า
       
       ‘ในเมื่อล้วงลูกหนักขนาดนี้ ก็ทำงานไม่ได้ อยู่ต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะผมไม่สามารถทำงานให้กับบุคคลที่เบื้องหน้าทำตัวเป็นเทพ แต่ลับหลังเสพอาจมได้’
       
       Company Related Link :
       TOT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)